Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2412
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ กับการติดสารแอมเฟตามีน ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationship between sensation seeking and amphetamine dependence of adolescence in Bangkok Metropolis
Authors: ประธาน รัชตจำรูญ, 2520-
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: วัยรุ่น--ไทย--กรุงเทพฯ
แอมฟิตะมีน
ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจในระดับสูง ปัจจัยทางจิตสังคมกับการติดสารแอมเฟตามีน ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร แบบการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังแบบจับคู่ (Matched pairs case-control study) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 196 คนแบ่งออกเป็นกลุ่มศึกษาซึ่งหมายถึง วัยรุ่นที่ติดสารแอมเฟตามีน 98 คนที่สุ่มเลือกได้โดย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอน (Two stage cluster sampling) จากศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตกรุงเทพมหานคร จับคู่ตามปัจจัยด้านเพศ อายุ การศึกษาของบิดามารดา อาชีพของบิดามารดา และรายได้เฉลี่ยของบิดามารดา กับกลุ่มควบคุมซึ่งหมายถึงวัยรุ่นที่ไม่ได้ติดสารแอมเฟตามีน 98 คนที่สุ่มเลือกได้โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage cluster sampling) จากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และปัจจัยทางจิตสังคม 2 แบบคัดกรองผู้ใช้สารเสพติด Drug Abuse Screening Test (DAST) 3. แบบคัดกรองปัญหาทางจิตเวชตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM IV 4. แบบทดสอบบุคลิกภาพ The Maudsley Personality Inventory (MPI) 5. แบบประเมินความรู้สึกแสดงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ Sensation Seeking Scale (SSS) Form IV สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสูงสุด, ค่าต่ำสุด, Marginal Chi Square test, ODDS RATIO, paired t-test, Chi Square test, Fisher's Exact test, Pearson product-moment correlation coefficient วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจในระดับสูง มีความสัมพันธ์กับการติดสารแอมเฟตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจในระดับสูง เสี่ยงต่อการติดสารแอมเฟตามีน เป็น 3.63 เท่า โดยมีค่า Marginal Chi Square test = 16.49, ODDS RATIO = 3.63 (95% Confidence interval = 1.91-6.92) และปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการติดสารแอมเฟตามีนของวัยรุ่นได้แก่ บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวในสภาวะอารมณ์ ประวัติการใช้สารเสพติดของพี่น้อง ประวัติการใช้สารเสพติดของกลุ่มเพื่อน ผลการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ มีการใช้สารเสพติดในชุมชน ประวัติการถูกภาคทัณฑ์ ประวัติการถูกพักการเรียน ประวัติการถูกไล่ออก และประวัติการถูกจับ โดยมีความสัมพันธ์กับการติดสารแอมเหตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ประวัติการใช้สารเสพติดของบิดา ประวัติการใช้สารเสพติดของมารดามีความสัมพันธ์กับการติดสารแอมเฟตามีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationship between high sensation seeking, psychosocial factors and amphetamine dependence of adolescence in Bangkok Metropolis. The research design was matched pairs case-control study. The sample of 196 adolescents consisted of 98 case subjects from 5 health care centers were randomly selected and 98 control subjects from 10 schools were randomly selected (that matched in sex, age, fathers and mothers education, fathers and mothers occupation and incomes). The instrument was a set of questionnaires consisting of five parts. Part one was use to assess personal and psychosocial factors. Part two was screening test for drug abuse in adolescents; (Drug Abuse Screening Test, DAST). Part three was screening test for psychotic and neurotic symptoms. Part four was the Maudsley Personality Inventory (MPI). Part five was the Sensation Seeking Scale (SSS). All data were analyzed with the SPSS/FW program to determine percentage, mean, standard deviation, maximum and minimum. Marginal Chi Square test, ODDS RATIO with 95% confidence interval, paired t-test, Chi square test, Fisher's exact test and Pearson product moment correlation coefficient were performed for inferential analysis. The major findings were as followings: The high sensation seeking was found significantly related to amphetamine dependence (p<0.05) with the ODDS RATIO of 3.63 (95% Cl = 1.91-6.92). Psychosocial factors that also related to amphetamine dependence were the neurotic personality, history of substance use in family and peer group, academic achievement, drug use in community, history of academic probation or suspension, being expelled from school, and history of illegal act. The findings were significant (p<0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2412
ISBN: 9740312284
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prathan.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.