Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22104
Title: การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
Other Titles: Proposed development model for private university administrators towards professionalism
Authors: พิชญ์ รัตนเพียร
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@Chula.ac.th
Sirichan.S@Chula.ac.th
Subjects: สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา
Private universities and colleges
College administrators
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เส้นทางการเข้าสู่ตำแหน่งและการบริหารงานของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมืออาชีพ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารมืออาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน กลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวน 486 คนโดยจำแนกตามระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 103 คน ระดับคณะจำนวน 188 คน ระดับภาควิชาจำนวน 195 คน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยตรวจสอบความเที่ยงตรงทางเนื้อหา (Content validity) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามเท่ากับ 1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคจำแนกตามระดับได้ดังนี้ ระดับมหาวิทยาลัยเท่ากับ .909 ระดับคณะเท่ากับ .927 ระดับภาควิชาเท่ากับ .969 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ทั้งแบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Content analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ตรวจสอบรับรองรูปแบบการพัฒนาผู้บริหาร และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สกัดได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับมหาวิทยาลัยมี 16 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านผู้สนับสนุน สามารถอธิบายความแปรปรวน (% of Variance) ของตัวแปรได้มากที่สุดร้อยละ 21.285 ระดับคณะมี 14 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านผู้มุ่งมั่น สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้มากที่สุดร้อยละ 25.874 ระดับภาควิชามี 10 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านนักวิชาการ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้มากที่สุดร้อยละ 40.923 ผลการวิจัยยังพบอีกว่าสมรรถนะขั้นพื้นฐาน (Fundamental competency) ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกระดับใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human skills) มากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะด้านการคิด (Conceptual skills) และทักษะเฉพาะด้าน (Technical skills) ตามลำดับ ส่วนสมรรถนะตามหน้าที่ (Functional competency) ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับมหาวิทยาลัย คือ มีความรู้ด้านการบริหารอุดมศึกษา ระดับคณะ คือ มีทักษะด้านการบริหาร ระดับภาควิชา คือ มีความรู้ดีในระเบียบข้อบังคับของสถาบันเป็นอย่างดี ผลการรับรองรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา สู่ความเป็นมืออาชีพมีความเหมาะสม และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาโดยแบ่งเป็นระดับชาติ
Other Abstract: To 1) study the recruitment and management of administrators in private university. 2) analyze preferred characteristics of professional administrator for private university 3) propose development model for private university administrators 4) propose policy recommendation in order to develop private university administrators. Descriptive method was used in this research. the research are collected from the following sample groups: 1) literatures review 2) 10 specialists who are administrators and experts in management 3) 15 specialists who are administrators and experts in private university management involved in model decision. 4) 486 private university administrators including university level, faculty level and department level. Data were obtained from content analysis, interviews, questionnaires, confirmation form. Questionnaires were tested for validity (IOC= 1) and reliability by using Cronbach’s Alpha Coefficient; University level = .909 Faculty level = .927 and Department level = .9699. The data analysis included content analysis, exploratory factor analysis by SPSS program. Research findings from exploratory factor analysis revealed there are 16 factors for administrator in university level, the most important factor at this level is ‘supportive’ (variance = 21.285%). There are 16 factors for administrator in faculty level, the most important factor at this level is ‘determination’ (variance = 25.874%). There are 10 factors for administrator in department level, the most important factors at this level is ‘academic’ (variance = 40.923%). The research showed that the most preferred fundamental competency in university level, faculty level and department level are human skill, conceptual skill and technical skill respectively. The research showed that the most preferred functional competency in university level, faculty level is managerial skill in higher education, faculty level is managerial skill and department level is a good understanding in university rules and procedures. The propose development model for private university administrators and 21 policy recommendation in order to develop private university administrators has been approved by 15 connoisseurs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22104
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.806
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.806
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pitt_ra.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.