Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorมยุรี สุทธิเลิศอรุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-13T16:18:00Z-
dc.date.available2012-11-13T16:18:00Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745663336-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24002-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความมีเหตุมีผล การใฝ่รู้ การนำความรู้ไปใช้ การใช้ภาษา กิริยามารยาท รสนิยม ศาสนา การเมือง และด้านสังคม ระหว่างนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชามนุษยศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 จาก 15 คณะ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จากสาขาวิชา คณะวิชา ชั้นปี จำนวน 550 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 547 คน (99.45%) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่าแบบลิเคอร์ท ( Likert) 5 ช่วง ทั้งหมด 90 ข้อ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ สรุปผลการวิจัย 1. ผลการวิจัยเกี่ยวกับ ลักษณะสภาพ หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติจริง นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง 4 สาขาวิชา ในด้านความมีเหตุมีผล การใฝ่รู้ การนำความรู้ไปใช้ การใช้ภาษา กิริยามารยาท รสนิยม ศาสนา การเมืองและด้านสังคม ทั้ง 9 ด้านนี้ มีลักษณะ สภาพ หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติจริง ด้านกิริยามารยาทสูงที่สุด (X-bar = 3.83) ด้านศาสนาต่ำที่สุด (X-bar = 2.51) คือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (X-bar = 3.85 และ X-bar = 2.62) สาขา วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (X-bar = 3.69 และ X-bar = 2.39) สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (X-bar = 3.86 และ X-bar = 2.52) สาขาวิชามนุษยศาสตร์ (X-bar = 3.88 แล ะ X-bar = 2.43) สำหรับความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คือ ลักษณะด้านความมีเหตุมีผล มีความสำคัญต่อนิสิตมากที่สุด (X-bar = 4.37, X-bar = 4.41 และ X-bar = 4.33) แต่นิสิตสาขาวิชามนุษยศาสตร์เห็นว่า การใฝ่รู้ มีความสำคัญต่อนิสิตมากที่สุด (X-bar = 4.40) และนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชา มีความคิดเห็นตรงกันว่า ลักษณะที่มีความสำคัญต่อนิสิตน้อยที่สุดคือ ด้านรสนิยม (X-bar = 3.31) 2. ผลการวิจัยเกี่ยวกับความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ของลักษณะสภาพ หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติจริง และความคิดเห็นของนิสิตต่างสาขาวิชา ในด้านความมีเหตุมีผล การใฝ่รู้ การนำความรู้ไปใช้ การใช้ภาษา กิริยามารยาท รสนิยม ศาสนา การเมือง และสังคม มีดังนี้ 2.1 ลักษณะด้านความมีเหตุมีผล และด้านศาสนา ของนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชา ไม่แตกต่างกัน 2.2 ลักษณะด้านการใฝ่รู้ของนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ แตกต่างกับสาขาวิชาสังคมศาสตร์ โดยที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ มีลักษณะด้านการใฝ่รู้ สูงกว่าสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ส่วนสาขาอื่นๆไม่แตกต่างกัน 2.3 ลักษณะด้านการนำความรู้ไปใช้ของนิสิตทั้ง 4 สาขาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชามนุษยศาสตร์แตกต่างกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์ โดยที่สาขาวิชามนุษยศาสตร์ จะมีลักษณะด้านการนำความรู้ไปใช้สูงกว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์ 2.4 ลักษณะด้านการใช้ภาษาของนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพแตกต่างกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพแตกต่างกับสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แตกต่างกับสาขาวิชามนุษยศาสตร์ โดยที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีลักษณะด้านการใช้ภาษาต่ำกว่าทุกสาขาวิชา 2.5 ลักษณะด้านกิริยามารยาทของนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพแตกต่างกับสาขาวิชามนุษยศาสตร์ โดยที่สาขาวิชามนุษยศาสตร์ มีลักษณะด้านกิริยามารยาทสูงกว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ส่วนสาขาอื่นๆไม่แตกต่างกัน 2.6 ลักษณะด้านรสนิยมของนิสิต 4 สาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพแตกต่างกับสาขาวิชามนุษยศาสตร์ โดยที่สาขาวิชามนุษยศาสตร์มีลักษณะด้านรสนิยมสูงกว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ส่วนสาขาอื่นๆไม่แตกต่างกัน 2.7 ลักษณะด้านการเมืองของนิสิต 4 สาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า นิสิตสาขาวิชามนุษยศาสตร์แตกต่างกับสาขาวิชาสังคมศาสตร์ โดยที่สาขาวิชาสังคมศาสตร์มีลักษณะด้านการเมืองสูงกว่า สาขาวิชามนุษยศาสตร์ ส่วนสาขาอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 2.8 ลักษณะด้านการเมืองของนิสิต 