Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21765
Title: กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการทำโครงงานตามทฤษฎีกิจกรรมที่ใช้แบบการแสดงตัวตนในบล็อกและการประเมินโดยเพื่อนที่แตกต่างกันของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Other Titles: Learning and sharing processes in project-based science learning based on activity theory using different types of avatar icons on blogs and peer assessment of gifted upper secondary school students in science and technology
Authors: ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Praweenya.S@Chula.ac.th
Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การสอนแบบโครงงาน
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำโครงงานตามทฤษฎีกิจกรรมที่ใช้แบบการแสดงตัวตนในบล็อกและการประเมินโดยเพื่อนที่แตกต่างกัน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรียนด้วยการเรียนแบบโครงการตามทฤษฎีกิจกรรมเมื่อใช้การแสดงตัวตนในบล็อกและการประเมินโดยเพื่อนที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการเรียนรู้ เว็บบล็อกการเรียนแบบโครงการตามทฤษฎีกิจกรรมที่มีการแสดงตนและการประเมินโดยเพื่อนที่แตกต่างกัน แบบวัดความสามารถในการทำโครงงาน สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละประเภทนั้นประกอบด้วย ดังนี้ 1.1 พฤติกรรมการทำงาน นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ 1) การวางแผน 2)การแบ่งหน้าที่การทำงาน 3) การแนะนำแหล่งข้อมูลใหม่ 4) การแบ่งปันข้อมูล 5) การแก้ปัญหาการทำงาน 1.2 พฤติกรรมการสื่อสารของนักเรียน พบว่ามีกับเพื่อนนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญและครู ครูผู้ช่วย นักเรียนประเภทที่มีการแสดงตัวตนในบล็อกแบบ Avatar แต่ไม่มีการประเมินโดยเพื่อน มีการสื่อสารเชิงวิชาการกับเพื่อนสูงที่สุด ส่วนกับเชี่ยวชาญ นักเรียนประเภทที่มีการแสดงตัวตนในบล็อกแบบ Avatar และมีการประเมินโดยเพื่อน มีการสื่อสารเชิงวิชาการสูงที่สุดและกับครู ครู-ผู้ช่วย นักเรียนที่มีการแสดงตัวตนในบล็อกด้วยภาพถ่ายและไม่มีการประเมินโดยเพื่อน มีการสื่อสารเชิงวิชาการสูงที่สุด 1.3 แบบแผนการทำงานของนักเรียน คือ 1) พฤติกรรมการทำงานของหัวหน้ากลุ่มกับสมาชิกกลุ่มส่วนมากแบบมีส่วนร่วม 2) พฤติกรรมการทำงานของสมาชิกกลุ่มกับหัวหน้าส่วนมากเป็นแบบให้เกียรติและให้อำนาจตัดสินใจ 3) การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ (นักวิทยาศาสตร์) ส่วนมากเป็นแบบศรัทธาและให้เกียรติ 2. นักเรียนประเภทที่มีการแสดงตัวตนในบล็อกแบบ Avatar และมีการประเมินโดยเพื่อนมีคะแนนความสามารถในการทำโครงงานสูงกว่านักเรียนที่ไม่มีการแสดงตัวตนในบล็อกแบบ Avatar และไม่มีการประเมินโดยเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were: 1) to study learning and sharing process in project-based science learning based on activity theory using different types of avatar icons on blogs and peer assessment 2) to compare the ability of project-based science learning based on activity theory using different types of avatar icons on blogs and peer assessment. This research using quantitative and qualitative data analysis (mixed methods research). The samples were 48 tenth – eleventh grade gifted students majored in science and technology. They were divided into four groups each group consisted twelve students. They were four types of learning group: 1) use avatar icon on blogs and peer assessment, 2) use avatar icon on blogs and no peer assessment, 3) use student photo on blogs and peer assessment and 4) use student photo on blogs and no peer assessment. The research instruments were: 1) learning plans 2) project-based science learning based on activity theory using different types of avatar icons on blogs and peer assessment website 3) project ability test. Data analyzed using frequency, percentage, standard deviation and the two-way variance analysis (ANOVA). The research findings were : 1. There were three behaviors described learning and sharing processes the samples as below: 1.1 behaviors during works on project based science learning were: 1) plan the project, 2) assign roles and responsibilities, 3) brainstorm to collect new resources, 4) share information and resources, and 5) collaborate to solve problems; 1.2 communication behaviors of students: they communicated with students, experts and teachers. Students who used avatar icons and no peer assessment had the highest academic communications with students. While students who used avatar icon and peer assessment had the highest academic communications with experts. And students who used picture icon and no peer assessment had the highest academic communications with teachers; 1.3 learning and working patterns of students were: 1) group leader and member worked collaborate, 2) most of members of the group gave honored and authority to group leader, and 3) students’ communication pattern to expert were adorable and respective. 2. The student used avatar icon on blogs and peer assessment had higher score in science project abilities than students used picture icon and no peer assessment at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21765
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.469
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.469
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kajohnsak_sa.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.