Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23840
Title: | ความเข้าใจข้อมูลกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์โดยการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบจินตทัศน์ |
Other Titles: | Comprehension of economic profit data using data visualization |
Authors: | ผกาแก้ว เทพสุวรรณ |
Advisors: | อรนุช สูงสว่าง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Advisor's Email: | Oranuj.So@Chula.ac.th |
Subjects: | การวัดผลงาน กำไร มูลค่า (เศรษฐศาสตร์) การนำเสนอข้อมูลแบบจินตทัศน์ Work measurement Profit Value Information visualization |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit: EP) เป็นเครื่องมือหนึ่งซึ่งใช้สำหรับการวัดผลดำเนินงาน และเพื่อจูงใจให้ผู้บริหารตัดสินใจในแนวทางที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดให้องค์กร อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่า EP ค่อนข้างซับซ้อน เพราะมาจากการปรับตัวเลขทางการบัญชีคือจากงบการเงิน จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจและการประเมิน EP งานวิจัยนี้พัฒนาการนำเสนอ EP สองรูปแบบคือ EP รูปแบบจินตทัศน์ (จินตทัศน์-EP) และ EP ในรูปแบบตาราง (ตาราง-EP) ซึ่งแสดงให้เห็นขั้นตอนการคำนวณและรายการปรับปรุงจากงบการเงินด้วยข้อมูลที่เท่ากัน การใช้สีในทำนองเดียวกัน พร้อมพัฒนาแบบสอบถามซึ่งใช้ในการสำรวจความคิดเห็น และทดสอบความเข้าใจพร้อมทั้งความสามารถในการประเมินข้อมูล EP ทั้งสองรูปแบบ โดยคาดหวังว่าจะสื่อและช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจ EP ได้ง่ายขึ้นซึ่งนำไปสู่ความสามารถประเมินข้อมูล EP ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ผลสำรวจจากการสอบถามผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 356 คน ซึ่งวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ Independent Samples Test พบว่า ในเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของ EP ผู้ตอบพอใจจินตทัศน์-EP มากกว่า ตาราง-EP ในหลายด้าน ได้แก่ (1) ทำให้เกิดความสนใจอยากเรียนรู้ (2) การรวบรวมข้อมูลไว้ด้วยกัน (3) แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล และ (4) ทำให้เข้าใจง่ายกว่า ยกเว้น (5) ด้านการประเมิน ผู้ตอบมีความคิดเห็นว่าตาราง-EP ช่วยมากกว่า จินตทัศน์-EP อย่างไรก็ตาม ในการตอบคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจและความสามารถในการประเมิน ปรากฏว่าโดยทั่วไปกลุ่มผู้ใช้จินตทัศน์-EP ตอบคำถามซึ่งแสดงถึงความเข้าใจและความสามารถในการประเมินได้ถูกต้องมากกว่ากลุ่มผู้ใช้ตาราง-EP โดยแตกต่างจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี ผู้มีประสบการณ์ทำงานด้านบัญชีและผู้ที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบ Verbal ซึ่งตอบคำถามทั้งด้านทดสอบความเข้าใจและความสามารถในการประเมิน โดยใช้ตาราง-EP ได้ถูกต้องมากกว่าใช้จินตทัศน์-EP ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยจินตทัศน์ที่ผ่านมา เรื่องการเรียนรู้งบดุล การเรียนรู้รายงานทางการเงิน ปัจจัยเสี่ยงและงบประมาณ |
Other Abstract: | Economic profit (EP) is a tool for the performance measurement which motivates executives to make decision in the way that will maximize value of a firm. However, the complication of EP calculation processes, which developed from the adjustment of accounting data-financial statement, is the obstacle of its comprehension and application. In this research both the Visualized EP and the Table EP were developed to display the calculation processes and the accounting adjustment items with the same amount of information and the same color tones. Also, the questionnaire was developed to conduct the opinion survey, the comprehension test, and the evaluation test for these two EP displays. With the expectation that these EP displays would communicate and helped the executives to comprehend the related-EP questions easier. Finally, it should lead to the enhancement of the capability to evaluate the related-EP questions. The questionnaire surveys from 356 samples with bachelor’s degree or higher were conducted. The results which were analyzed by using the Independent Samples Test showed that for the opinions of EP displays, the users preferred Visualized EP over Table EP in several aspects: (1) the interesting of the displays, (2) the collection of information, (3) the relationships of information, and (4) the ease to comprehend. The exception was that for (5) the evaluation, they thought the Table EP was more useful. However, for the comprehension test and the evaluation test, generally the samples who utilized Visualized EP could answer the EP questions more correctly. In the contrary, the groups of samples with the accounting background, the accounting work experience, and the verbal learning behavior could answer the EP questions by using Table EP more correctly. The results of this research are similar to the previous research studies of Visualized EP for - balance sheet learning, financial statement learning, budgeting, and risk factors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23840 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1876 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1876 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pakakaew_te.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.