Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21854
Title: ผลการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดโดยใช้ทิศทางการฝึกกระโดดต่างกัน ที่มีต่อสมรรถภาพกล้ามเนื้อในนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Effects of loaded jump squat with different direction jump on muscular fitness in student of Faculty of Sports Science Chulalongkorn university
Authors: อภิโชติ วงศ์ชดช้อย
Advisors: ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaninchai.I@Chula.ac.th
Subjects: สมรรถภาพทางกาย
การฝึกน้ำหนัก
การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
Physical fitness
Weight training
Muscle strength training
Plyometrics
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดโดยใช้ทิศทางการฝึกกระโดดต่างกัน ที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 45 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 15 คน คือ กลุ่มที่ 1 ฝึกแบกน้ำหนักกระโดดในแนวดิ่ง กลุ่มที่ 2 ฝึกแบกน้ำหนักกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางไปข้างหน้า และกลุ่มที่ 3 ฝึกแบกน้ำหนักกระโดดขึ้นบันได ฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้ง ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาต่อน้ำหนักตัว พลังกล้ามเนื้อขาต่อน้ำหนักตัว ความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองภายในแต่ละกลุ่ม โดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของตูกี เอ (Tukey a) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยหลังการทดลอง 6 สัปดาห์พบว่า 1. กลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดขึ้นบันได มีการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาต่อน้ำหนักตัวและความเร็ว มากกว่ากลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดในแนวดิ่ง และกลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางไปข้างหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดโดยในแนวดิ่ง กลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางไปข้างหน้า และกลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดขึ้นบันไดมีการการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาต่อน้ำหนักตัว และความคล่องแคล่วว่องไวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการทดลอง พบว่า การฝึกแบกน้ำหนักกระโดดขึ้นบันได เป็นทิศทางการฝึกที่สามารถพัฒนาสมรรถภาพของกล้ามเนื้อได้มากกว่าการกระโดดในทิศทางอื่น
Other Abstract: To study the effect of loaded jump squat with different direction jump on muscular fitness. Forty five male subjects from student of faculty of Sports Science Chulalongkorn University were purposively sampled for this study. Then, they were divided in to three groups (15 persons per group) based on matching group method. The first experimental group performed loaded jump squat. The second experimental group performed loaded jump squat by jump over barrier. The third experimental group performed loaded jump squat by jump on stair. Training was six weeks and experimental subjects trained twice a week. Pre and post training measures included : leg muscular strength, leg muscular power, speed and agility. The obtained data were analyzed in terms of means, standard deviations, paired t-test and one way analysis of Variance. After initial analysis, Tukey A was also employed to determine significant different of group means at the .05 level. Research result after six weeks indicated that: 1. Leg muscular power (per kg. body weight) and speed in the loaded jump squat by jump on stair group was significantly better than loaded jump squat group and loaded jump squat by jump over barrier group at the .05 level. 2. There were no significant differences on leg muscular strength (per kg. body weight) and agility of all groups at the .05 level. In conclusion, loaded jump squat by jump on stair can improve muscular fitness better than jump by other directions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21854
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.498
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.498
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apichot_wo.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.