Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23631
Title: วัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลชั้นนำท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลชั้นนำจังหวัดสิงห์บุรี
Other Titles: Local elite's political culture : a case study of Sing Buri local elite
Authors: มณฑล มีอนันต์
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผู้นำ
ผู้นำชุมชน -- ไทย -- สิงห์บุรี
การเมือง
สิงห์บุรี -- การเมืองและการปกครอง
Leadership
Civic leaders -- Thailand -- Sing Buri
Sing Buri -- Politics and government
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการทราบทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลชั้นนำท้องถิ่น โดยพิจารณาเห็นว่าบุคคลกลุ่มนี้ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในชนบทอยู่มาก หากพิจารณาเอาบุคคลกลุ่มนี้ในฐานะ “สื่อวัฒนธรรม” เพื่อการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น อาจประสบความสำเร็จได้ ไม่มากก็น้อย ปัญหาสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองไทย สิ่งหนึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองสุงสุดของไทยนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในระดับเบื้องบนระหว่างชนชั้นปกครองด้วยกันเอง สามัญชนส่วนใหญ่อยู่วงนอกของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมา การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนจะต้องมีความสำนึกทางการเมืองมากจนถึงขั้นเรียกร้องอำนาจอธิปไตยให้กับตนเองแทนที่จะรอให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองหยิบยื่นอำนาจอธิปไตยให้ บุคคลชั้นนำท้องถิ่นในการวิจัยนี้ ได้เลือกเอาเฉพาะบุคคลชั้นนำของจังหวัดสิงห์บุรีเป็นประชากรในการวิจัย โดยผู้วิจัยพิจารณาตำแหน่งฐานะความมั่นคั่ง ความมีชื่อเสียงและบทบาทของบุคคลในสังคมเป็นเกณฑ์คัดเลือกบุคคลชั้นนำจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 180 คน แล้วส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดชั้นแนวทางประชาธิปไตยและอำนาจนิยมให้ทุกคนตอบ เมื่อได้ข้อมูลกลับคืนมา จึงใช้วิธีการ Likert Scale เพื่อคิดคำนวณความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลชั้นนำทั้งหมดออกมาเป็นตัวเลขว่าบุคคลชั้นนำท้องถิ่นมีวัฒนธรรมการเมืองไปในแนวทางใดระหว่างประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม แจกแจงออกเป็นตารางเทียบออกมาเป็นร้อยละ โดยวิธี Internal Consistency Test จากการวิจัยค้นพบว่า บุคคลชั้นนำท้องถิ่นส่วนใหญ่ของไทยมีวัฒนธรรมการเมืองโน้มเอียงไปในทางอำนาจนิยมมากกว่าประชาธิปไตย บุคคลชั้นนำที่มีการศึกษาสูง มีวัฒนธรรมการเมืองแบบประธิปไตยมากกว่าบุคคลชั้นนำที่มีการศึกษาต่ำ แต่มีวัฒนธรรมการเมืองแบบอำนาจนิยมน้อยกว่าบุคคลชั้นนำที่มีการศึกษาต่ำ บุคคลชั้นนำที่มีอายุมาก มีวัฒนธรรมการเมืองแบบอำนาจนิยมมากกว่าบุคคลชั้นนำที่มีอายุน้อย แต่มีวัฒนธรรมการเมืองแบบประธิปไตยน้อยกว่าบุคคลชั้นนำที่มีอายุน้อย บุคคลชั้นนำที่มีอาชีพราชการ มีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยมากกว่าบุคคลชั้นนำที่มีอาชีพไม่ได้รับราชการ แต่มีวัฒนธรรมการเมืองแบบอำนาจนิยมน้อยกว่าบุคคลชั้นนำ ที่มีอาชีพไม่ได้รับราชการ
Other Abstract: To know how local elites’ attitudes, values and political behaviors had been. It was seen that local elites had influence on local people’s idea. If local elites was considered as the ‘'carriers of the culture” the order to develop Thai local local governments, it probably would be successful.One of the main problems of Thai political system was that Thai political sovereignty had been changed at the top among Thai elites for a long time. Most of Thai people were outside of Thai political change. Democracy needs citizen’s political conciousness so mucah that they have attempt to fight for political sovereignty instead of waiting for the mercy of political elites. The research chose local elites in Singhburi province to be data. It considered ranks5 richnessร reputation and person's roles in society to be criteria to identify local elite about 180 persons, Questionaires on Democratic and Authoritarian orientation were sent to those local elites. After the data returned, Likert Scale’s method was useful for varying its into numbers. These numbers could indentify the local elites’ attitudes on Thai politic. Finally the numbers were tested internal consistency and then culculated to be percentage. The research found that most of Thai local elites had more authoritarian political culture than democracy political culture. High-educated local elites had more Democratic political culture than low-educated local elite, but have less authoritarian political culture than low-educated local elites. The local elites who were over forty years old 9 had more authoritarian political culture than those who were not over forty years. Bureucrat local elites had more democratic political culture than non-bureaucrat local elites, but less authoritarian political culture than non-bureaucrat local elites.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23631
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monthone_Me_front.pdf536.11 kBAdobe PDFView/Open
Monthone_Me_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Monthone_Me_ch2.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Monthone_Me_ch3.pdf803.59 kBAdobe PDFView/Open
Monthone_Me_ch4.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Monthone_Me_ch5.pdf623.77 kBAdobe PDFView/Open
Monthone_Me_back.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.