Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24152
Title: โอกาสของการนำเบียร์ลาเกอร์ตราใหม่ออกจำหน่ายในตลาดประเทศไทย
Other Titles: The market opportunity for launching a new brand of lager beer in Thailand
Authors: วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ
Advisors: สุรพัฒน์ วัชรประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เบียร์ลาเกอร์ เป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง ซึ่งคนไทยนิยมดื่มและมีความคุ้นเคยมานาน ตั้งแต่ต้องสั่งมาจากต่างประเทศจนปัจจุบันก็ดำเนินการผลิตเองในเมืองไทย ซึ่งธุรกิจประเภทนี้ก็ได้เริ่มดำเนินกิจการมาประมาณ 58 ปี แต่เป็นที่สังเกตว่าธุรกิจประเภทนี้ก็ยังมีคู่แข่งขันน้อยมาก ทั้งๆที่ตลาดผู้บริโภคเบียร์ประเภทนี้มาก จะเห็นจากยอดการจำหน่ายในปี 2521 มีถึง 2,709 ล้านบาท (สองพันเจ็ดร้อยเก้าล้านบาท) และอัตราเพิ่มของยอดจำหน่ายในระหว่างปี 2519 – 2521 เฉลี่ยเพิ่มปีละประมาณ 30% จากตัวเลขดังกล่าว นับเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาปัญหาในหัวเรื่องนี้ เพื่อต้องการทราบความต้องการของตลาดเบียร์ในเมืองไทยปัจจุบัน ในแง่ของผู้บริโภคเป็นหลักซึ่งมีวัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษาดังรายละเอียดในบทที่ 1 โดยคิดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจาการศึกษาเรื่องนี้คือจะทราบถึงแนวทางในการที่จะปรับปรุงกลวิธีทางการตลาดสำหรับธุรกิจประเภทนี้ รวมถึงการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะยอมรับ เพื่อได้นำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค การศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้หลักและวิธีการทางสถิติเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยแบบสอบถาม 3 ส่วน ด้วยกันคือ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคเบียร์ชนิดต่างๆซึ่งผลิตและจำหน่ายในเมืองไทยปัจจุบัน ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการทดสอบผู้บริโภคแบบไม่ให้ผู้บริโภคทราบตรายี่ห้อ (Blind test) เพื่อทดสอบเบียร์ทั้ง 4 ตรายี่ห้อ ที่ผลิตและจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สำหรับศึกษาความคิดเห็นของผู้จำหน่ายปลีกเบียร์ลาเกอร์ ประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ตามหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ รวมทั้งองค์การเอกชนด้วย ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ได้มาก็เพื่อนำมาวิเคราะห์และสนับสนุนการตอบปัญหาเกี่ยวกับทางด้านผู้บริโภค ตัวผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการจำหน่าย ช่องทางการจำหน่าย การกำหนดราคา และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของการประกอบธุรกิจประเภทนี้ได้บ้างตามสมควร จากผลของการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าผู้บริโภคเบียร์ทุกกลุ่มอาชีพมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายๆด้าน ทางด้านปริมาณการดื่ม ความถี่ของการดื่ม ตรายี่ห้อของเบียร์ที่ดื่ม หรือคุณสมบัติด้านความเข้มข้น กลิ่นหอมของเบียร์ ความชุ่มคอมีผลต่อการตัดสินใจดื่มเบียร์ของผู้บริโภคมาก นอกจากนี้ก็ยังทำให้ทราบว่าคุณสมบัติของเบียร์ที่มีผลต่อการดื่มของผู้บริโภคเบียร์มากก็คือ ความเข้มข้น ความหอม และความชุ่มคอ คุณสมบัติเป็นอุปสรรคต่อการดื่ม คือความขม ดังนั้นผลิตภัณฑ์เบียร์ที่ออกสู่ตลาดเมืองไทย ต้องอยู่ในส่วนประกอบที่พอสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านตัวผลิตภัณฑ์ ( Product ) จะต้องมีคุณสมบัติคือความเข้มข้น ความหอมและความชุ่มคอ ที่สามารถสัมผัสด้วยประสาทลิ้น และจมูกได้อย่างเด่นชัด ประกอบด้วยภาชนะการบรรจุที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันในท้องตลาด 2. ต้องใช้การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) โดยผ่านสื่อที่สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจน เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ 3. ทางด้านการจำหน่าย (Distribution) ต้องผ่านตัวแทนจำหน่ายและต้องสนใจ พ่อค้าปลีกให้มาก เพราะพ่อค้าปลีกเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใช้ซื้อเบียร์ดื่มของผู้บริโภคมาก 4. ทางด้านราคา (Pricing) ควรจะอยู่ระดับกลางระหว่างราคาเบียร์ตรายี่ห้อที่ต่ำที่สุด กับราคาเบียร์ตรายี่ห้อที่สูงสุดที่มีในตลาด เพราะผู้ดื่มเบียร์ส่วนใหญ่พิจารณาถึงรสชาติเป็นหลัก ส่วนด้านราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อเบียร์ดื่มน้อย เฉพาะในช่วงของการเริ่มแรกของการเข้าตลาด 5. ส่วนปัญหาทางด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้มีดังนี้ ก. จากผลการวิจัยพบว่ากิจการค้าของธุรกิจประเภทเบียร์ลาเกอร์นี้ยังไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปโดยเสรี ข. ปัญหาทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี สรุป สำหรับการศึกษาในวิทยานิพนธ์ในเรื่องนี้ เป็นเพียงการพิจารณาเน้นหนักในบางส่วนประกอบของการดำเนินธุรกิจประเภทเบียร์ลาเกอร์ ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการที่จะช่วยให้ผู้ที่คิดประกอบการธุรกิจใหม่ประเภทเบียร์ลาเกอร์หรือผู้ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ได้เห็นถึงความเป็นไปได้ของโอกาสที่จะนำเบียร์ลาเกอร์ตราใหม่ออกสู่ตลาดเมืองไทยปัจจุบัน
