Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24045
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนลา สุขพานิช-ขันทปราบ
dc.contributor.advisorพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
dc.contributor.authorสมิหรา จิตตลดากร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-14T04:28:34Z
dc.date.available2012-11-14T04:28:34Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9405670235
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24045
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractแม้จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในหลักการให้สิทธิแก่บุรุษและสตรีเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สตรีมีเพียงจำนวนน้อยมากที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2525 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2525 ทำให้สตรีมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งผู้นำทางการเมืองในการปกครองท้องที่ ปรากฏว่าสตรีได้รับเลือกตั้ง และแต่งตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบล) เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สตรีได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งดังกล่าว สตรีที่เข้าสู่ตำแหน่งผู้นำทางการเมืองในระดับท้องที่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน (แต่งตั้งหรือเลือกตั้ง) จะมีลักษณะการทำงานของสตรีผู้นำทางการเมืองระดับท้องที่มีความสัมพันธ์กับวิธีการจัดการในการบริหารงานรัฐกิจอย่างไร สตรีผู้นำเหล่านี้อาศัยคุณธรรมประการใดบ้างในการปกครอง และได้รับการยอมรับจากผู้นำชุมชนคนอื่น ๆ ในการปฏิบัติงานด้านใด งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากลุ่มประชากร 3 กลุ่ม ในระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม 2528 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 (ช่วงเวลาการออกภาคสนามและการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 6 เดือน) กลุ่มประชากรทั้ง 3 กลุ่ม ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแตกต่างกัน คือ 1. ส่งแบบสอบถามแก่สตรีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนันและแพทย์ประจำตำบลทั่วประเทศ จำนวน 714 ชุด แต่ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 605 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 2. สัมภาษณ์กำนันสตรีแบบเจาะลึก ด้วยคำถามเปิดและใช้แบบสอบถามจากจำนวนกำนันสตรีทั่วประเทศ 17 คน ได้ทำการสัมภาษณ์กำนันสตรี 14 คน คิดเป็นร้อยละ 82 ของกำนันสตรีทั้งหมด 3. สัมภาษณ์คณะกรรมการสภาตำบล 12 ตำบล ที่มีกำนันเป็นสตรี โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 73 ของจำนวนสมาชิกสภาตำบลทั้งหมด 286 คน ผลการวิจัย พบว่า ในเรื่องภูมิหลังสตรีผู้นำทางการเมือง ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 40-49 ปี สมรสแล้วและอยู่กับคู่สมรส มีบุตรระหว่าง 1-3 คน มาจากครอบครัวที่บิดามารดามีบุตรระหว่าง 6-9 คน มีพี่น้องเป็นชายอยู่ระหว่าง 1-3 คน สตรีผู้นำเหล่านี้ส่วนใหญ่จบชั้น ป.4-ป.7 ระดับของรายได้อยู่ในฐานะปานกลาง (2,000-4,000 บาทต่อเดือน) มีอาชีพเป็นเกษตรกรมาจากครอบครัวเกษตรกรและเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในสถานที่เดิมที่ดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองอยู่ และในครอบครัวของสตรีผู้นำนี้จะมีความขัดแย้งกันบ้าง แต่จะไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่แล้วสตรีผู้นำทางการเมืองในระดับท้องที่จะเป็นผู้ที่ไม่กระตือรือร้น แต่มองโลกในแง่ดี มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นผู้ที่กระตือรือร้นและมองโลกในแง่ร้าย ความกระตือรือร้นของสตรีก็จะเน้นหนักไปในงานที่เกี่ยวข้องกับองค์การของราชการมากกว่าภารกิจที่ไม่ใช่ของทางราชการ ลักษณะการทำงานดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับลักษณะการจัดการในเชิงการบริหาร กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ไม่นิยมในการใช้อำนาจ ใช้วิธีการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ใช้ความสุภาพ ทำให้คนทั้งเกรงใจและกลัวเกรงควบคู่กัน มีการวางแผนล่วงหน้าเสมอ เน้นเป้าหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในด้านคุณธรรมในการปกครอง สตรีผู้นำส่วนใหญ่จะเป็นผู้เสียสละ ให้ทาน ทำบุญ ซื่อตรง อดทน และไม่ใช้อารมณ์ แต่นิยมการเรี่ยไรเงินทองหรือแรงงานจากชาวบ้าน สตรีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งจะเน้นการวางแผน การชี้แจงต่อประชาชน การทำให้คนเกรงใจ ไม่นิยมในอำนาจ และเสียสละมากกว่าสตรีผู้นำที่มาจากการแต่งตั้ง จากการศึกษาพบว่า จำนวนความถี่ของการทะเลาะภายในครอบครัวของสตรีผู้นำ จะมีผลกระทบต่อบทบาทการเป็นผู้นำแบบชาวบ้านมองปัญหาใกล้ตัวหรือการเป็นผู้นำแบบทันสมัยมองปัญหาไกลตัว และยิ่งสตรีมีการศึกษาสูงก็จะใช้ความเด็ดขาดน้อยลง จำนวนพี่น้องที่เป็นชายของสตรีผู้นำจะส่งผลกระทบต่อความเด็ดขาดของสตรีผู้นำด้วย สตรีผู้นำที่เป็นแบบอัตตาธิปไตย จะนิยมในอำนาจ ยกย่องเพศชาย แบ่งแยกเพศ ก้าวร้าว เมื่อปฏิบัติงานร่วมกับประชาชนจะพยายามทำให้ประชาชนเกรงใจ มีความมั่นใจในตัวเองสูง ใช้ความเด็ดขาดมาก แต่เมื่อปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการระดับตำบล หมู่บ้าน จะใช้ความสุภาพอ่อนโยน มีการวางแผนล่วงหน้า ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับสตรีผู้นำแบบประชาธิปไตย และยิ่งสตรีเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินข้อขัดแย้งมากเท่าใดก็จะยิ่งใช้อำนาจมากขึ้น วางแผนมากขึ้น พบปะกับประชาชนบ่อยครั้งขึ้น ยิ่งสตรีเข้าไปมีบทบาทในชุมชนมากเท่าใดก็จะยิ่งควบคุมงานมากขึ้น มีการวางแผนและรายงานต่อประชาชนมากขึ้นด้วย