Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23371
Title: ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
Other Titles: Authorities, duties and liabilities of the official receiver
Authors: ชูชาติ ศิรินิล
Advisors: มุรธา วัฒนะชีวะกุล
ชลอ ว่องวัฒนาภิกุล
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม กฎหมายล้มละลายเป็นมาตรการที่ช่วยผ่อนคลายความเคร่งครัดของกระบวนการบังคับชำระหนี้ในทางแพ่ง เป็นประโยชน์ต่อบุคคลทุกฝ่ายและต่อเศรษฐกิจของรัฐโดยส่วนรวม ด้วยเหตุที่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์เช่นนั้น ทำให้งานการบังคับคดีล้มละลายมีขอบเขตกว้างขวางกว่าการบังคับคดีแพ่งทั่วๆไป จำเป็นต้องอาศัยบุคคลผู้มีความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษเข้ามาปฏิบัติงานดังกล่าว ภายในขอบเขตแห่งอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบอันเหมาะสม นับตั้งแต่ประเทศไทยได้จัดทำกฎหมายล้มละลายตามแบบอย่างของอารยประเทศขึ้นใช้บังคับ และได้มีการปรับปรุงงานการบังคับคดีล้มละลายมาโดยลำดับ จนถึงปัจจุบันนี้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร ถ้ามองโดยภาพรวม ๆ แล้วจะเห็นว่า อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติล้มละลายฉบับต่าง ๆ ค่อนข้างจะมีเนื้อหาหรือขอบเขตกว้างขวางมากอยู่ เมื่อได้ศึกษากฎหมายล้มละลายของต่างประเทศแล้วพบว่า ขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรซึ่งมีหน้าที่บังคับคดีล้มละลายของประเทศที่นำมาเป็นหลักในการเปรียบเทียบมีความเหมาะสมมากกว่า กล่าวคือกฎหมายของประเทศเหล่านั้นมีการจัดองค์กรที่หลากหลาย งานการบังคับคดีล้มละลายจึงมิได้ตกหนักแก่องค์กรหนึ่งองค์กรใดโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ในกฎหมายล้มละลายของอังกฤษ Official receiver มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของลูกหนี้ และกระทำการในฐานะ Trustee ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง Trustee ขึ้น นอกจากนั้นยังมี Board of Trade เข้ามาควบคุมดูแล ตลอดจนวางแนวทางในการปฏิบัติงานทำให้ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ขององค์กรซึ่งทำหน้าที่บังคับคดีล้มละลายมีความแน่นอนชัดเจน และมิได้ตกหนักแก่องค์กรหนึ่งองค์กรใดจนเกิดเลยขีดขั้นความสามารถ กฎหมายล้มละลายของฝรั่งเศสซึ่งเป็นกฎหมายล้มละลายที่แตกต่างไปอีกระบบหนึ่งก็มีการจัดองค์กรที่หลากหลาย เช่นเดียวกัน ในลักษณะเช่นนี้จึงแตกต่างกับกฎหมายล้มละลายของไทยที่จัดตั้งหน่วยงานขึ้นทำหน้าที่บังคับคดีล้มละลายแต่เพียงองค์กรเดียวโดยเฉพาะ คือ องค์กรพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งงานในหน้าที่มีปริมาณมากจนล้นมือ ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ความสำคัญแต่เฉพาะงานที่เป็นเนื้อแท้ของการบังคับคดีล้มละลาย ไม่เปิดโอกาสให้มีการปฏิบัติอย่างทั่วถึง รวมทั้งไม่เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไป พิจารณาในรายละเอียด ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในบางเรื่องบางประการก็ยังคงคับแคบอยู่ เช่นในเรื่องการดำเนินธุรกิจ หรือกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 22 (1) และมาตรา 120 นั้น จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นการ จัดการให้ธุรกิจหรือกิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป ถ้าเสร็จสิ้นลงแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดูจะไม่มีอำนาจริเริ่มดำเนินการใดๆขึ้นใหม่ ถึงแม้จะมีเหตุผลแห่งความจำเป็นเพื่อบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หรือเพื่อประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายก็ตามที หรือเช่นในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นไปในทางสอบสวนและทำความเห็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งคำขอรับชำระหนี้อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดเป็นของศาล ถ้าจะขยายขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกไป ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสั่งคำขอรับชำระหนี้ด้วย ดังนี้ ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รวบรัดยิ่งขึ้น ทั้งเป็นการแบ่งเบาภาระของศาลและเป็นทางทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบในการสั่งคำขอรับชำระหนี้ทุกรายไป แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงมาตรการในการควบคุมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีความรัดกุมเพียงพอด้วย อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกส่วนหนึ่งนั้นถึงแม้จะไม่มีปัญหาในเรื่องความบกพร่องของเนื้อหาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่ก็เกิดเป็นปัญหาข้อขัดข้องขึ้นในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เช่นในเรื่องที่ลูกหนี้กระทำการเกี่ยวข้องกับกิจการและทรัพย์สินของตนอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 24 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำนั้นเสียก่อน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 114, 115 ซึ่งเห็นว่า เป็นทางปฏิบัติที่ยังคลาดเคลื่อนอยู่ ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์ในมาตรา 114, 115 เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลสมบูรณ์เพียงแต่กฎหมายอนุญาตให้เพิกถอนเสียได้เท่านั้น