Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22776
Title: ขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นของไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484-2488)
Other Titles: The Thai anti-Japanese movement during world war II (1941-1945)
Authors: อัญชลี สุขดี
Advisors: ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) เป็นช่วงเวลาสำคัญช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เพราะเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นในการทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งนี้เป็นผลมาจากประเทศไทยซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในระยะนั้น (พ.ศ.2481-2487) ยินยอมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการบุกเข้าดินแดนอาณานิคมของอังกฤษคือพม่าและอินเดีย และต่อมาในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ก็ได้เข้าร่วมเป็นฝ่ายญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ด้วยการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทั้งที่แต่เดิมเคยประกาศวางตัวเป็นกลางในสงคราม การดำเนินนโยบายเข้าร่วมกับญี่ปุ่นก่อให้เกิดภาวะความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศอย่างมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และวัฒนธรรม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและไม่พอใจต่อสภาพการณ์และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลจนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศเพื่อต่อต้านภาวะเช่นว่านั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึง การเคลื่อนไหวต่อต้านของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาทั้งในแง่ของการก่อกำเนิด การเคลื่อนไหวดำเนินการและผลของการปฏิบัติดังกล่าวที่มีต่อประเทศภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง จากการศึกษาพบว่า เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายร่วมมือกับญี่ปุ่นทั้งก่อนหน้าและภายหลังการประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น ได้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านการดำเนินนโยบายดังกล่าวทั้งภายนอกประเทศและภายในประเทศ การเคลื่อนไหวภายนอกประเทศนั้น ในสหรัฐอเมริกาคนไทยได้รวมกันจัดตั้ง “คนไทยอิสระ” ขึ้นเมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยมี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นผู้นำ การเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทั้งทางด้านอาวุธและความช่วยเหลือในการฝึกอาวุธ ส่วนในอังกฤษเนื่องจากอังกฤษถือว่าไทยเป็นประเทศคู่สงคราม ประกอบกับอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไม่ได้ตั้งองค์กรที่จะเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบายของรัฐบาลแต่อย่างใด คนไทยในอังกฤษจึงไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นองค์การอิสระที่จะดำเนินการเคลื่อนไหว แต่ก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพอังกฤษโดยมุ่งหวังที่จะร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศ กลุ่มคนไทยในคณะไทยอิสระและในกองทัพอังกฤษต่างได้รับการฝึกฝนด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเพื่อส่งตัวเข้ามาปฏิบัติการภายในประเทศในการประสานงานติดต่อภายนอกประเทศกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะที่คนไทยภายนอกประเทศดำเนินการเคลื่อนไหวโดยได้รับการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่นั้น ภายในประเทศเองก็มีการเคลื่อนไหวของบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ทั้งจากฝ่ายพลเรือน ทหาร ตำรวจ และประชาชน ซึ่งในระยะเริ่มแรกการดำเนินการเป็นไปอย่างกระจัดกระจายภายหลังจึงรวมกันอย่างหลวม ๆ โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พ.ศ. 2485-2488) เป็นผู้นำกลุ่มต่อต้านภายในประเทศนี้ได้พยายามติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการส่งตัวแทนชุดต่าง ๆ ลักลอบเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อขอความสนับสนุนในการออกไปจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น แม้การจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นจะไม่ประสบผลสำเร็จเพราะฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ให้ความสนับสนุน แต่ผลของการติดต่อก็ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับทราบยอมรับการเคลื่อนไหวต่อต้ายญี่ปุ่นของกลุ่มบุคคลในประเทศ และช่วยให้กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศร่วมมือประสานงานกัน การร่วมมือกันของฝ่ายต่อต้านทั้ง 2 ฝ่ายนี้เองจึงก่อให้เกิด “ขบวนการเสรีไทย” ขึ้นในระยะต่อมาการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลภายในประเทศจึงเป็นการเคลื่อนไหวเตรียมการตามแผนทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำหนดขึ้นในการทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่นภายในประเทศไทย แต่ในที่สุดการลุกขึ้นต่อสู่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้เกิดขึ้นตามแผนการที่วางเอาไว้ เพราะญี่ปุ่นแพ้สงครามเสียก่อน การเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นทำจากภายในและภายนอกประเทศ โดยประสานงานร่วมมือตามแผนการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาส่งผลสำคัญต่อประเทศไทยภายหลังสงครามไม่น้อย เพราะกรณีนี้มีส่วนช่วยให้สถานะของผู้แพ้สงครามโดยสมบูรณ์ ซึ่งควรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นเดียวกับญี่ปุ่น แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้รับการปฏิบัติในขณะประเทศผู้แพ้สงครามอย่างสมบูรณ์เหมือนกับประเทศฝ่ายอักษะอื่น ๆ ที่ได้รับจากฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งที่ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรก็ตาม อย่างไรก็ดีถ้าพิจารณาอีกแง่มุมหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ในช่วงระยะเวลานี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนของการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย
