Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22269
Title: การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังแบบฮาร์ดวาร์ด สเต็ป เทสต์ และแบบ ไนน์ สแควร์ เทสต์ ต่อสมรรถภาพทางกลไกของร่างกาย
Other Titles: A comparison of the effect of the Harvard Step test and Nine Square test physical training methods on motor fitness
Authors: สมคิด บุญเรือง
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การออกกำลังกาย
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบผลการฝึกร่างกายด้วยแบบฝึก 2 วิธี คือ ฮาร์วาร์ด เสต็ป เทสต์ และ ไนน์ สแควร์ เทสต์ (อวย’ส เทสต์) ซึ่งเป็นวิธีฝึกที่ทำง่ายไม่ใช่อุปกรณ์และใช้เวลาน้อย ว่าจะให้ผลต่อสมรรถภาพทางกลไกของร่างกายอย่างไร ? กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหญิงชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน จำนวน 80 คน ใช้เวลาฝึกร่างกาย 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ฝึกร่างกายตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันพฤหัสบดี ส่วนวันศุกร์ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของร่างกายแล้วนำผลการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกหลังการฝึกร่างกายแต่ละสัปดาห์ไปหาค่าสถิติ คือวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำและการทดสอบรายคู่ตามวิธีของนิวแมน – คูล ผลการวิจัยพบว่าการฝึกร่างกายโดยแบบฝึกที่กำหนด ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกและปฏิกิริยาร่วมให้ผลต่อสมรรถภาพทางกลไกของร่างกายดังนี้ 1. กลุ่มที่ฝึกร่างกายด้วย ฮาร์วาร์ด เสต็ป เทสต์ มีสมรรถภาพทางกลไกด้านความอดทนของกล้ามเนื้อขา และความทนทานของระบบไหลเวียน จากการวัดด้วย สควอท ทรัสต์ และวิ่ง – เดิน 800 เมตร ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกร่างกายด้วย ไนน์ สแควร์ เทสต์ (อวย’ส เทสต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. กลุ่มที่ฝึกร่างกายด้วยไนน์ สแควร์ เทสต์ (อวย’ส เทสต์) มีสมรรถภาพทางกลไก ด้านกำลังของกล้ามเนื้อขา จากการวัดด้วยการยืนกระโดดไกลดีกว่ากลุ่มที่ฝึกร่างกายด้วย ฮาร์วาร์ด สเต็ป เทสต์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. กลุ่มที่ฝึกร่างกายด้วย ฮาร์วาร์ด เสต็ป เทสต์ และไนน์ สแควร์ เทสต์ (อวย’ส เทสต์) มีสมรรถภาพทางกลไกด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความคล่องแคล่ว ความเร็ว และความยืดหยุ่นจากการวัดด้วยไดนาโมมิเตอร์, วิ่งเก็บของ, วิ่งเร็ว 50 เมตร และนั่ง – ก้ม – แตะ ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the effects of the Harvard Step Test and the Nine Square Test (Ouay’s Test) as Simple Physical Training methods for Motor fitness the Subjects were eighty freshwomen of Srinakharinwirot University (Bangsaen). The subjects practiced five days a week for six weeks. After the practice periods Monday through Thursday motor fitness tests were administered the results were hand – tabulated by the author Using the Two – way analysis of variance with repeated measures and the Newman – Kuel Test. The results indicated that the influence of the training models, practice periods and the interaction effects on motor fitness were as follows : 1. The squat – thrust and the 800 meter run – walk in the Motor Fitness Test of the subjects trained by the Harvard Step Test were better than the subjects trained by the Nine Square Test (Ouay’s Test) at the .01 level of statistical significance 2. The standing broad jump in the Motor Fitness Tests of the subjects trained by Nine Square Test (Ouay’s Test) were better than the subjects trained by the Harvard Step Test at the .01 level of statistical significance 3. There was no difference among the dynamometer, agility, Speed and flexibility parts of the Motor Fitness Test at the .05 level of statistical significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22269
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkid_Bo_front.pdf471.57 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Bo_ch1.pdf988.49 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Bo_ch2.pdf454.84 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Bo_ch3.pdf661.26 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Bo_ch4.pdf513.18 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Bo_back.pdf838.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.