Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23998
Title: การวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์เรื่องการเมืองและการปกครอง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2463)
Other Titles: The historical analysis of politics and administration in the reign of King Rama VI (A.D. 1910-1925)
Authors: มัทนา เกษกมล
Advisors: ชัยอนันต์ สมุทวณิช
สืบแสง พรหมบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 6
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Thailand -- History
Thailand -- Politics and government
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์ถึงสภาพการเมืองและการปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ศึกษาว่า จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครอง ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ และจัดระบบบริหารราชการให้เป็นระเบียบนั้น มิได้เป็นที่ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงดำเนินการต่อมา กล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์สถาบันทางการเมือง เพื่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนมิได้บังเกิดขึ้นนับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 การศึกษาในแนวทางดังกล่าวนี้ ได้เน้นหนักไปยังบทบาทและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นทั้งองค์พระประมุขและผู้นำทางการเมืองในขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับการศึกษาอบรมจากต่างประเทศ แม้ว่าการที่ทรงประทับศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เป็นเวลานานจะทำให้พระองค์ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดและทัศนคติของตะวันตก และได้นำแนวความคิดนี้บางอย่าง เช่นลัทธิชาตินิยม และวิถีการดำเนินชีวิตแบบตะวันตกมาปรับให้เข้ากับสภาพการของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัส และบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์เกี่ยวด้วยเรื่องดังกล่าวก็ตาม แต่ในด้านแนวพระราชดำริ บทบาท และพระบรมราโชบายทางการเมืองนั้นเห็นได้ชัดว่า พระองค์ยังคงมีความนิยมในระบอบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นอย่างมากและมิได้ทรงตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมและแนวความคิดประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งอยู่ในหมู่ปัญญาชนผู้ได้รับการศึกษาในขณะนั้น พระองค์ทรงนิยมที่จะรวมอำนาจการปกครองมาอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ การเสด็จประพาสเยี่ยมเยียนราษฎร การย้ายสังกัดตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลจากกระทรวงมหาดไทยมาขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์นั้น ล้วนแต่เป็นเครื่องสะท้อนถึงแนวพระราชดำริทางการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์ทั้งสิ้น พระราชดำริและพระบรมราโชบายเช่นนี้นับว่าแตกต่างไปจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงนิยมที่จะแบ่งปันพระราชอำนาจและภาระบางอย่างให้แก่ระบบการเมืองย่อยอันจะเป็นวิถีทางที่นำไปสู่การปกครองตนเองในที่สุด ด้วยพระราชดำริและพระบรมราโชบายที่ไม่สอดคล้องไปกับการพัฒนาและความสำนึกทางการเมืองที่ได้เกิดขึ้นในหมู่ปัญญาชนสมัยนั้น บวกกับภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ได้ทำให้กลุ่มปัญญาชนที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็นสาเหตุทำการรัฐประหารขึ้นใน พ.ศ. 2475 และได้ทำให้พระราชอำนาจอันสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์สิ้นสุดลงนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
Other Abstract: To analyze the politics and administra¬tion in the reign of King Rama VI. It is the writer'ร contention that although King Chulalongkorn had set the pace for political and administrative reforms in Siam by restructuring the aged old Ayuthya bureaucracy, this great reform was not carried out by King Vajiravudh. Political institutionalization, in real sense, did not take place under Rama VI's period while social forces continued to loom large until the Revolution of 1932. The study focuses on the role and behavior of King Vajiravudh who was simultaneously a ruling monarch and the nation1’s top poli¬tical leader. Vajiravudh was Siam's first King who was trained abroad, consequently his world view was partly influenced by western ideas and concepts. Although it is undeniable that he was also deeply interested in the Thai culture as shown in his several writ¬ings and speeches. King Vajiravudh was not unaware of the advent of western democratic sentiments among the Siamese educated elites however, he was caught between the need to meet growing demands for social change and popular participation on one hand, and, the burning desire to maintain the monarchical status quo on the other. This unresolved conflict, together with the worsening economic situations during his reign, had eventually led to the overthrowing of absolute monarchy in 1932.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23998
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mattana_Ga_front.pdf674.06 kBAdobe PDFView/Open
Mattana_Ga_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Mattana_Ga_ch2.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Mattana_Ga_ch3.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Mattana_Ga_ch4.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Mattana_Ga_back.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.