Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุรา ปานเจริญ-
dc.contributor.authorกีรตินาท อาจญาทา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-09T07:22:09Z-
dc.date.available2012-11-09T07:22:09Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23564-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดและการนำกลับไอออนแพลเลเดียมและไอออนดีบุกจากน้ำเสียในกระบวนการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ชนิดอ่อนด้วยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง โดยใช้ LIX 84-I เป็นสารสกัดละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ สารละลายนำกลับที่ใช้คือกรดไฮโดรคลอริก ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ ความเป็นกรด-เบสของสารละลายป้อน ชนิดของตัวทำละลายอินทรีย์ ความเข้มข้นของสารสกัด ความเข้มข้นของสารละลายนำกลับกรดไฮโดรคลอริก ผลกระทบของอุณหภูมิระบบ อัตราการไหลของสารละลายป้อนและสารละลายนำกลับ พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดและการนำกลับไอออนแพลเลเดียมและไอออนดีบุกคือ ความเป็นกรด-เบสของสารละลายป้อนเท่ากับ 3.0 สารสกัด LIX 84-I เข้มข้น 0.06 โมลต่อลิตรละลายในตัวทำละลายอินทรีย์เคโรซีน สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 6 โมลต่อลิตรเป็นสารละลายนำกลับ อุณหภูมิของระบบเท่ากับ 25 องศาเซลเซียส อัตราการไหลของสารละลายป้อนและสารละลายนำกลับเท่ากับ 100 มิลลิลิตรต่อนาที ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การสกัดและนำกลับของไอออนแพลเลเดียมสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไอออนดีบุกมีค่าเท่ากับ 16 และ 0 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ จากการคำนวณได้ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนมวลของสารละลายป้อน (k[subscript i] ) และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนมวลของเยื่อแผ่นเหลว (k[subscript m]) สำหรับไอออนแพลเลเดียมมีค่าเท่ากับ 3.11 x 10⁻³ และ 1.75 x 10⁻⁴ เซนติเมตรต่อวินาที ขั้นตอนควบคุมอัตราการถ่ายโอนมวลคือการแพร่ซึมของสาร ประกอบเชิงซ้อนแพลเลเดียมผ่านวัฏภาคเยื่อแผ่นเหลว ส่วนไอออนดีบุกค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนมวลของสารละลายป้อนและเยื่อแผ่นเหลวมีค่าเท่ากับ 5.7 x 10⁻⁵ และ 2.18 x 10⁻⁴ เซนติเมตรต่อวินาทีตามลำดับ โดยการถ่ายโอนมวลผ่านชั้นฟิล์มระหว่างสารละลายป้อนและเยื่อแผ่นเหลวเป็นขั้นตอนควบคุมอัตราการการถ่ายโอนมวล นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ได้ทำการหาค่าอันดับของปฏิกิริยา (m) โดยพบว่าอันดับของปฏิกิริยาของไอออนแพลเลเดียมและไอออนดีบุกมีค่าเท่ากับ 1 (m = 1) และได้ทำนายความเข้มข้นของไอออนโลหะในสารละลายป้อนที่เวลาต่างๆ โดยใช้แบบ จำลองทางคณิตศาสตร์พบว่าค่าความเข้มข้นของไอออนโลหะจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีค่าใกล้เคียงกับการทดลองเมื่อสารสกัด LIX 84-I มีความเข้มข้นมากกว่า 0.02 โมลต่อลิตรen
dc.description.abstractalternativeThis work investigates the recovery of palladium and stannous ions from flexible printed circuit board industrial waste via hollow fiber supported liquid membrane by using LIX 84-I dissolved in organic solution as the extractant. The hydrochloric acid was used as the stripping solution. The experiments were examined in functions of pH of feed solution, types of diluents, extractant concentration, the concentration of hydrochloric acid, system temperatures, equal flow rates of feed and stripping solutions. The optimal condition for recovery palladium and stannous ions was attained at pH of feed solution equal to 3.0 by using 0.06 M LIX 84-I dissolved in kerosene as the extractant, hydrochloric concentration in stripping solution of 6 M, system temperature of 25 OC, flow rates of feed and stripping solution are equal to 100 ml/min. The extraction percentages of palladium and stannous are 100 and 16 % and the stripping percentages are 100 and 0 %, respectively. The aqueous mass transfer coefficient (k[subscript i]) and the organic mass transfer coefficient (k[subscript m]) were determined. The mass transfer coefficients of the aqueous phase and organic for palladium ions are 3.11 x 10⁻³ and 1.75 x 10⁻⁴ cm/s, the mass transfer rate controlling step is diffusion of palladium complex through the liquid membrane. In case of stannous ions reported are 5.7 x 10⁻⁵ and 2.18 x 10⁻⁴ cm/s, the mass transfer rate controlling step is diffusion of stannous ions through the film layer between feed solution and liquid membrane. The both of palladium and stannous were determined the order of reaction (m) by used the kinetic theory, both are equal to 1.0. In addition the model predictions of palladium and stannous ions in the feed solutions at different time, were found fit well with experimental data at LIX 84-I concentration more than 0.02 M.en
dc.format.extent2223141 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1822-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสกัดด้วยสารตัวทำละลายen
dc.subjectแพลเลเดียม -- การนำกลับมาใช้ใหม่en
dc.subjectดีบุก -- การนำกลับมาใช้ใหม่en
dc.subjectไอออนen
dc.subjectอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ -- การลดปริมาณของเสียen
dc.titleการนำกลับไอออนแพลเลเดียมจากของเสียอุตสาหกรรมผ่านเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวงen
dc.title.alternativeThe recovery of palladium ion from industrial waste via hollow fiber supported liquid membraneen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUra.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1822-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
keeratinat_ar.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.