4 สาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพแตกต่างกับ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสาขาวิชามนุษยศาสตร์ โดยที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพมีลักษณะด้านสังคมต่ำกว่าทุกสาขาวิชา 2.9 ความแตกต่างเกี่ยวกับความสำคัญของลักษณะนิสิตด้านต่างๆของนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชาไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการใช้ภาษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบทีละคู่พบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพแตกต่างกับ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสาขาวิชามนุษยศาสตร์ โดยที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีความคิดเห็นในเรื่องความสำคัญของลักษณะนิสิต ด้านการใช้ภาษาต่ำกว่าทุกสาขาวิชา ข้อเสนอแนะ การศึกษาลักษณะนิสิตทั้ง 9 ด้านนั้น มีค่าเฉลี่ยด้านศาสนา และการเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (X-bar = 2.51 และ X-bar = 2.71) ดังนั้นฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย ควรมีการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวกับศาสนาและการเมือง เพื่อเตรียมนิสิตให้เป็นพลเมืองดีของสังคม โดยการจัดสัมมนาหลักสูตรวิชาศาสนาสากล หรือศาสนาเปรียบเทียบ และวิชาความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ เป็นวิชาบังคับสำหรับนิสิตทุกคณะ จัดให้มีวิชาพิธีกรรมทางศาสนา และวิชาพฤติกรรมทางการเมืองเป็นวิชาบังคับเลือก นอกจากนี้ฝ่ายกิจกรรมนิสิตควรกำหนดนโยบายในการพัฒนานิสิตด้านกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ควรจัดให้มี พิธีกรรมทางศาสนาทุกศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ และประชาสัมพันธ์ให้นิสิตทุกคณะมาร่วมกิจกรรมให้มากที่สุด ในด้านการเมืองควรส่งเสริมให้มีชมรมรัฐศาสตร์และการเมืองทุกคณะ และเชิญผู้แทนพรรคการเมืองมาแถลงนโยบายในการเตรียมเลือกตั้งทั่วไป ทุกครั้งก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง สำหรับรายละเอียดแต่ละด้าน พบว่านิสิตมีการพูด อภิปราย ซักถามอาจารย์ในห้องเรียนอยู่ในระดับต่ำ (X-bar = 2.42) ดังนั้นอาจารย์ควรได้พัฒนารูปแบบและวิธีการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน พูด อภิปราย ซักถามอาจารย์ในห้องเรียน ส่วนการมอบหมายงาน หรือกิจกรรมให้นิสิตปฏิบัติ อาจารย์ควรปลูกฝังความคิด ความรับผิดชอบตลอดความรู้สึกในการดำเนินชีวิตตามวิถีทางประชาธิปไตยให้นิสิตด้วย-
dc.description.abstractalternativeTo investigate characteristics of Chulalongkorn University students in nine categories logical thinking, academic interest, knowledge application, language proficiency, manner, good taste, religious aspects, political concern, and socialization. Then, these characteristics are compared among four areas of study : Physical Science, Biological Science, Social Science, and Humanity. Procedures A descriptive method was used. The samplings of 550 were drawn from third year and fourth year students by Multi-Stage Random Sampling from 15 faculties of four areas of study. Questionairs were sent and 547 (99.45 percent) were returned. Analysis of data included percentage, mean, standard deviation, one - way analysis of variance, and Sheffe’s method. Research Findings 1. Characteristic of Chulalongkorn University students among four areas of study in nine categories : logical thinking, academic interest, knowledge application, language proficiency, manner, good taste, religious aspects, political concern, and socialization were found in the same in four areas of study as follows : the highest mean in manner (X-bar = 3.83) and the lowest in religious aspects (X-bar = 2.51) : Physical Science (X-bar = 3.85 and X-bar = 2.62) Biological Science (X-bar = 3.69 and X-bar = 2.39) Social Science (X-bar = 3.86 and X-bar = 2.52) Humanity (X-bar = 3.88 and X-bar = 2.43). Their opinions concerning the nine characteristics were found the highest mean in logical thinking for three areas : Physical Science (X-bar = 4.37) Biological Science (X-bar = 4.41) attd Social Science (X-bar = 4.33) but for Humanity "academic interest" (X-bar = 4.40) was the highest, the lowest mean in their opinions of the four areas was good taste (X-bar = 3.31) 2. The comparison of the four areas of study students were : 2.1 Logical thinking and Religious aspects No statistically different was found in this characteristic. 2.2 There was significantly different at .01 level in "academic interest" characteristic. Testing by Sheffe’s method, it was found that Physical Science had higher mean than Social Science. 