ยิ่งสตรีเข้าไปมีบทบาททางการเมืองมากเท่าใด ก็จะยิ่งนิยมในอำนาจ วางแผนมากขึ้น รักงานและแบ่งแยกเพศมากขึ้น สตรีผู้นำจะให้ความสำคัญต่อการทำงานที่แตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 7 แบบ คือให้ความสำคัญต่อ การประชุม การปรับตัว การเป็นผู้นำ การประสานความคิด การใช้เหตุผล การสร้างภาพพจน์ต่อชุมชน และการอะลุ่มอล่วย ส่วนวิธีการจัดการและโลกทัศน์ของสตรีผู้นำ จำแนกได้เป็น 9 แบบ ที่แตกต่างกัน คือ แบบให้ความสำคัญต่อ การบริการประชาชน การปกครองคน การแบ่งแยกทางเพศ การใช้อารมณ์ การเป็นผู้ให้ การใช้อำนาจ การรักษาความดี การรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่น และการเรี่ยไร สตรีจะมีโอกาสเข้าสู่ตำแหน่งกำนันในชุมชนที่เจริญแล้ว มากกว่าชุมชนที่ยังไม่เจริญ กำนันสตรีส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลาง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีภูมิหลังทางครอบครัวที่สัมพันธ์กับตำแหน่งทางการเมือง ปัจจัยทางครอบครัว ทำให้สตรีสมัครเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน และถ้าสตรีมีความคิดเป็นนักธุรกิจ มีทักษะทางการเมือง มีความทะเยอทะยาน ขยันขันแข็ง จะช่วยให้เข้าสู่อำนาจทางการเมืองได้ง่าย สตรีใช้วิธีสร้างศรัทธาจากประชาชนเป็นแรมปี และเมื่อถึงวันเลือกตั้งก็มักจะใช้จิตวิทยามวลชนที่สูงกว่าผู้แข่งขัน เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วจะพยายามขจัดอิทธิพลเดิมที่ขัดขวางการทำงานของกำนันสตรี ด้วยการสร้างสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และเน้นผลงานด้านการพัฒนา ในเรื่องการยอมรับจากผู้นำชุมชนอื่น ๆ กำนันสตรีได้รับการยอมรับในเรื่องการมีหลักธรรมะในการปกครอง โดยเฉพาะเรื่องความสุภาพอ่อนโยน ในด้านหน้าที่ได้รับการยอมรับในเรื่องหน้าที่การบำรุงสาธารณประโยชน์ การบำบัดทุกข์บำรุงสุข และการรักษาวัฒนธรรมประเพณี ส่วนใหญ่กำนันสตรีมีความรอบรู้อยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความสามารถในการประสานงานมากพอ ๆ กับการพบประชาชนและการควบคุมงาน สิ่งที่ได้รับการยอมรับน้อย คือหน้าที่ด้านการสืบสวนข้อเท็จจริง และการเรี่ยไรเงินทองหรือแรงงานจากชาวบ้าน ข้อสรุปจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า สตรีที่เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยเฉพาะตัว ครอบครัว และสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่ส่งเสริมและเป็น อุปสรรคแตกต่างกัน ผลลัพธ์จากภูมิหลังของสตรีผู้นำและครอบครัว วิธีการทำงานและมีรูปแบบทางการเมืองที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสตรีผู้นำจะใช้วิธีการใด การใช้พระเดชหรือการใช้พระคุณ การใช้ฐานะทางการเงิน หรือการใช้ธรรมะ ต่างก็นำไปสู่ความสัมฤทธิผลทางการปกครอง ทำให้ชุมชนมีการพัฒนา มีความสงบสุข[ร่มเย็น]ได้เช่นเดียวกัน
dc.description.abstractalternativeAlthough equal right has been widely accepted between male and female, however in reality only small numbers of women have been participating in political affairs at all levels. The amend of the Sixth Provincial Administration Act in 1982, which was enacted on August28, 1982, gave the opportunity to women to run for office of local government administration. As a result, women have been elected, as well as appointed, to different positions in increasing number (head of sub-district, assistant head of sub-district, head of village, assistant head of village, sub-district health officer). It is this issue which is the theme of this study. Would it be any differences between women were elected or appointed in local political administration such as their working characteristic, administration or worldview, and how? What are there relations between working process and administrative function? Do they use morality in administration and finally in what direction would they be accepted among other leaders? This research study had been taken for 18 months (collecting data, from 25 October 1985 to 30 April, 1986). There were 3 different groups in collecting data, as follows: 1. Questionnaires were sent out to head of villages, assistant head of villages, assistant head of sub-districts and sub-districts health officers throughout the country for 714 questionnaires, 605 questionnaires were returned (85% of total population). 2. Depth interview also using questionnaire for 14 head of villages from the total of 17 head of villages (82% of total populations). 3. Interview by using questionnaire for 209 members of Sub-district Council from the total of 286 (73% of total population). The research finding showed that their personnel background of women leaders mostly are between 40-49 years of age, married and permanently stayed with their spouses with 1-3 children, They came from big families, 6-9 children, with 1-3 brothers. Most of them finished 4th-7th grade. The average income was between 2,000-4,000 baht per month. Their occupations are farmers which inherited from their ancestors. They hold their political positions according to their residency. Their were some conflict among their families but not quite often. Most of women leaders in local political administration are not active but quite optimistic, quite a few that are active and pestimistic their enthusiasm tend only towards government career. Their working characteristics are relevant to