Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23533
Title: การเปรียบเทียบความคาดหวังของครู ครูใหญ่และศึกษานิเทศก์ที่มีต่อประสิทธิภาพ ของหลักสูตรประโยคประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ
Other Titles: A comparison of teachers; principals' and supervisors' expectation on the effectiveness of the 1978 primary school curriculum in works education
Authors: มลิวัลย์ ลับไพรี
Advisors: ทิศนา แขมมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ -- หลักสูตร
ครู
ครูใหญ่
ศึกษานิเทศก์
Education, Elementary -- Curricula
Teachers
School principals
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังของครู ครูใหญ่และศึกษานิเทศก์ ที่มีต่อประสิทธิภาพของหลักสูตรประโยคประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร 2521 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ พ.ศ. 2521 ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating-Scale) และได้รับการทดลองปรับปรุงจนเป็นที่พอใจ แบบสอบถามนี้จัดแยกหัวข้อการวิเคราะห์ออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดจุดประสงค์การเรียนรู้และการประเมินผล หมวดความคิดรวบยอดหรือหลักการ และหมวดเนื้อหาและกิจกรรม ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปใช้กับครู 46 คน ครูใหญ่ 22 คน และศึกษานิเทศก์ 19 คน ปรากฏว่าเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนได้เป็นจำนวน 84 ชุด คิดเป็นร้อยละ 97 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในด้านจุดประสงค์การเรียนรู้และการประเมินผล ครูใหญ่ และศึกษานิเทศก์ มีความเห็นตรงกันว่า จุดประสงค์ของหลักสูตร 2521 มีความชัดเจนดีอยู่แล้วพอสมควร และเป็นจุดประสงค์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งสิ้น และส่วนใหญ่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน ครูสามารถนำไปสอนได้โดยไม่ยากนัก และนักเรียนสามารถทำได้ตามจุดมุ่งหมาย ครูสามารถติดตามและวัดผลการเรียนได้มากพอสมควร มีเพียงส่วนน้อยที่ครู ครูใหญ่ และศึกษานิเทศก์เห็นว่า ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีและเหมาะสมขึ้น ในด้านความคิดรวบยอดหรือหลักการ ครู ครูใหญ่ และศึกษานิเทศก์ มีความเห็นตรงกันว่าความคิดรวบยอดหรือหลักการ 2521 มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมาก รวมทั้งมีความสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาทางการเรียนและทางสังคมของผู้เรียน ทั้งช่วยให้ครูไม่เกิดความแตกแยก ทำให้การสอนง่ายขึ้นและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม ความคิดรวบยอดหรือหลักการนี้ยังข้อบกพร่องอยู่บ้างและครูยังขาดความเข้าใจ และต้องการคำแนะนำช่วยเหลือมากในด้านเนื้อหาและกิจกรรมนั้น ครู ครูใหญ่และศึกษานิเทศก์ มีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาและกิจกรรมมีความเหมาะสมในด้านจำนวน ส่วนความจำเป็นสำหรับผู้เรียนความสนใจของผู้เรียน ความยากง่ายในการจัดกิจกรรมและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและปานกลาง มีเนื้อหาและกิจกรรมที่สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเป็นอย่างมากคือเรื่อง การใช้โทรศัพท์ ข้อเสนอแนะ ผู้พัฒนาและประเมินผลปรับปรุงหลักสูตร 2521 ควรศึกษาข้อมูลจากการวิจัยนี้ในรายละเอียด และนำผลการวิจัยไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร 2521 ให้ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น
Other Abstract: To compare the teachers', principals' and supervisors' expectation on the effectiveness of the 1978 Primary School Curriculum in Works Education, in order to improve the 1978 Curriculum. The in-strument used in this study was a set of questionnaires which had been constructed, tested, and improved by the researcher. This set of questionnaires was divided into three parts; the objectives and evaluation, the learning concepts and, the contents and activities. The improved questionnaire was being used with 46 teachers, 22 principals and 19 supervisors. The data from the ninety-seven percents of questionnaires were collected and analyzed by Mean and standard Deviation. About Objectives and Evaluation in the curriculum, teachers, principals and supervisors agreed that they were already clean well-stated, and useful to the learners. Besides, most of the objectives suited the learners' interests and could be mostly achieved by them. Moreover, the teachers could organize and evaluate the learning activities without much difficulty. According to the opinions of teachers, prin¬cipals, and supervisors, there were only few items that needed to be improved. About learning Concepts in the curriculum, teachers, principals and supervisors agreed that they were very important and useful to the learners. These learning concepts suited well with the school philosophy and were able to help develop and improve the students' social development and learning achieve¬ment. Moreover, these concepts help teachers get same idea in the teaching and make teaching easier and direct to the object¬ives. However, these learning concepts still needed some improvement as the data indicated that most teachers still felt unsure about their understanding and more help was asked for. About Concepts and Activities, teachers, principals, and supervisors agreed that all of them were necessary, useful to the learners, and suit the learners' interests. The quantity of the contents was proper and the organization of the activities was not too hard to do.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23533
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maliwan_Lu_front.pdf535.74 kBAdobe PDFView/Open
Maliwan_Lu_ch1.pdf644.25 kBAdobe PDFView/Open
Maliwan_Lu_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Maliwan_Lu_ch3.pdf348.14 kBAdobe PDFView/Open
Maliwan_Lu_ch4.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Maliwan_Lu_ch5.pdf615.27 kBAdobe PDFView/Open
Maliwan_Lu_back.pdf765.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.