Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21799
Title: การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดิน ร่วมกับการใช้น้ำหนักและไทชิ ที่มีผลในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง
Other Titles: A comparison of the effects between walking with weight and Tai chi exercise on the balance in elderly women
Authors: อมรเทพ วันดี
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaipat.L@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ
ไท้เก๊กสำหรับผู้สูงอายุ
การเดิน
การฝึกน้ำหนัก
การทรงตัว
Older people
Tai chi for older people
Weight training
Walking
Equilibrium (Physiology)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายในการทรงตัวของสูงอายุเพศหญิงด้วยการเดิน และทดสอบประสิทธิภาพของการออกกำลังกายด้วยการเดินที่พัฒนาขึ้นโดยการเปรียบเทียบกับ ท่ารำไทชิ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายสำหรับการทรงตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน รูปแบบการเดินที่พัฒนาขึ้นใหม่ 8 ท่า ประกอบด้วย ท่าเดินต่อเท้าไปข้างหน้า และถอยหลัง ท่าเดินเตะขา ท่าเดินบนปลายเท้า ท่าเดินบนส้นเท้า ท่าเดินไปข้างหน้า แล้วย่อตัวลง ท่าเดินบิดเท้าออกนอกลำตัว ท่าเดินบิดเท้าเข้าด้านในลำตัว เดินไปด้านข้าง วางเท้าตรง ซึ่งพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์กล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการเดินและการทรงตัว นำรูปแบบการเดิน 8 ท่าที่ได้พัฒนาขึ้นไปตรวจสอบค่าความตรงโดยการหาค่าดัชนีความตรงเชิงสอดคล้อง (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.80 จากนั้นทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินแปดท่าที่มีต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายด้วยไทชิ กับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 51 คน ออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก 26 คน และออกกำลังกายด้วยไทชิ 25 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำการทดลอง 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที อบอุ่นร่างกาย 5 นาที คลายอุ่นร่างกาย 5 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำการทดสอบการทรงตัวด้วยวิธี Time Up and Go test และ Berg Balance Scale ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ วิเคราะห์สถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และใช้การทดสอบค่าทีในการหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก สามารถพัฒนากล้ามเนื้อในการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ การทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ของกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักดีขึ้น หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แต่การออกกำลังกายด้วยไทชิไม่มีการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม หลังการทดลอง 8 สัปดาห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก สามารถพัฒนาการทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ได้ดีกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยไทชิ แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ในการทรงตัวขณะอยู่กับที่ การออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก มีการใช้กล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการทรงตัวได้มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ และสามารถพัฒนาการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ได้มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ ในขณะที่การออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักมีการพัฒนาการทรงตัว ในขณะอยู่กับที่ได้เท่ากับการออกกำลังกายด้วยไทชิ
Other Abstract: To develop a new walking exercise to improve balance for the elderly and to test its effectiveness of the newly developed walking exercise with Tai Chi exercise which is popular among the elderly in improving balance. The newly developed walking exercise consisted of eight styles and was created by first reviewing and analyzing relevant literature regarding the necessary muscles used for walking and balance and the analysis of electromyography in related muscles. After that, the IOC was found from five experts to ensure its validity. The IOC value was found to be 0.80. Later, the effectiveness of the developed walking exercise was found by comparing with Tai Chi exercise with fifty one females who were 60-69 years of age. The subjects were divided into 2 groups : 1st group including 26 subjects who were trained by walking with weight exercise, while the second group including 25 subjects who were trained by Tai Chi exercise. Both groups had trained for 30 minutes a day (warm up 5 minutes and warm down 5 minutes, 3 day a week for 8 weeks. The balance was tested by using Time Up and Go test and Berg Balance scale before the experiment and after the 4th and 8th week of the experiment, respectively, one-way analysis of variance with repeated measures and t-test were later performed to find the differences of the two groups. The research showed that walking with weight exercise used more muscle than Tai Chi exercise. Static balance of both groups were better in the 4th week and the 8th week after the experiment (p<.05). Dynamic balance of walking with weight exercise was better in the 8th week of experiment but Tai Chi exercise was not better (p<.05). Dynamic balance of walking was better than Tai Chi in 8th week (p<.05). In conclusion, walking with weight exercise used more muscles and could better improve dynamic balance than Tai Chi exercise. Static balance was not different between groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21799
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.493
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.493
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amorntheap_wa.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.