ส่วนการกระทำของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 24 เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามหลักทั่วไปอยู่แล้ว หรือเช่นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนความผิดอาญาเกี่ยวกับการล้มละลายด้วยนั้น จะเห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวในทางปฏิบัติที่เป็นจริงเลย ทำให้มีผู้ฝ่าฝืนกระทำความผิดอยู่เสมอๆ อันเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการบังคับคดีล้มละลายอย่างยิ่ง นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วเนื้อหาพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เกี่ยวด้วยอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกจำนวนไม่น้อย ก็มีปัญหาการตีความกฎหมายอยู่ทั้งนี้สืบเนื่องจากว่าปัญหากฎหมายล้มละลายเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน แตกต่างไปจากปัญหาความสัมพันธ์ในทางแพ่งทั่วๆไป ทั้งมิได้มีการวิเคราะห์วิจัยกันอย่างจริงจัง จึงก่อให้เกิดความคิดเห็นแตกแยกมากมาย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด ในส่วนที่ว่าด้วยความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พระราชบัญญัติล้มละลายกำหนดหลักเกณฑ์ความรับผิดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขึ้นเป็นพิเศษ ยกเว้นหลักทั่วไปในเรื่องละเมิด กล่าวคือ ในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับ ผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้าย หรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จะเห็นว่าเป็นการควบคุมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่หย่อนลงไปอีกระดับหนึ่ง จึงต้องวิเคราะห์วิจัยกันอย่างรอบคอบมิฉะนั้นแล้วจะเป็นช่องทางทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะผลักดันให้การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายประสบความสำเร็จ บรรลุผลสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย โดยได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตลอดจนเนื้อหาบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อันเป็นส่วนสาระสำคัญ ผลจากการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบทำให้ได้แนวความคิดเพื่อการเสริมสร้างงานการบังคับคดีล้มละลายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อเสนอทางด้านการจัดองค์กร และการบริหารงานภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการล้มละลายซึ่งพบว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย และอีกด้านหนึ่งเป็นข้อเสนอในการปรับปรุง และตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันมีส่วนเกี่ยวข้อง
Other Abstract: In the free enterprise economic system, bankruptcy law is one of the measures which helps to ease the harshness of the enforcement process of the performance of obligation in civil matters. It is considered as being more helpful both to the parties concerned and the society as a whole. With such an objective behind the legislation, the enforcement of the judgement in bankruptcy cases is in a greater scope than the ordinary civil cases. Therefore it is necessary to employ more knowledgeable and specialized personnel to perform the duties and responsibilities prescribed by law efficiently. Since Thailand has promulgated bankruptcy laws as other civilized nations did, it has kept improving the procedure for the enforcement of judgements from time to time. However, it is found that the scope of the authority of the official receiver is not in a satisfactory condition. On the whole, the authority and the duty of the offic1al receiver as shown in the various bankruptcy acts may seen to be too froad, but when studied in comparison with the major foreign bankruptcy laws, it is found that the foreign laws are in a more satisfactory condition, especially because they have more organizational departments, so the administration of bankruptcy cases falls on one particular department. In English bankruptcy law, for example, the official receiver has certain authority over the debtor’s conduct, and acts as an interim trustee until a trustee is appointed. In addition, the Board of Trade also has control of the trustee and sets guidelines for his performance with such procedures, the scope of the duties and powers of the trustee are more clearly provided for and concrete, and the duties are evenly distributed among the various units set up by the bankruptcy acts. As a consequence, there is no unit which is overburdened with the whole judgement enforcement proceeding. The French bankruptcy law also provides for serveral units in the judgement enforcement proceeding, as does the English bankruptcy law. At this juncture, Thailand is different in that it sets up only one department to handle the whole enforcement proceeding, i.e. the Office of the Official Receiver. It, therefore, gives attention only to the enforcement of judgement without improving its functioning