Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22430
Title: ความหลากหลายทางชนิดของแมงมุมในพื้นที่ป่าทุติยภูมิ และพื้นที่เกษตรที่ตำบลไหล่น่าน อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
Other Titles: Species diversity of spiders in secondary forest and agricultural area, Lai Nan Subdistrict, Wiang Sa District, Nan Province
Authors: นรินทร์ ชมภูพวง
Advisors: สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์
ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sureerat.D@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แมงมุม -- ไทย -- น่าน
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ -- ไทย -- น่าน
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ -- การประเมิน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือการประเมินความหลากหลายของแมงมุมโดยเปรียบเทียบลักษณะพื้นที่สามประเภทคือ ป่าทุติยภูมิ พื้นที่ชายป่า และพื้นที่การเกษตร ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยเก็บตัวอย่างแมงมุมด้วยวิธีการวางกับดักหลุม การเก็บดินและเศษซากใบไม้ การจับด้วยมือ และการใช้สวิงการศึกษานี้ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกันยายน 2553 ถึงเดือน สิงหาคม 2554 ผลการศึกษาพบว่าเก็บตัวอย่างแมงมุมได้ทั้งหมด 2,397ตัว จัดจำแนกออกเป็น 26 วงศ์โดยแมงมุมวงศ์ที่มีความชุกชุมมากที่สุดในพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่ชายป่าคือวงศ์ Araneidae (22% และ 23% ตามลำดับ) ขณะที่พื้นที่การเกษตรพบแมงมุมวงศ์ Lycosidae มากกว่า 52% สำหรับค่าดัชนีความมากชนิดของมากาแลฟ ดัชนีแชนนอน ดัชนีซิมป์สัน และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของพีลิว ในพื้นที่ป่าทุติยภูมิมีค่ามากกว่าพื้นที่การเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความชุกชุมของแมงมุมวงศ์ที่สำคัญพบว่าแมงมุมวงศ์ Lycosidae ในพื้นที่การเกษตรมีความชุกชุมมากกว่าพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่ชายป่า ส่วนแมงมุมในวงศ์ Araneidae,Salticidae,Oxyopidae,Tetragnathidae, Thomisidaeและ Theridiidaeในพื้นที่ป่าทุติยภูมิมีความชุกชุมมากกว่าพื้นที่การเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบกิลด์ของแมงมุม พบว่าสัดส่วนของแต่ละกิลด์ในทั้งสามพื้นที่วิจัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแมงมุมนักล่าอื่นๆ และแมงมุมใยกลมพบมากในพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่ชายป่า ขณะที่แมงมุมนักล่าตามพื้นพบมากในพื้นที่การเกษตร ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงการรบกวนและการดัดแปลงพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่การเกษตรส่งผลให้ความหลากหลายแมงมุมลดลงและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มความชุกชุมของแมงมุมที่อยู่ตามพื้นดินอันเนื่องมาจากลักษณะความแตกต่างระหว่างพื้นที่
Other Abstract: The aim of this study was to compare the diversity of spiders in three habitat types consisting of secondary forest, edge of forest area, and agricultural area in Lai Nan subdistrict, Wiang Sa district, Nan province. Spiders were sampled using pitfall trapping, leaf litter sifting, soil sifting, hand collecting, and net sweeping techniques. Field works were conducted during September 2010 to August 2011. As a result, a total of 2,397 spider specimens were collected with 26 families identified. The most abundant family of spiders in the secondary forest and edge of forest area was the Araneidae (22% and 23% respectively), while more than 52% of spider abundance in the agricultural area were the Lycosidae. The Margalef species richness, Shanon index, Simpson index, and Pielou’s evenness index were significantly higher in the secondary forest group than the agricultural area. The analyses of the spider families abundance indicate that the Lycosidae was highly abundant in the agricultural area than the secondary forest and edge of forest area, whereas spiders from the families Araneidae, Salticidae, Oxyopidae, Tetragnathidae, Thomisidae, and Theridiidae were significantly more abundant in the secondary forest and edge of forest areas than in the agricultural area. The spider guild compositions in the three habitat types were significantly different from one another. The other hunters and orb web weavers were prevalently found in the secondary forest and the edge of forest area, while the ground hunters were abundantly found in the agricultural area. Results from this study showed that the threats by the modification of the secondary forest into agricultural area could affect and decreased the spider diversity, though enhance the abundance of ground-dwelling spiders.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.870
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.870
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narin_ch.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.