Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22711
Title: การเปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย ที่เป็นผลจากความแตกต่างของความยาวของแบบวัด ขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเครื่องมือ และระยะเวลาในการวัดซ้ำ
Other Titles: A comparison of the variance overlap in Thai mental health indicators caused by different test lengths, pilot study sample sizes, and test-retest intervals
Authors: เสาวณิต กิตตินานนท์
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nuttaporn.L@Chula.ac.th
Subjects: แบบทดสอบทางจิตวิทยา
ชาวไทย -- สุขภาพจิต
Psychological tests
Thais -- Mental health
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีความยาว 15 ข้อ และ 30 ข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับความยาว 54 ข้อ 2) เปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเครื่องมือ 30, 50 และ 100 คน และ 3) เปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีระยะเวลาในการวัดซ้ำที่ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,400 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ฉบับ 15 ข้อ ฉบับ 30 ข้อ และฉบับ 54 ข้อ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการนำคะแนนจากการทำแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย มาคำนวณเป็นค่าความเหลื่อมของความแปรปรวน ด้วยสูตรการหาค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนของ Smith et al. (2000) ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1. ค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีความยาว 15 ข้อ และ 30 ข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับความยาว 54 ข้อ พบว่าค่า VO ระหว่างแบบวัดฉบับ 15 ข้อ กับฉบับ 54 ข้อ สูงกว่าแบบวัดฉบับ 30 ข้อ กับฉบับ 54 ข้อ (M[subscript VO15-54] = 575, M[subscript VO30-54] = 0.559) 2. ค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทดลองเครื่องมือ 30, 50 และ 100 คน พบว่าค่า VO ของการวัดด้วยขนาดกลุ่มอย่างจำนวน 30 คนมีค่าสูงที่สุด รองลงมาคือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน และต่ำที่สุดคือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน (M[subscript VO30s] = 0.829, M[subscript VO50s] = 0.496, M[subscript VO100s] = 0.445) 3. ค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีระยะเวลาในการวัดซ้ำที่ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ พบว่าค่า VO ของการวัดซ้ำที่ 2 สัปดาห์มีค่าสูงกว่า 4 สัปดาห์ (M[subscript VO2w] = 0.739, M[subscript VO4w] = 0.362)
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to compare the variance overlap (VO) in Thai Mental Health Indicator (TMHI) caused by different test lengths between short forms; 15 items and 30 items to long form; 54 items 2) to compare the variance overlap in Thai Mental Health Indicator caused by different pilot study sample sizes among 30, 50 and 100 people and 3) to compare the variance overlap in Thai Mental Health Indicator caused by different test-retest intervals between 2 weeks and 4 weeks. The sample consisted of 1,400 high school students. The research instruments were 3 Thai Mental Health Indicator that different test lengths, 15 items, 30 items and 54 items. The data from the Thai Mental Health Indicator were conducted VO estimates via Smith et al. (2000) ’s variance overlap formula. The research results were as follow; 1. The variance overlap of Thai Mental Health Indicator caused by different test lengths between short forms; 15 items and 30 items to long form; 54 items found that the mean of VO from TMHI-15 that overlap with TMHI-54 was higher than mean of VO from the TMHI-30 that overlap with TMHI-54. (M[subscript VO15-54] = 575, M[subscript VO30-54] = 0.559) 2. The variance overlap of Thai Mental Health Indicator caused by different pilot study sample sizes among 30, 50 and 100 people found that the VO of 30 people was the highest, the second was the VO of 50 people and the lowest was the VO of 100 people. (M[subscript VO30s] = 0.829, M[subscript VO50s] = 0.496, M[subscript VO100s] = 0.445) 3. The variance overlap of Thai Mental Health Indicator caused by different test-retest intervals between 2 weeks and 4 weeks found that the VO of test-retest intervals at 2 weeks was higher than 4 weeks. (M[subscript VO2w] = 0.739, M[subscript VO4w] = 0.362).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22711
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.958
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.958
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saowanit_ki.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.