Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22026
Title: การจัดตารางการดำเนินการของระบบทำความเย็นในกระบวนการผลิตพีวีซี
Other Titles: Scheduling of chiller system operation in PVC production process
Authors: โชคพินิจ ล้อมคำดี
Advisors: สุรเทพ เขียวหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: oorathep.k@eng.chula.ac.th, Soorathep.K@Chula.ac.th
Subjects: โพลิเมอไรเซชัน
ความร้อน -- การถ่ายเท
การควบคุมอุณหภูมิ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระเบียบวิธีการเพื่อที่จะนำไปใช้จัดตารางการดำเนินการของเครื่องทำความเย็นในกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันของโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปฏิกิริยาที่เกิดจะเป็นแบบคายความร้อนซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกกำจัดออกโดยใช้น้ำเย็น (Chilled Water)เพื่อเป็นการควบคุมอุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์ในระหว่างเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน การควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นแบบเดิมในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นการควบคุมโดยไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ(Manual Control)ซึ่งมีข้อด้อยในด้านประสิทธิภาพของการควบคุมและเป็นผลให้สิ้นเปลืองพลังงาน ในงานวิจัยนี้ได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณหาภาระทางความเย็นของเครื่องทำความเย็นและภาระทางความร้อนจากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันของเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมด แบบจำลองที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจะถูกสอบทวนโดยข้อมูลการผลิตจริงของโรงงาน จากนั้นจะนำไปใช้หาตารางลำดับการเดินเครื่องทำความเย็นเพื่อให้ต้นทุนการใช้พลังงานต่ำสุดโดยไม่มีผลกระทบต่อการควบคุมอุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีจัดตารางลำดับการเดินเครื่องทำความเย็นสามารถลดการใช้พลังงานของไฟฟ้าของหน่วยผลิตน้ำเย็นลงได้ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนอกจากเป็นวิธีการเพิ่มสมรรถนะการทำงานของเครื่องทำความเย็น และเป็นการประหยัดพลังงานแล้ว ยังพบว่าไม่มีผลกระทบต่อการควบคุมปฏิกิริยาในเครื่องปฏิกรณ์แต่อย่างใด
Other Abstract: This research aimed to develop an algorithm for scheduling of chiller system operation in PVC production process. The polyvinyl chloride (PVC) polymerization process is an exothermic reaction. The chilled water is used to remove exothermic heat and controlled temperature in reactor during polymerization. In plant the traditional operation of chiller was controlled by manual operation which it had disadvantages in term of control efficiency, resulting in lost energy. A simplified model was created for computing the cooling capacity and heat load of user were developed, validated using field data and used chiller sequencing control algorithm to optimize system. The performance of the proposed chiller sequencing control algorithm was tested and compared with the traditional control. Test results are presented showing that the proposed strategy can decrease the energy consumption of chiller plant by 5% and it does not effect to reaction control in the reactor
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22026
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.549
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.549
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chokpinid_lo.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.