Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24079
Title: การศึกษาลักษณะคำถามและทักษะการใช้คำถามของครูวิทยาศาสตร์ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าและหก จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: A study of types of questions and questioning skills of science teachers in prathom suksa five and six Khon Kaen province
Authors: กัลยา เขียวขำ
Advisors: เลขา ปิยะอัจฉริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาลักษณะคำถามและทักษะการใช้คำถามของครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าและหก จังหวัดขอนแก่น วิธีดำเนินการวิจัย 1. สร้างแบบสังเกตลักษณะคำถามและทักษะการใช้คำถาม โดยจำแนกคำถามออกเป็น 6 ประเภท ตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านความรู้ (Cognitive Domain) ตามแนวการจำแนกของบลูม (Bloom’s Taxonomy) และจำแนกทักษะการใช้คำถามออกเป็น 10 ประเภท โดยแยกเป็นกลุ่มทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำ 6 ประเภทและทักษะการใช้คำถามที่ไม่ควรใช้บ่อยครั้ง 4 ประเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า จำนวน 14 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่หก จำนวน 10 คน จาก 17 โรงเรียน ซึ่งเลือกได้ด้วยวิธีการเลือกแบบมีวัตถุประสงค์ (Purposive Sampling) เป็นโรงเรียนประเภทริมเส้นทาง 2. เก็บข้อมูลโดยผู้วิจัยเข้าไปสังเกตการณ์เรียนการสอน และบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอนของครู ตามแบบสังเกตลักษะคำถามและทักษะการใช้คำถามที่ผู้วิจัยได้ทดลองใช้และหาความตรงตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนหาค่าความเที่ยงของการสังเกต 3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดประเภทคำถามและทักษะการใช้คำถามตามแบบสังเกตลักษณะคำถามและทักษะการใช้คำถามของครู แล้วหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความคงที่ของพฤติกรรม (Kendall Coefficient of Concordance = W) สรุปผลการวิจัย 1. ครูทั้งสองระดับชั้นใช้คำถามประเภทความรู้ความจำมากที่สุด ส่วนคำถามประเภทอื่น ๆ ครูใช้น้อย จนถึงไม่ใช้เลย คือคำถามประเภทประเมินค่า 2. ครูที่สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่หก ใช้คำถามประเภทความรู้ความจำมาก ด้วยความคงที่อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 แสดงว่าในการสอนทุก ๆ ครั้ง ครูจะใช้คำถามประเภทความรู้ความจำมากอย่างสม่ำเสมอ ส่วนครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า ใช้คำถามประเภทความรู้ความจำมากด้วยความไม่คงที่ แสดงว่าในการสอนทุกครั้งครูชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าจะใช้คำถามประเภทความรู้ความจำมากบ้างน้อยบ้าง 3. เมื่อเปรียบเทียบการใช้ทักษะการใช้คำถามที่ไม่ควรใช้บ่อยครั้ง อันได้แก่การทวนคำถามของตนเอง การตอบคำถามของตนเอง การทวนคำตอบของนักเรียน และการถามคำถาม เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบจากแบบเรียน กับทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำ ครูใช้ทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำน้อยมาก อันได้แก่ การถามคำถามที่เปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำถามได้หลายคน การเรียกให้นักเรียนตอบคำถามทีละคน การเปลี่ยนคำถามให้ง่ายขึ้นเมื่อนักเรียนตอบคำถามไม่ได้ การถามคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนขยายคำตอบให้ชัดเจน การถามคำถามที่ให้นักเรียนหาคำตอบจากการสังเกต ค้นคว้า ทดลองและการให้แรงเสริมเมื่อนักเรียนตอบคำถามได้ 4. ครูทั้งสองระดับชั้นใช้ทักษะการทวนคำตอบของนักเรียนมากกว่าทักษะการใช้คำถามประเภทอื่น ๆ และมีความคงที่ในการใช้อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ซึ่งหมายความว่าครูใช้การทวนคำตอบของนักเรียนมากอย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง 5. ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าใช้ทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำน้อยมากด้วยความคงที่อย่างมีนัยสำคัญ หมายถึงใช้น้อยอย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง ได้แก่ การถามคำถามที่เปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำถามได้หลายคน ถามคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนขยายคำตอบให้ชัดเจน ถามคำถามที่ให้นักเรียนหาคำตอบจากการสังเกต ค้นคว้า หรือทดลองและให้แรงเสริมเมื่อนักเรียนตอบคำถามได้หรือพยายามตอบคำถาม ครูชั้นประถมศึกษาปีที่หกก็ใช้ทักษะการใช้คำถามที่ควรใช้เป็นประจำน้อยมากเช่นกัน ด้วยความคงที่อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การเรียกให้นักเรียนตอบคำถามทีละคน และถามคำถามที่ให้นักเรียนหาคำตอบจากการสังเกต ค้นคว้า หรือทดลอง 6. ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ห้าใช้ทักษะการใช้คำถามที่ไม่ควรใช้บ่อยครั้งด้วยความคงที่อย่างมีนัยสำคัญ นั่นคือใช้อย่างสม่ำเสมอ ได้แก การตอบคำถามของตนเองและการทวนคำตอบของนักเรียน ครูชั้นประถมศึกษาปีที่หก ก็ใช้ทักษะการใช้คำถามที่ไม่ควรใช้บ่อยครั้ง ด้วยความคงที่อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ได้แก่ การทวนคำถามของตนเอง การทวนคำตอบของนักเรียน การถามคำถามเพื่อให้นักเรียนหาคำตอบจากแบบเรียน
