Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2191
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย จิตะพันธ์กุล-
dc.contributor.authorภาสกร กัมพูพงศ์, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-
dc.date.accessioned2006-08-25T08:52:31Z-
dc.date.available2006-08-25T08:52:31Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741770359-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2191-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ เสนอวิธีการปรับปรุงสมรรถนะของระบบมัลติแคเรียร์ซีดีเอ็มเอที่มีการเข้ารหัสในข่ายเชื่อมโยงขาขึ้นโดยใช้เครื่องรับแบบวนซ้ำที่มีความซับซ้อนต่ำ เครื่องรับแบบวนซ้ำนี้จะประกอบด้วยสองส่วน คือ ดีเทกเตอร์สำหรับผู้ใช้หลายคนแบบซอฟต์อินพุตซอฟต์เอาต์พุตและชุดของตัวถอดรหัสช่องสัญญาณสำหรับผู้ใช้คนเดียว หน้าที่ของดีเทกเตอร์สำหรับผู้ใช้หลายคนกับตัวถอดรหัส คือ จะทำการคำนวณค่าข่าวสารเอกซ์ทรินซิกซึ่งจะถูกส่งไปยังส่วนถัดไปเพื่อใช้เป็นค่าข่าวสารเบื้องแรก แต่เนื่องจากการคำนวณค่าข่าวสารเอกซ์ทรินซิกที่เหมาะที่สุดของดีเทกเตอร์สำหรับผู้ใช้หลายคนมีความซับซ้อนสูง วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอให้ใช้เทคนิคการหักล้างสัญญาณแทรกสอดชนิดซอฟต์ โดยจะใช้ดีเทกเตอร์ชนิดทำให้ค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยต่ำสุดแบบผู้ใช้หลายคนในรอบแรกของการหักล้าง จากผลการจำลองระบบพบว่า เครื่องรับที่ใช้การหักล้างสัญญาณแทรกสอดแบบวนซ้ำชนิดซอฟต์โดยใช้ดีเทกเตอร์ชนิดทำให้ค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยต่ำสุดแบบผู้ใช้หลายคนจะมีสมรรถนะสูงกว่าเครื่องรับแบบเดิม นอกจากนี้ จะเสนอเทคนิคการหักล้างสัญญาณแทรกสอดบางส่วนมาใช้ร่วมกับเครื่องรับที่ใช้การหักล้างสัญญาณแทรกสอดแบบวนซ้ำชนิดซอฟต์โดยใช้แมตซ์ฟิลเตอร์ในรอบแรกของการหักล้าง เพื่อลดความซับซ้อนลงจากเครื่องรับที่ใช้ดีเทกเตอร์ชนิดทำให้ค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยต่ำสุดแบบผู้ใช้หลายคนในรอบแรกของการหักล้าง จากผลการจำลองระบบพบว่า เมื่อนำเทคนิคการหักล้างสัญญาณแทรกสอดบางส่วนไปใช้กับเครื่องรับที่ใช้แมตช์ฟิลเตอร์ในรอบแรกของการหักล้างจะทำให้ได้สมรรถนะที่ดีขึ้นen
dc.description.abstractalternativeIn this thesis, the performance improvement of uplink coded MC-CDMA system with a low-complexity iterative receiver was proposed. The iterative receiver consists of two stages: a soft-input soft-output multiuser detector and a set of single-user channel decoders. The role of the multiuser detection and the decoder is to compute the extrinsic information which is fed to the next stage for using as a priori information. The complexity of the optimal computation, based on maximum a posteriori (MAP) criteria for the multiuser detection, is prohibitive. Hence, a soft interference cancellation approach is proposed. The multiuser minimum mean square error (MU-MMSE) detector is used in the first stage of the cancellation. The simulation results show that the iterative soft interference cancellation using multiuser MMSE is better than the conventional receiver. In addition, the partial cancellation technique where only fraction of interference replica is cancelled from the composite signal is also proposed. To reduce the complexity of the iterative soft interference cancellation using multiuser MMSE in the first stage of the cancellation, the partial cancellation technique is applied to the iterative soft interference cancellation using matched filter in the first stage of the cancellation. The simulation results show that the performance of the receiver using matched filter in the first stage of the cancellation can be improved by using the partial cancellation technique.en
dc.format.extent2571142 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัสชนิดหลายความถี่en
dc.subjectระบบสื่อสารไร้สายen
dc.subjectการดีเทกต์สำหรับผู้ใช้หลายคนแบบวนซ้ำen
dc.titleการหักล้างสัญญาณแทรกสอดแบบวนซ้ำชนิดซอฟต์โดยใช้ดีเทกเตอร์ ชนิดทำให้ค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยต่ำสุดแบบผู้ใช้หลายคน สำหรับมัลติแคเรียร์ซีดีเอ็มเอที่มีการเข้ารหัสขาขึ้นen
dc.title.alternativeIterative soft interference cancellation using multiuser MMSE detector for uplink coded MC-CDMAen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSomchai.J@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pasakorn.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.