Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23331
Title: พฤติกรรมการหลุดแยกของทองแดงจากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จากการลดขนาดด้วยเครื่องย่อยแบบลูกกลิ้งฟันเลื่อยและเครื่องบดแบบแท่งโลหะ
Other Titles: Behavior of copper liberation from printed circuit boards (PCBS) using groove teeth roll crusher and rod mill
Authors: ชรัช ฉวีบุญยาศิลป์
Advisors: ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Quanchai.L@Chula.ac.th
Subjects: ขยะอิเล็กทรอนิกส์ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
วงจรพิมพ์
ทองแดง
การแยก (เทคโนโลยี)
Electronic waste -- Recycling
Printed circuits
Copper
Separation ‪(Technology)‬
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การรีไซเคิลโลหะมีค่าจากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ถือว่าเป็นขั้นตอนที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการในคัดแยกแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์คือ ขั้นตอนการลดขนาด โดยทั่วไปเครื่องมือที่นำมาใช้ในการลดขนาดซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์คือ เครื่องย่อยแบบค้อนเหวี่ยงและเครื่องย่อยพลาสติก ซึ่งไม่ได้ออกแบบมาสำหรับซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างเฉพาะเจาะจง ที่มีลักษณะมิติความกว้างยาวมากกว่าความหนามากและมีความอ่อนเหนียว อีกทั้งยังมีแผ่นทองแดงเคลือบอยู่ที่ผิวอีกด้วย จึงมีการออกแบบเครื่องย่อยชนิดใหม่คือ เครื่องย่อยแบบลูกกลิ้งฟันเลื่อย ซึ่งอาศัยหลักการใช้แรงตัดแบบเฉือน เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการลดขนาดซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาถึงการลดขนาดโดยเครื่องย่อยแบบลูกกลิ้งฟันเลื่อย ร่วมกับเครื่องบดแบบแท่งโลหะ ซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะถูกย่อยโดยเครื่องย่อยแบบลูกกลิ้งฟันเลื่อยสองตัว ที่มีระยะห่างของฟันเลื่อยที่แตกต่างกันที่ 4 และ 3 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากนั้นนำเข้าสู่เครื่องบดแบบแท่งโลหะโดยใช้เวลาในการบดที่แตกต่างกัน ในแต่ละขั้นตอนการลดขนาด จะศึกษาพฤติกรรมการหลุดแยกของทองแดงโดยใช้วิธีการนับเม็ดเพื่อหาเปอร์เซ็นต์การหลุดแยกของทองแดง การกระจายตัวของขนาดหลังการลดขนาดจะถูกวิเคราะห์โดยใช้ตะแกรงมาตรฐานและรูปร่าง ลักษณะหลังการบด ศึกษาโดยใช้การส่องกล้องจุลทรรศน์ และพฤติกรรมของกระบวนการลดขนาดจะศึกษาโดยใช้ฟังก์ชั่นการแตกหัก ซึ่งจากการทดลองพบว่า การกระจายตัวของขนาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พฤติกรรมการหลุดแยกของทองแดงจะอยู่ในช่วงขนาด 504-1001 ไมครอน และผลที่ได้จากการคำนวณฟังก์ชั่นการแตกหักพบว่ามีแนวโน้มที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการทดลอง
Other Abstract: In recycling of valuable metals from printed circuit boards (PCBs) waste, comminution is the key step to determine the efficiency of separation. Comminution of PCBs is normally performed using equipments such as hammer mill and shredder that were not designed to comminute PCB specifically. Due to the fact, PCBs that consist of copper sheet rolled on, are flat and ductile, new crusher equipment, “Groove Teeth roll crusher” based on shear force, was used to improve the efficiency of size reduction. In this research, the Groove teeth roll crusher together with rod mill comminution was investigated. In the first step, PCB wastes were crushed by Groove Teeth roll crushers on difference teeth width between 3 mm. and 4 mm., and a rod mill, with varying of grinding time. The behaviors of copper liberation were investigated on each step of comminution, the particle size distribution of crushed PCB wastes were prepared by sieve analysis method. The degree of copper liberation was determined using grain-counting method and the shapes of crushed PCB were investigated by optical microscope for each size range. The behavior of comminution process was considered in term of the breakage function. From the results, the behavior of copper liberation was shown in size range 504-1001 micron and the distribution curves with crushing by Groove Teeth roll crusher were quite smooth. The breakage function trended to the results of experiment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23331
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.993
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.993
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charat_ch.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.