Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2409
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท
Other Titles: Factors influencing the change of commercial land use in Sukhumvit District
Authors: เจนการ เจนการกิจ, 2520-
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: การใช้ที่ดิน
การใช้ที่ดินในเมือง
การพัฒนาเมือง
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรมในย่านสุขุมวิท เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของย่าน และเพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ย่านสุขุมวิท มีลักษณะการรวมตัวกันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประเภทที่มีความแตกต่างทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจ และลักษณะของประชากรในพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ซอยนานา พื้นที่ซอยอโศก พื้นที่ซอยพร้อมพงษ์ และพื้นที่ซอยทองหล่อ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของย่านเริ่มจากการเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยจนเป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยชานเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อการพัฒนาในแนวราบเต็มพื้นที่จึงได้มีการพัฒนาอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นการรื้อและสร้างใหม่ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแม้ว่ากิจกรรมส่วนใหญ่จะชะลอลง แต่พื้นที่พาณิชยกรรมยังคงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในลักษณะที่มีความหนาแน่นสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เน้นกลุ่มเป้าหมายในระดับบนมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ ปัจจัยความสัมพันธ์กับพื้นที่โดยรอบ ปัจจัยการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ปัจจัยความเป็นศูนย์กลางเมือง ปัจจัยราคาที่ดิน ปัจจัยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัจจัยบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ ปัจจัยจำนวนประชากรในพื้นที่ ปัจจัยลักษณะของประชากรในพื้นที่ และปัจจัยบริการสาธารณะ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยนโยบายโครงการพัฒนา กฎหมายและข้อกำหนดของรัฐ และปัจจัยเกี่ยวกับค่านิยมต่อพื้นที่ สำหรับข้อเสนอแนะ ได้ทำการเสนอแนะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบทบาทของย่าน จากการเป็นย่านพักอาศัยชั้นซึ่งดีมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นย่านพาณิชยกรรมระดับบนในอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ โดยเสนอให้มีการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนา และการพัฒนาโครงข่ายถนนซอย เพื่อให้ย่านสุขุมวิทมีการพัฒนาอย่างมีแบบแผนต่อไปในอนาคต
Other Abstract: The objective of this research is to find out the factors influencing the change of commercial land use in Sukhumvit district, study the factor influecing the change, future trend and recommendations for the development. Sukhumvit district had many kind of economic activities in the area especialy in high value target identifined by population in the areas. The major economic areas in Sukhumvit district are Nana, Asoke, Promphong and Thonglor. The change of this district has developed from agicultural area to the low-density residential area of Bangkok in that time. When low-rise residential development has filled up this area then the hign-rise building began to develop. Most of the change replaced old buildings. During economic crisis, many developments were stopped by that effect but the commercial activities in Sukhumvit district are grown up to high-density development. Most of the change of commercial area is developed to the high value target at this time. The important factors influencing the change of commercial land use in Sukhumvit district are accessibility, the relationship with surrounding districts, residential development in this area, environments, city center factors, land value, economic activities, economic relationship with surrounding districts, population, population in this area, infarstucture and welfare, government act and law and people value judgement. The futue development guidelines are proposed to create the promotion commercial zone and develop the soi road network to support the future development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2409
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.367
ISBN: 9741768362
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.367
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Janekan.pdf39.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.