Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2246
Title: โครงการการวิจัยประยุกต์ประกอบการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน
Other Titles: การวิจัยประยุกต์ประกอบการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน
การออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน
Authors: สุนทร บุญญาธิการ
บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
Email: Soontorn.B@Chula.ac.th
Bundhit.E@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
Subjects: สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน
การใช้พลังงาน
การอนุรักษ์พลังงาน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแปรและอิทธิพลของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการนำประโยชน์จากระบบธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นรวมถึงแนวทางในการประยุกต์ข้อมูลที่ได้เพื่อนำมาใช้กับการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นอาคารสาธิตการอนุรักษ์พลังงานตัวอย่างของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ในการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่าตัวแปรสำคัญที่จำเป็นต้องทราบมากที่สุดเพื่อจะนำไปใช้ในการออกแบบอาคารดังกล่าวคือ อิทธิพลของ ต้นไม้ ดินน้ำ และแสงธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับภูมิอากาศแถบร้อนชื้น ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาปรับปรุงดัดแปลงและประยุกต์ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานดังกล่าว ขบวนการวิจัยทดลองและวิเคราะห์ได้ทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบและการประเมินค่าการใช้พลังงานในอาคารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SIMULATION)ด้วยเหตุนี้การวิเคราะห์วิจัยในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นหัวใจสำคัญในการแสวงหาข้อมูลที่จะป้อน (INPUT) ให้กับการประเมินค่าการใช้พลังงานโดยวิธีจำลองสภาพอาคารด้วยคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SIMULATION) เพื่อศึกษาหาวิธีการประหยัดพลังงานภายในอาคารตัวอย่างอย่างละเอียด โดยใช้การวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประเมินผลการวิจัยให้สามารถสร้างตัวอย่างของอาคารประหยัดพลังงานที่สมบูรณ์ได้ในที่สุด จากผลงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงอิทธิพลของตัวแปรหลายตัวที่สำคัญ เช่น ความลึก-ตื้นของน้ำมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิน้ำมีความแตกต่างกันได้ถึง 4 C ดินที่ผิวมีการปรับแต่งสภาพบางลักษณะมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิดินลดลงถึง 3 C จากปกติ วัสดุปูผิวทางเดินเมื่อเทียบกับสนามหญ้าพบว่ามีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันถึง 10 C และการใช้ช่องเปิดด้านบนช่วยให้สามารถดึงแสงธรรมชาติเข้ามาภายในอาคารได้ลึกถึง 8 เมตร รวมถึงการใช้ช่องเปิดเหนืออาคารส่วนที่เป็นโดมก็ช่วยประหยัดการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางเดินในช่วงเวลากลางวันไปได้มาก อิทธิพลดังกล่าวเป็นส่วนประกอบซึ่งมีผลต่อการใช้พลังงานในอาคาร ในการวิจัยขั้นสุดท้ายข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จึงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ และทำการวิเคราะห์โดยการจำลองสภาพการใช้พลังงานในอาคารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่าสามารถประหยัดพลังงานลงได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับอาคารที่มีมาตรฐานในการก่อสร้างโดยทั่วไป นั่นคือสามารถลดภาระการทำความเย็นให้กับอาคารลงมากดังจะพบว่าใช้ปริมาณเครื่องปรับอากาศเพียงประมาณ 63 ตร.ม./ตัน และมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคารน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ พรบ.อนุรักษ์พลังงาน (OTTV) เพียง 18 วัตต์/ตร.ม. (คิดเป็นเพียง 40% ตามที่กำหนดไว้) งานวิจัยนี้จึงนับเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกิดอาคารอนุรักษ์พลังงาน ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิภาคในเขตร้อนชื้น
Other Abstract: The principle purpose of this project is to conduct a research on factors, their influence relating to applying natural elements in the design of an energy efficiency building appropriate for hot, humid climate. The knowledge gained from this study has been utilized in designing The Energy Conserving Building which is the demonstration showcase building of the Department of Energy Development and Promotion (DEDP). In the primary study, it is found that the most essential factors for hot and humid climate are the influences of trees, soil, water bodies, and natural daylight. After gaining of the factor impact, information was adapted and applied for the computer program toward the design of the DEDP Energy Conserving Building. Processes of the experimental research and analysis was conducted simultaneously with those of the design and computer simulation, helping evaluate energy consumption and find innovative ways for energy efficiency. Researching these topics, therefore, is a vital study because the gained became the input for computer simulation. From this research, Information concerning the influence of many factors relating to energy conserving techniques were found. They are that the difference of water dept can make different water temperature up to 4 C, that soil under different surface treatments can reduce soil temperature down to 3 C from normal, that some paving materials can cause different air temperature to 10 C compared with the lawn, that skylight window can allow natural daylight come into the building to 8 meter far from outside wall, and that the skylight above dome structure can reduce using artifitial lighting system at circulation area during daytime a great deal. The information about these influences relates to energy consumption in buildings and, consequently, were applied to the design of DEDP's Energy Conserving Building in the last step of this research. Using computer simulation, it is found that energy consumption in the building can be reduced more than 50% compared with average typical buildings in Thailand. That means the cooling load of the building can be reduced to 63 sq.m./ton, while the Overall Thermal Transfer Value (OTTV) of the building is only 18 w./sq.m. (equal to 40% of the standard value). This research is the first step of innovating the energy conserving building which is best appropriate for this hot and humid region.
Description: ล.1 รายงานฉบับสมบูรณ์ -- ล.2 เอกสารประกอบรายงานฉบับสุดท้าย ภาคผนวก ก,ข -- ล.3 เอกสารประกอบรายงานฉบับสุดท้าย ภาคผนวก ค,ง,จ
รายงานเสนอต่อ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2246
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bundhit(facv3).pdfเล่ม 321.61 MBAdobe PDFView/Open
Bundhit(facv2).pdfเล่ม 28.27 MBAdobe PDFView/Open
Bundhit(facv1).pdfเล่ม 131.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.