Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22213
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง | - |
dc.contributor.advisor | ศิริพร ภักดีผาสุข | - |
dc.contributor.author | วิสันต์ สุขวิสิทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-09-28T08:53:14Z | - |
dc.date.available | 2012-09-28T08:53:14Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22213 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | หนังสือเรียนเป็นวาทกรรมที่มีผลต่อสังคมในวงกว้าง เนื่องจากเป็นวาทกรรมที่ทุกคนที่เข้าศึกษาในระบบการศึกษาของรัฐจำเป็นต้องใช้ งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาอุดมการณ์ที่ประกอบสร้างและสื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503-2544 จำนวน 4 หลักสูตร ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยอาศัยกรอบมิติทั้งสามของวาทกรรมของแฟร์คลาฟ (Fairclough, 1995) และศึกษาเปรียบเทียบอุดมการณ์ที่สื่อผ่านหนังสือเรียนแต่ละหลักสูตรดังกล่าว ผลการศึกษาตัวบทพบกลวิธีทางภาษาที่หนังสือเรียนใช้สื่ออุดมการณ์ต่างๆ ทั้งสิ้น 15 กลวิธี กลวิธีทางภาษาที่ตัวบทหนังสือเรียนใช้เป็นหลักเพื่อสื่ออุดมการณ์ ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้ประโยคแสดงเหตุผล การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยโครงสร้างประโยค การใช้ความเชื่อที่มีอยู่ก่อน และการใช้เสียงที่หลากหลาย กลวิธีทางภาษาเหล่านี้สื่ออุดมการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้อ่านทั้งสิ้น 10 ชุดความคิด อุดมการณ์เด่นซึ่งพบในหนังสือเรียนทุกเล่มคือ อุดมการณ์เด็กและอุดมการณ์ความเป็นหญิงและความเป็นชาย ผลการศึกษาเปรียบเทียบอุดมการณ์ที่สื่อผ่านหนังสือเรียนแต่ละหลักสูตรพบว่า ความคิดย่อยของอุดมการณ์บางชุดเป็นความคิดอุดมการณ์ที่ปรากฏซ้ำอย่างต่อเนื่องในหนังสือเรียนทุกหลักสูตร เช่น ความคิดที่สื่อว่า เด็กดีคือสมาชิกที่ดีของสังคมและพลเมืองดีของชาติ และประเทศไทยคือประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรืองและสงบร่มเย็น และความคิดย่อยของอุดมการณ์บางชุดเป็นความคิดที่ปรากฏในหนังสือเรียนบางหลักสูตร เช่น ความคิดย่อยที่สื่อว่า เด็กดีเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งปรากฏในหนังสือเรียนหลักสูตร พ.ศ. 2544 และเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าเป็นผู้ที่เป็นมิตรกับประชาชน ซึ่งปรากฏในหนังสือเรียนหลักสูตร พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2544 ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่า หนังสือเรียนเป็นวาทกรรมที่ผลิตขึ้นโดยการควบคุมของหน่วยงานด้านการศึกษาของรัฐ เพื่อใช้ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประชาชนทุกคนต้องเข้ารับการศึกษา และมีครูซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมไทยให้ความเคารพเป็นผู้ถ่ายทอดสู่นักเรียน หนังสือเรียนจึงเป็นวาทกรรมที่มีสถาบันรับรอง ได้รับการตีความในฐานะของความรู้ที่เชื่อว่าถูกต้อง เหมาะสม ทั้งยังสามารถเข้าถึงประชาชนทุกระดับในสังคม อุดมการณ์ที่อยู่ในหนังสือเรียนจึงสามารถส่งผลต่อสังคมได้ในวงกว้าง ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม พบว่า อุดมการณ์ต่างๆ ที่สื่อผ่านหนังสือเรียนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับความคิดและค่านิยมในสังคมหลายประการ ได้แก่ ความคิดเรื่องความอาวุโส ความคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์ ความคิดทางพระพุทธศาสนา ความคิดเรื่องชายเป็นใหญ่ รวมถึงแนวคิดและนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสมัย ขณะเดียวกันอุดมการณ์ต่างๆ ที่สื่อผ่านหนังสือเรียนนั้นก็อาจส่งผลต่อระบบความคิด ความเชื่อของผู้อ่านรวมถึงสังคมในด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การนิยามความหมายของสมาชิกที่พึงประสงค์ของสังคมไทย การนำเสนอภาพอุดมคติของบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ในสังคม และการกำหนดแบบแผนความสัมพันธ์ของคนในสังคม งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่า หนังสือเรียนนั้นเป็นวาทกรรมที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ของรัฐและผู้มีอำนาจในสังคม เพื่อเตรียมเด็กให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตามที่รัฐและผู้มีอำนาจในสังคมเห็นว่าเหมาะสม แต่บางครั้งอุดมการณ์เหล่านั้นอาจสื่อภาพที่ไม่เป็นกลางของบุคคลและสิ่งต่างๆ ในสังคมไปสู่ผู้อ่าน จนอาจสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างบุคคลในสังคมได้ในที่สุด | en |