2.3 There was statistically, different in knowledge-application at .01 level. Humanity differed from Biological Science and Social Science for Humanity obtained higher scores than the others.2.4 There was statistically different in language proficiency among the four areas. Biological Science differed from Physical Science, Biological Science differed from Humanity, Biological Science differed from Social Science, for Biological Science had the lowest scores among the four areas. 2.5 There was statistically different in manner level. Biological Science differed from Humanity, for Humanity had higher scores. 2.6 There was statistically different in good taste at .05 level. Biological Science differed from Humanity, for Humanity had the highest scores than the others. 2.7 There was statistically different in political concern at .01 level. Humanity differed from Social Science, for Social Science had higher scores than Humanity. 2.8 There was statistically, different in socialization at .01 level. Biological Science differed from Social Science and Humanity for Biological Science had the lowest scores than the others. 2.9 There was statistically different in opinions-concerning language proficiency at .01 level, for Biological Science differed from Social Science and Humanity. The opinions of Biological Science was lower than the two areas. Other opinions on the remaining items were not different. Recommendations: According to the nine characteristics searched in this study, the two characteristics political concern (X-bar = 2.51) and religious aspects (X-bar = 2.71) were found obtaining very low scores. Therefore, it is recommended that Chulalongkorn University academic administration should revise curriculum by including more religion and politics subjects so that student are well prepared for civic service and man resources for the society. There must be seminar programs concerning Universal Religions or Comparative Religions. Basic concept in Political Science for every student should be included. Courses relating to Religious Rite or Political Behaviors should be offered as elective subjects in general education. Furthermore, the student Affairs Office should set the policy and develop the meaningful student activities. Students should be encouraged to participate in ritual ceremonies for religions especially Buddhism. Public relations in student activities should be improved. For political concern characteristic, Political Club should be established in every faculty. The significant leading politicians various Political Parties should be invited to present their political views before the general election. In sub categories, it was found that the students rarely spoke, discuss or ask questions in the classroom (X-bar = 2.42). It is important for the teachers to seek for other method of teaching that opens more opportunity of students to participate in learning and teaching procedures. The instructions should implant ideas, positive attitude, responsible skills and democratic way of life in both academic assignments and student activities.-
dc.format.extent880270 bytes-
dc.format.extent580068 bytes-
dc.format.extent2071383 bytes-
dc.format.extent449643 bytes-
dc.format.extent1722609 bytes-
dc.format.extent1154393 bytes-
dc.format.extent914853 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นิสิต-
dc.subjectนักศึกษา-
dc.subjectChulalongkorn University -- Students-
dc.subjectStudents-
dc.titleการเปรียบเทียบลักษณะนิสิตจำแนกตามสาขาวิชา : การศึกษาเฉพาะกรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeA comparison of student characteristics clsaaified by area of study : a case study of Chulalongkorn Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayuree_Su_front.pdf859.64 kBAdobe PDFView/Open
Mayuree_Su_ch1.pdf566.47 kBAdobe PDFView/Open
Mayuree_Su_ch2.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_Su_ch3.pdf439.1 kBAdobe PDFView/Open
Mayuree_Su_ch4.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_Su_ch5.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_Su_back.pdf893.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.