Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23541
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการทำงาน ความเครียดในงาน ภูมิหลังกับความสามารถในการทำงาน ตามการรับรู้ของตนเอง ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between working conditions, job stress, personal background, and working abilities of professional nurses as perceived by themselves, government hospitals, Bangkok metropolis
Authors: วนิภา ว่องวัจนะ
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงาน ความเครียดในงาน ความสามารถในการทำงาน ของพยาบาลวิชาชีพ และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการทำงาน คือ สภาพการทำงาน ความเครียดในงาน ช่วงอายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน แผนกที่ทำงานและวุฒิการศึกษา ประชากรที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 357 คน ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่เวรเป็นผลัด ในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือเครื่องใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างโดยผู้วิจัยและผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิธีของเชฟเฟ่ หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลวิชาชีพ รับรู้สภาพการทำงาน ความเครียดในงาน ความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. พยาบาลวิชาชีพที่มีระดับสภาพการทำงาน สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พยาบาลวิชาชีพที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน มีสภาพการทำงาน ความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พยาบาลวิชาชีพที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน มีความเครียดในงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.พยาบาลวิชาชีพที่มีสถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน ระดับสภาพการทำงานแตกต่างกัน มีความสามารถในการทำงานเป็นรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. พยาบาลวิชาชีพที่มีระดับความเครียดในงานแตกต่างกัน มีความสามารถในการทำงานเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. สภาพการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสามารถในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .58) 8. สภาพการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ร้อยละ 41.92 (R² = 41.92)
Other Abstract: The purposes of this research were to study the Working Conditions, Job Stress, and Working Abilities of Professional nurses and to search for the variables that would be correlated and be able to predict the Working Abilities. Those variables were defined as follows : Working conditions, Job stress, age, marital Status, work experience, department of work and education level. The subject was 357 staff nurses working rotated shift in government hospitals, Bangkok Metropolis. The instruments developed by the investigator were the questionnaire which were validated and tested for reliability. Data was analyzed by using oneway analysis of variance, t-test, F-test Scheffe’s method. Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient, The Major finding were as follows : 1. Professional nurses perceived middle level of working conditions, job stress and working abilities. 2. Professional nurses who differed in level of working conditions, marital status, work experience perceived working abilities differently at the .05 significant level. 3. Professional nurses who differed in personal background perceived working conditions and working abilities differently at the .05 significant level. 4. There were no statistical significant difference in job stress between professional nurses who differed in personal background. 5. Professional nurses who differed in marital status, work experience, level of working conditions perceived some categories of working abilities differently at the .05 significant level. 6. Professional nurses who differed in level of job stress perceived no differences in some categories of working ability at the .05 significant level. 7. Working conditions were positively related to working abilities at the .05 significant level. (r = .58) 8. Working conditions and work experience contributed to effective predictions of working abilities at the .05 significant level which accounted for 41.92 percent (R² = .4192).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23541
ISBN: 9745180916
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanipa_wo_front.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Vanipa_wo_ch1.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open
Vanipa_wo_ch2.pdf17.61 MBAdobe PDFView/Open
Vanipa_wo_ch3.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Vanipa_wo_ch4.pdf10.82 MBAdobe PDFView/Open
Vanipa_wo_ch5.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open
Vanipa_wo_back.pdf16.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.