dc.description.abstractalternative | Textbooks are regarded as a type of discourse which extensively influences the societ; as they are obligatory reading for all students during their formal education. This research primarily aims at studying the ideologies constructed and represented by linguistic strategies in the Thai Language textbooks for the elementary school curriculum B.E. 2503-2544. The framework adopted is Fairclough’s Critical Discourse Analysis known as “the three dimensional framework.” The findings show that 15 linguistic strategies are adopted in the textbooks to construct and represent various ideologies. The crucial strategies include lexical selection, reasoning, using a certain sentence structure to indicate interpersonal relation, presupposition, and multi-voicedness. The ideologies repeatedly found in all textbooks are ideologies related to children and gender ideologies. Some sets of idea that are repeatedly presented in all textbooks are 1) a good child is a desirable member of the society; and 2) Thailand is fertile, civilized and peaceful country. Some sets of idea that appear in some textbooks are 1) a good child is a person who follows that concept of sufficiency economy, as found in the B.E. 2544 textbooks; and 2) governmental officials are friendly to people, as found in both the B.E. 2521 and the B.E. 2544 textbooks. As for the analysis of discourse practice, textbooks are discourses which were controlled by the governmental education agencies. The users of the textbooks are teachers who are licensed to transfer knowledge to pupils. Therefore, textbooks are a type of discourse which is supported by the governmental agency, and it is interpreted as the correct and appropriate knowledge which is accessible by all levels of population in the society. Consequently, the ideologies presented in the textbooks somewhat influence the society. For the analysis of socio-cultural practice, the ideologies conveyed through textbooks are influenced many social notions and values such as the notion of seniority, the notion of patronage system, the notion of Buddhism, the notion of patriarchy, as well as the state’s policies. On the other hand, these ideologies may have certain influence upon Thai people’s ways of thinking regarding the definition of desirable citizens, the representation of ideal people and conditions, and the construction of interpersonal relationship in the society. In conclusion, this study indicates that the textbooks reproduce ideologies of the dominant group in order to prepare the children to be good members of the society. Meanwhile, these bias discourses may bring about inequality in Thai society. | en |
dc.format.extent | 8400117 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.837 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วจนะวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ | en |
dc.subject | แบบเรียน -- ไทย | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา | en |
dc.subject | อุดมการณ์ | en |
dc.subject | Critical discourse analysis | en |
dc.subject | Textbooks -- Thailand | en |
dc.subject | Thai language -- Usage | en |
dc.subject | Ideology | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503-2544 : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ | en |
dc.title.alternative | The relationship between language and ideologies in the Thai language textbooks for the Elementary School Curriculum B.E. 2503-2544 : a critical discourse analysis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Natthaporn.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Siriporn.Ph@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.837 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wison_su.pdf | 8.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.