Other Abstract: Lager beer has been a kind of alcoholic drink which Thai people are very familiar with and fond of since it was first imported into this country more than 58 years ago. To day, larger beer is being produced locally. However, there has been very little competition in this type of business although there has been and still is a good market for the business as is refrected by the total lager sales figure resching Bht. 2,709 million in 1978, and on average increase of 30% per annum in turnover during the years 1976 to 1978. This is one of the reason why the writer has chosen this topic for his thesis which aims to examine the beer market situation in Thailand on the basis of the consumers' need at the present time. The purpose and scope of this study, as stated in chapter one, are to find new ways of improving market techniques in this kind of business including details of the qualities of beer acceptable the consumers, in order to improve the products according to the Consumers' need. The writer uses statistical methods and techniques in analysing data and questionnaire to collect data. The questionnaire consist of 3 parts as follows: Part ones to study the consumers' opinion an the various types of beer manufactured and on sale in Thailand. Part two; to subject the consumers to a "blind test" on four brands of beer manufactured and on sale in Thailand. Part threes to study the detailers' opinion on larger beer products. A part from the close, the writer also collects data from secondary sources available in the government offices and private organizations. These data are analysed and used to support the writers” hypothesis on the problems of the consumers, the product, market promotion, distribution channels, pricing structure and other environmental factors which directly and indirectly influence the beer business The result of the research indicates that many factors have strong influences on the consumers' decision in choosing the brand name of beer. These factors were, the quantity of consumption, the frequency of the drinking, the brand of product, the strong taste, and the smell, and the soothing effect of the taste. Furthermore, the writer has found that, the most favourite kind of beer which the consumers prefer is one that is not so bitter. The conclusions drawn by writer from this study are as follows : 1.The favourite quantities of beer products are the strong taste, the pleasing odour, the soothing effect, and the types of container different from those of the competitors. 2.Sales promotion through mass media such as television, magazines and newspapers has strong influence on the market. 3. Distribution must be channelled through the agent and the retailer who have considerable influence on the consumer’s decision in buy beer. 4. The price must not be high. The preferred price level should be in the middle range between the higher one and the lower one; the taste however influences the consumer's decision rather than the price. 5. The problems which cannot be controlled are as follows : a. The government has not encouraged free enterprise on lager beer business. b. Problems on Thai customs and traditions. Conclusions : This study aims to investigate certain aspects of the lager beer business and it will help to guide new investors who wish to introduce a new brand of lager beer into the market.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24152
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vacharakorn_Sh_front.pdf654.78 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch1.pdf710.96 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch2.pdf474.56 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch3.pdf655.92 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch4.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch5.pdf740.77 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch6.pdf449.49 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_ch7.pdf556.29 kBAdobe PDFView/Open
Vacharakorn_Sh_back.pdf661.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.