Other Abstract: Purpose: The purpose of this research was to study types of questions and questioning skills of science teachers in Prathom Suksa five and six, Khon Kaen Province. Procedure: 1. Following instruments were constructed (a) an observation guideline of questioning types classified in six categories according to Bloom’s Taxonomy on Cognitive Domain (b) an observation guideline of questioning skills classified in 10 categories, out of which six were grouped as skills teachers should use regularly and four should not be often use. Using purposive sampling method 17 schools which could be reached by road were selected. Sample groups were 14 and 10 science teachers at Prathom Suksa five and six respectively. 2. Relevant data were collected through observation by the investigator with instrument already tested for validity and reliability. 3. Obtained data were analyzed in order to find the frequency, means, standard deviations and the constant value of behavior or the Kendall Coefficient of Concordance (W). Findings: 1. Memory Question Type was mostly used by the science teachers of both classes while the other types of questions were less or not used. Evaluative Question Type had never been used. 2. Prathom Suksa six science teachers used Memory Question Type more and regularly than Prathom Suksa five science teachers. 3. Having compared questioning skills it was found that skills teachers should use regularly were less practiced than those should not be often used. The former group of skills were teachers’ repeating and answering their own questions, repeating students’ answers and asking students for further answers frorm text books. The latter were the teachers’ asking questions that more than one student can answer, asking individual student, simplifying questions, adding questions to encourage more detailed answers, stimulating students’ answers from observation, research and experiment, and providing reinforcement. 4. Repeating the students’ answering was more frequently practices than other questioning skills by the science teachers of both classes. 5. The following questioning skills classified as those should be often used, were less employed by the science teachers of Prathom Suksa five: asking questions that more than one student can answer, adding questions to encourage more information, asking questions for answers from observations, researching or conducting experiments, and providing reinforcement to competent students and to those trying to answer the questions. As for the science teachers of Prathom Suksa six following questioning skills were less used: asking questions to individual student, and asking questions for answers from observations, researching and conducting an experiment. 6. The following questioning skills, classified as those should not be used often, were mush employed by the science teacher of Prathom Suksa five: teachers’ answering their own questions and repeating students’ answers. As for the science teachers of Prathom Suksa six following questioning skills were much used: teachers’ repeating their own questions, repeating students’ answers and asking students for further answers form text books.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24079
ISBN: 9745612464
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kalaya_Kh_front.pdf537.45 kBAdobe PDFView/Open
Kalaya_Kh_ch1.pdf494.22 kBAdobe PDFView/Open
Kalaya_Kh_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Kalaya_Kh_ch3.pdf515.71 kBAdobe PDFView/Open
Kalaya_Kh_ch4.pdf607.14 kBAdobe PDFView/Open
Kalaya_Kh_ch5.pdf819.81 kBAdobe PDFView/Open
Kalaya_Kh_back.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.