more effectively. If we elaborate on the scope of the powers of the official receiver, we will find that they are too narrow in certain areas, such as the power to carry on the debtors business in accordance with section 22 (1) and section 120 we will find that such power is for winding up the debtor’s business only. The official receiver does not have the power to initiate any new measures to minimize any loss should it arise. Another example as to the limitation of the official receiver’s power can be seen in the case of the creditor’s application for the recovery of the debt, the official receiver can only make the investigation and state his opinion on the creditor’s application only. He does not have any power to make decision on the application. Such power is vested in the court, and lf it can be extended to the official receiver, the proceeding for the application of the recovery of the debt can be adjudged more quickly. The delegation of such power to the official receiver will not only place more responsibility on him, but also enable him to perform his duty more cautiously because he has to be liable for his order for the application for recovery of the debt. However, there must be some strict measures to supervise the official receiver. Another area of the power of the official receiver, which is found to be inadequate in practice, though not in substance is the acts of the debtor in relation to his business and property in contravention to section 24, eventhough the official receiver may request the court to revoke such acts in accordance with the rules set in sect1on 114 and 115. However, the transfer of ownership or any action involving the property of the debtor are legally valid in spite of the fact that the acts of the debtor are clearly prohibited by section 24, which renders the transactions void. As to the power of the official receiver to conduct an inquiry when acting as an inquiry official for any criminal charges against the bankruptcy acts, we can see that in practice such power has never been employed. Thus bankruptcy law is frequently violated which renders the enforcement of judgements in bankruptcy cases unsatisfactory. Besides what has been mentioned, certain powers of the official receiver in the Bankruptcy Act B.E. 2483 are interpreted differently. It may be because the nature of the bankruptcy law is complicated and is different from civil cases in general. Moreover, the problem in bankruptcy law has not been seriously analysed, therefore, it creates disagreement in the interpretation of the law which is unfavorable to the performance of the official receiver. As to the liability of the official receiver, the bankruptcy act has specifically provided for excemption of the official receiver from liability in tort law. The official receiver is not personally liable for any damages incurred from the performance of his duties unless he has done it with malice or he is grossly negligent. We can see that his liability is less than the general standard of conduct and it may cause injury to the parties concerned. This problem has to be carefully analysed. This thesis is an elaborate study and an endeavor to push the enforcement of bankruptcy law to that end. The thesis has delved in to the problems and obstacles in the performance the duties and responsibilities of the official receiver including the subject matter of the bankruptcy law regarding the authorities, duties and responsibilities thereof. As a result of such study in comparison with foreign law, new idea has been found to improve the enforcement of judgement in bankruptcy case more efficiently and with better results. It also contains a proposal for the reorganization of management within the Bankruptcy Act where it is found that there are deficiencies in relation to the scope of the authorities, duties and responsibilities of the official receiver. In addition proposals for the improvement and interpretation of the related legislation have also been provided.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23371
ISBN: 9745646059
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chuchart_Si_front.pdf560.71 kBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_ch2.pdf731.2 kBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_ch3.pdf749.94 kBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_ch4.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_ch5.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_ch6.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Chuchart_Si_back.pdf276.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.