Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิลาสวงศ์ พงศะบุตร-
dc.contributor.advisorเกริกเกรียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ จรัลพัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-10-05T08:40:45Z-
dc.date.available2012-10-05T08:40:45Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22426-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractภาษีฝิ่นเป็นภาษีที่เริ่มต้นจัดเก็บเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนหน้านั้นรัฐบาลได้เคยกำหนดให้ฝิ่นเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายและห้ามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นภายในประเทศ ในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษได้แสดงความต้องการเข้ามาค้าฝิ่นในประเทศไทย ประกอบกับนโยบายปราบปรามการลักลอบค้าฝิ่นเถื่อนภายในประเทศไม่ประสบผลสำเร็จ รัฐบาลจึงยอมให้มีการซื้อขายและสูบฝิ่นได้ โดยรัฐบาลมอบให้เจ้าภาษีนายอากรจัดเก็บภาษีฝิ่นเพื่อเป็นรายได้ทางหนึ่งของรัฐบาล วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาทของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ศึกษากระบวนการจัดเก็บภายใต้ระบบเจ้าภาษีนายอากร คนกลาง และตลาดค้าฝิ่นในประเทศ พิจารณาถึงภาระของผู้บริโภคฝิ่น รวมทั้งศึกษาภาษีที่มีต่อโครงสร้างรายได้ของรัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการวิจัยพบว่านับแต่รัฐบาลไทยได้ลงนามในสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 และกับประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา มีผลให้รายได้จากการค้าผูกขาดของรัฐบาลไทยแต่เดิมขาดหายไป รัฐบาลจึงต้องพยายามแสวงหารายได้อื่นเข้ามาทดแทน ปรากฏว่าการจัดเก็บภาษีฝิ่นเป็นกิจการที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นได้เป็นลำดับ รัฐบาลจึงได้ให้ความสนใจอย่างมาก และได้วางนโยบายเพื่อเพิ่มพูนรายได้ประเภทนี้มาโดยตลอด ภาษีฝิ่นได้กลายเป็นรายได้ที่จัดเก็บได้มากที่สุดในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 และต้นรัชกาลที่ 6 ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลประสบผลสำเร็จในการดำเนินนโยบายจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม ยังผลให้ภาษีฝิ่นกลายเป็นรายได้ที่เก็บได้ถึง 1 ใน 4 ส่วนของรายได้ทั้งหมดของรัฐบาล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อรัฐบาลมีโครงการเลิกภาษีฝิ่น รัฐบาลได้ประสบปัญหาด้านการคลัง กล่าวคือ รัฐบาลไม่อาจจะหารายได้อื่นเข้ามาทดแทนภาษีฝิ่นได้เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงปลายรัชกาลทำให้ รัฐบาลไม่อาจยกเลิกภาษีฝิ่นดังที่ได้วางโครงการไว้ รัฐบาลจึงต้องเลื่อนโครงการเลิกภาษีฝิ่นออกไป จนกว่าฐานะด้านการคลังของรัฐบาลจะฟื้นตัวได้-
dc.description.abstractalternativeOpium revenue was first collected in the reign of King Mongkut (1851-1868). Formerly, opium was regarded as illicit goods; thus, smoking and selling of opium was strictly prohibited in Thailand. However, due to the British merchants’ demand of opium trade and the unsuccessful measures on the part of the government to stop opium smuggling into the country, Thailand was compelled to allow legal selling and smoking of opium. Opium revenue was first collected by tax-farmers and became one of the important sources of government income. This thesis tries to analyze the government’s policies concerning opium revenue, the process of monopolizing collection by tax-farmers, the middlemen, opium markets and the effect on opium consumers. It also points out the importance of opium revenue to fiscal policy of the government during the reigns of King Chulalongkorn and King Vajiravudh (1868-1925). The study found that after signing treaties Britain in 1855 and with other following countries, the benefits from royal trade monopoly were abolished, which consequently decreased the national income. The government, therefore, had to find other sources of income to substitute them. As opium revenue tended to increase successively, the government showed great interest in formulating policies with the aim of increasing this kind of revenue. Hence, opium revenue reached its peak towards the end of King Chulalongkorn's reign and the beginning of King Vajiravudh's reign - indicating improvement in the government's tax-collection policy. After that, opium revenue became one-fourth of the government total income. Thus, it was very difficult for the government during King Vajiravudh's reign, faced with fiscal problems, to abolish opium revenue, because the government was not able to seek other income to replace it. Moreover, the economic crisis at the end of King Vajiravudh's reign had worsened the situation. As a result, the government's plan to abolish opium revenue had to be delayed until the fiscal condition improved.-
dc.format.extent619996 bytes-
dc.format.extent1244882 bytes-
dc.format.extent1546294 bytes-
dc.format.extent3949248 bytes-
dc.format.extent1372321 bytes-
dc.format.extent885302 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleภาษีฝิ่นกับนโยบายด้านการคลังของรัฐบาลไทย พ.ศ.2367-2468en
dc.title.alternativeOpium revenue and fiscal policy of Thailand, 1824-1925en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Ja_front.pdf605.46 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ja_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ja_ch2.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ja_ch3.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ja_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Ja_back.pdf864.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.