Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22064
Title: การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากสัญญะดอกบัวในพุทธศาสนา
Other Titles: The creation of Thai contemporary dance from semiotics of lotus in Buddhism
Authors: กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naraphong.C@Chula.ac.th
Subjects: นาฏศิลป์ไทย
สัญศาสตร์
บัว -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
ศิลปกรรมพุทธศาสนา
Dance -- Thailand
Semiotics
Lotus -- Religious aspects -- Buddhism
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างสรรค์และค้นหาแนวทางในการออกแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจจากสัญญะของดอกบัวในพุทธศาสนา ผู้วิจัยจึงต้องตั้งประเด็นคำถามในการวิจัยถึง : ผลงานการแสดงจากงานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากสัญญะดอกบัวในพุทธศาสนา ควรเป็นอย่างไร และควรมีแนวคิดในการสร้างสรรค์งานอย่างไร ทั้งนี้ผลที่ได้จากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ คือ ผลงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากสัญญะดอกบัวในพุทธศาสนา และแนวทางในการออกแบบงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่ได้แรงบันดาลใจจากสัญญะของดอกบัวในพุทธศาสนา โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดวิเคราะห์เชิงสัญญะวิทยา ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีสัญญะวิทยา สัญลักษณ์และความหมายของดอกบัวในศาสนา นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ความคิด ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับนาฎยศิลป์สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดดอกบัวในงานนาฏยศิลป์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วยเครื่องมือ 6 ชนิด ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การทดลองปฏิบัติการทางนาฏยศิลป์ เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน การวิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีสัญญะวิทยา ตลอดจนสื่อสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน มกราคม 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนการสัมภาษณ์รวมถึง นิสิต นักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญในด้านศิลปะการแสดง โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างงานนาฏยศิลป์แบบสร้างสรรค์ ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามในงานวิจัยสร้างสรรค์ครั้งนี้ คือ ได้ผลงานการแสดงและแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากสัญญะดอกบัวในพุทธศาสนา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ที่ประกอบไปด้วย บทบาทการแสดง การออกแบบลีลา นักแสดง การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การออกแบบเสียงและดนตรี การออกแบบพื้นที่เวที การออกแบบแสง การออกแบบอุปกรณ์สำหรับการแสดง ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
Other Abstract: In this thesis, aims to seek and create choreography inspired by the semiotics of lotus in Buddhist teachings. The researcher has raised questions: How ‘Thai contemporary dance inspired by semiotics of lotus in Buddhism” will look like? and ‘How it can be created?’ Resulting from such creative research is the Thai contemporary dance inspired by the semiotics of lotus in Buddhist teachings, which focus on the semiotic analysis ideologies of teachings. The study covers semiotics theory, symbolism and meaning of lotus in Buddhism, creative dances, and experts’ opinions on creative dances inspired by lotus. This creative research uses six tools: literature review, professional interview, dance workshop, standard criterion for national artist, semiotics analysis. Other related-media are also considered. Data collection spans between June 2010 to May 2012, within Thailand and outside Thailand. Interviewees included students and experts, especially, those who are associated with creative dance productions. Data are analyzed in order to answer the main research questions, resulting in the creation of a Thai contemporary dance inspired by semiotics of lotus in religion, that maintain the consistency of all dance elements -script, choreography, performers, costume designing, sound and music designing, stage designing, property designing to the main goal of the research.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22064
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittikorn_no.pdf17.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.