Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21541
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมคิด รักษาสัตย์-
dc.contributor.authorศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-18T08:41:20Z-
dc.date.available2012-08-18T08:41:20Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745679518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21541-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตกับการรับรู้ต่อความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ชนิด ข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เพื่อวัดความพึงพอใจในการดำเนินชีวิต 5 ด้าน ได้แก่ ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบในการดำเนินชีวิต ความพึงพอใจด้านร่างกาย ความพึงพอใจด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ความพึงพอใจด้านการงาน และความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ และแบบวัดการรับรู้ต่อความเจ็บป่วย 4 ชนิด ได้แก่ ความรุนแรงของความเจ็บปวด ความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ ความสำนึกในคุณค่าของตนเอง และความรู้สึกซึมเศร้า การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สหสัมพันธ์คาโนนิคอล สรุปผลการวิจัยดังนี้ สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างกลุ่มตัวแปรความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตกับกลุ่มตัวแปรการรับรู้ต่อความเจ็บป่วย ของทุกกลุ่มตัวอย่างประชากรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า และค่าสหสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มที่มีได้สูงสุด สรุปผลได้ดังนี้ 1. ค่าสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรรวมเท่ากับ .80 และตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่ม ในการอธิบายความสัมพันธ์ คือ ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบในการดำเนินชีวิต ความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ความสำนึกในคุณค่าของตนเอง และความรู้สึกซึมเศร้า 2. ค่าสหสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรเพศชายเท่ากับ .78 และตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่ม ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้ คือ ความพึงพอใจด้านการงาน ความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ และความรู้สึกซึมเศร้า 3. ค่าสหสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรเพศหญิงเท่ากับ .81 และตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่มในการอธิบายความสัมพันธ์ คือ ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบในการดำเนินชีวิต ความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ความรุนแรงของความเจ็บปวด และความรู้สึกซึมเศร้า 4. ค่าสหสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 20 – 40 ปี เท่ากับ .80 และตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่ม ในการอธิบายความสัมพันธ์ คือ ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบในการดำเนินชีวิต และความรู้สึกซึมเศร้า 5. ค่าสหสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 41 – 65 ปี เท่ากับ .81 ตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่มในการอธิบายความสัมพันธ์ คือ ความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ความรุนแรงของความเจ็บปวด และความสำนึกในคุณค่าของตนเอง 6. ค่าสหสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าเท่ากับ .80 ตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่ม ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้ คือ ความพึงพอใจด้านองค์ประกอบในการดำเนินชีวิต ความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ความรุนแรงของความเจ็บปวด และความรู้สึกซึมเศร้า 7. ค่าสหสัมพันธ์ที่มีได้สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างประชากรระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเท่ากับ .81 ตัวแปรที่มีน้ำหนักมากที่สุดของ 2 กลุ่ม ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้คือ ความพึงพอใจด้านร่างกาย ความพึงพอใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ และความรู้สึกซึมเศร้า-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study relationship between life satisfaction and illness perception of arthritic patients with different sex, age and level of education. The research sample were 222 arthritic patients (Osteoarthritis and Rheumatoid arthritis). The instruments developed by researecher were “Life satisfaction interviews” that could be categorized into five broad areas : material well being, physical satisfaction, relations with other peple, Job satisfaction and recreation ; and “Illness perception interviews” that could be classified into four broad areas : severity of pain, functional impairment, self esteem and depression. The collected data were analyzed by using canonical correlation. The conclusion drawn from data analysis were as follows : Every canonical correlation between life satisfaction group of variables and illness perception group of variables was statistically significant at  = .01 and the highest coefficients for each group were as follows : 1. The highest coefficient for the whole sample was . 80 It was found that material well being, recreation, self esteem and depression were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception. 2. The highest coefficient for the men sample was .78 It was found that job satisfaction, recreation and depression were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception. 3.The highest coefficient for the women sample was .81 It was found that material well being, recreation, severity of pain and depression were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception. 4. The highest coefficient for the 20 – 40 years old samples was .80. It was found that material well being and depression were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception. 5. The highest coefficient for the 41 – 65 years old samples was .81. It was found that recreation, severity of pain and self esteem were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception. 6.The highest coefficient for pratom suksa and under of the samples was .80. It was found that material well being, recreation, severity of pain and depression were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception. 7. The highest coefficient for muthayom suksa and over of the samples was. 81. It was found that physical satisfaction, recreation functional impairment and depression were the best estimator to explain relationships between life satisfaction and illness perception.-
dc.format.extent567844 bytes-
dc.format.extent641535 bytes-
dc.format.extent940056 bytes-
dc.format.extent466996 bytes-
dc.format.extent691091 bytes-
dc.format.extent793199 bytes-
dc.format.extent1110769 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตกับการรับรู้ ต่อความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบen
dc.title.alternativeThe relationships between life satisfaction and illness perception of arthritic patterntsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srikiet_An_front.pdf554.54 kBAdobe PDFView/Open
Srikiet_An_ch1.pdf626.5 kBAdobe PDFView/Open
Srikiet_An_ch2.pdf918.02 kBAdobe PDFView/Open
Srikiet_An_ch3.pdf456.05 kBAdobe PDFView/Open
Srikiet_An_ch4.pdf674.89 kBAdobe PDFView/Open
Srikiet_An_ch5.pdf774.61 kBAdobe PDFView/Open
Srikiet_An_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.