administrative function, non-autocracy, co-operation with villagers, politeness, respect and scaring at the same time. They will be planning a head of time for accomplishing their public goals. By using morality in administration, they will devote themselves in charity. They are honest and patient. But many times they are in favour of asking for donation from their villagers (in kind of money or labour). The difference between women leaders by electing or appointing is that women leaders by electing give more than take and emphasize on planning and pay more attention to their villagers and will not use autocracy, quite strictly in morality especially in gambling tent to be less than women leaders by appointing. From this study could be find that their frequency in quarelling among their families will reflect towards their roles as a local leader or a modern leader (solving family problem or the nation problem) and the more educated leaders the less autocracy they are. The numbers of brothers would also reflect to their dictatorship. Autocratic women leaders will be in favour of authority, believe in male chauvinist, sex-discrimination and aggression. When they work with the villagers they try to make the villagers respect them they have self-confidense and decisiveness. When they work with the Sub-district Council they will used their politeness and well planned which opposite to democratic female leaders. The more women leader involve in juding conflict the more they will used their power, planning, meeting villagers. The more women leader play roles in the community the more they will use controlling, planning and meeting villagers. The more women leader play roles in political affairs the more they are in favour of power planning enjoy working and sex-discrimination. Woman leaders recognize their careers differently and would be classified into 7 categories; meeting, adapting, leader ship, compromising, reasoning, good image, and flexibility. Management and worldview of women leader could be classified into 9 categories. Emphasized on public service, governing, sex-discrimination, emotional, giving, power, goodness, local’s benefit, and donation. Women who will have changes to hold position in local administration leaders mostly, are in a developing sub-district, came form middle class and their family background related to political careers. If they have business mind or political knowledgement, high ambition and diligence this will back them up to political power easily. Women leader have built their good reputation for years before entering their election and most of the time they will use better tactics in competing their opponents and if they won they would get rid of former influenced leaders by emphasizing on symbolic of power and showing developing career. The consensus from the other local leaders are moral especially in politeness, public maintenance, aiding, reserving culture. Head of sub-district women have the ability in cooperating as well as meeting among villagers meanwhile investigating career as well as asking for donation were less accepted. Sub-district Council has evaluated that head of sub-district women are 4 types; administrator, social worker, moralizer (kindness), police women. The conclusion of the study show that women who hold in the local political leader positions were influenced from these factors; their family, themselve, environment. Whether they will support or deteriorate differently. The result of women leaders background and their families, working style, worldview, this will make these women work differently. However, whether women leader will use their authority or charisma or according to their income status or morality. They will lead their community development effectively and possibility.
dc.format.extent9380878 bytes
dc.format.extent10383038 bytes
dc.format.extent14989893 bytes
dc.format.extent9680462 bytes
dc.format.extent62078869 bytes
dc.format.extent8181116 bytes
dc.format.extent8936069 bytes
dc.format.extent31849653 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้นำชุมชน
dc.subjectสตรีกับการเมือง
dc.subjectสตรีกับการเมือง -- ไทย
dc.subjectสตรี -- ไทย
dc.titleภาวะผู้นำของสตรีในการปกครองท้องที่ของไทยen
dc.title.alternativeWoman leadership in Thai local administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineรัฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Smira_ch_front.pdf9.16 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_ch1.pdf10.14 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_ch2.pdf14.64 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_ch3.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_ch4.pdf60.62 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_ch5.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_ch6.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open
Smira_ch_back.pdf31.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.