Other Abstract: The period of World War II was one of the most important time in Thai history. It had seen Thailand and Japan jointly fought against the Allied. In December 1941, General P. Pibulsongkram, the Premier, allowed Japanese army to en-rout to Burma and India, the British colonies. On January 25, 1942, The Kingdom completely sided with Japan by declaring war against the United States and Britain, regardless of the previous declanation of neutuality. The participation in the War greatly affected the nation economically, politically and culturally. The expression of dissatisfaction to the the situation and the Government policy from certain groups of people was obviously see. Various movement of several groups both within and outside the country had been actively organized to counteract the government decision. The purpose of this study is to investigate such counter-actions with emphasis on their establishment, movement and impact on situation after the War. It was revealed that such countered-activities has been organized prior to the Kingdom’s declaration of war. They began when it was clear that General Pibulsongkram’s policy was in favor of cooperating with Japan. Concerning and important movement outside the Kingdom, the Thais in the United States set up “The Free Thai” on December 12, 1941 with M.R. Seni Pramoj. former Thai Ambassador to Washington D.C., as the leader. The activities were fully supported by the US government both in terms of war supplies and training of personnels. On the contrary, there was no such movement in Britain. Since the British government regarded Thailand as her war opponent and the Thai Ambassador to London did not organized and countered reaction, the Thais in Britain were enlisted in the British Army to show that they were with the Allied. The Thai both in the Free Thai group and the British Army received valuable training both on war strategy and warfare so that they could be sent back to the Kingdom and worked cooperatively with the Allied. At the same time, there was a locely organized movement in the country headed by Preedee Panomyong, the Royal Governant (1942 – 1946) The movement was participated by civil servants, soldiers, polices and ordinary people. This group had consistently attempted to contact the Allied. Several secret missions were sent out to request some support for the establishment of government the exile. Even though the organization of government in exile was not successful, due to lack of support, the Allied finally accepted such anti-Japan movement in the Kingdom and the coordinated movement of both outside and within the country was conceived. Such coordination gave birth to the “Seri-Thai” movement in the country. Its activity was largely concerned some preparation according to strategy laid down by the Allied. The planned countered reaction was not finally implemented because the Japanese Government surrendered prior to the date of the implementation. The coordinated anti-Japanese movement of the groups within and outside the country following the Allied’s war plan, especially the US’s tremendeously affected the Kindom’s position after the War. The Kingdom’s status was exempted from being the war-loser countries such as Japan and the Axis even Thailand had earlier declared war with the Allied. The Kingdom was treated totally different from Japan and the Axis. However, on the other side of the coin, it could be stated that such treatment had clearly originated profound influence of the United State upon the Kingdom of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22776
ISBN: 9745607738
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anchalee_sa_front.pdf638.44 kBAdobe PDFView/Open
Anchalee_Sa_ch1.pdf714.19 kBAdobe PDFView/Open
anchalee_sa_ch2.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
anchalee_sa_ch3.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
anchalee_sa_ch4.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
anchalee_sa_back.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.