Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22754
Title: การย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์โดยกิ้งกือตัวแบน (Polydesmus spp.)
Other Titles: Decomposition of organic solid waste by flat back millipedes (Polydesmus spp.)
Authors: ออมสิน อภิจิต
Advisors: ไพรัช สายเชื้อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย๑ บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เศษวัสดุอินทรีย์ 3 ชนิดที่ใช้ทดลองการย่อยสลายโดยกิ้งกือตัวแบน ได้แก่ ใบหูกวาง ใบจามจุรี และกระดาษชำระ การทดลองประกอบด้วยสองชุดการทดลองที่ต่างกันคือ ชุดที่หนึ่งไม่มีทรายรองพื้นกล่องทดลอง และชุดที่สองมีทรายรองพื้นกล่องทดลอง ผลการศึกษาของชุดที่หนึ่งพบกว่า อัตราน้ำหนักลดของวัสดุอินทรีย์ที่ใช้ทดลองทั้ง 3 ชนิด เท่ากับ 2.80, 2.44 และ 7.60 กรัม/2 เดือน/30 ตัว ตามลำดับ ส่วนของชุดที่สอง อัตราน้ำหนักลดเท่ากับ 5.76, 4.62 และ 7.56 กรัม/2 เดือน/30 ตัว ตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจนรวม และโปแตสเซียม ในทราย ภายหลังเสร็จการทดลองปรากฎว่ามีอินทรีย์คาร์บอนในทรายเพิ่มขึ้นเป็น 460, 710 และ 630 มก/100 กรัม ของทราย สำหรับชุดทดลองใบหูกวาง ใบจามจุรี และกระดาษชำระ ตามลำดับ และปริมาณไนโตรเจนรวมในทรายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน คือเท่ากับ 2.52, 1.50 และ 2.31 มก/100 กรัม ของทราย สำหรับวัสดุอินทรีย์ทั้งสามชนิดตามลำดับ ส่วนปริมาณโปแตสเซียมในทรายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มค่อนข้างน้อย คือ ประมาณ 0.014 เปอร์เซนต์ เท่า ๆ กันสำหรับชุดทดลองของวัสดุอินทรีย์ทั้ง 3 ชนิด จากการศึกษาครั้งนี้ยังได้ทดลองเกี่ยวกับระดับอุณหภูมิ และปริมาณน้ำในทรายที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกิ้งกือตัวแบนในห้องปฏิบัติการด้วย อุณหภูมิ คือ 23-27°ซ และปริมาณน้ำในทรายเท่ากับ 8-10 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: Three kinds of organic solid waste; bengal almond leave (Terminalia catappa Linn.), rain tree leave (Samanea saman (Jacq.) Merr.) and tissue-paper were used as Decomposing material of flat-back millipede (Polydesmida). The experiment included two different treatments were the first, plastic rearing container without sand substrate and the second, plastic rearing container withsand substrate. Results of the first treatment shown weight reduction rate of three kinds of organic solid waste test were 2.80, 2.44 and 7.60 g/2 monts/ 30 millipeds, respectively and of the second treatment were 5.76, 4.62 and 7.56 g/2 months/30 millipeds, respectively. Quantitative analysis of nutrient sources in sand at the end of the experiment of three kinds of organic solid waste test were found that the increasing of organic carbon were 460, 720 and 630 mg/100 g sand, and of total nitrogen were 2.52, 1.50 and 2.31 mg/100 g sand, respectively, and also found the potassium more or less increasing equally in three kinds of organic solid waste test to be around 0.014%. From this study was also found that the optimum temperature and water content in sand for rearing milliped in laboratory condition were 23-27℃ and 8-10%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22754
ISBN: 9745666769
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
omsin_ap_front.pdf346.83 kBAdobe PDFView/Open
omsin_ap_ch1.pdf417.54 kBAdobe PDFView/Open
omsin_ap_ch2.pdf369.29 kBAdobe PDFView/Open
omsin_ap_ch3.pdf733.21 kBAdobe PDFView/Open
omsin_ap_ch4.pdf500.11 kBAdobe PDFView/Open
omsin_ap_ch5.pdf262.18 kBAdobe PDFView/Open
omsin_ap_back.pdf890 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.