Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิฑูร ตรีวิจิตรเกษม
dc.contributor.authorกิม ศักดิ์ทัศนา
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-15T08:53:32Z
dc.date.available2012-11-15T08:53:32Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745632066
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24156
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractในการศึกษากังหันไอความดันต่ำขนาดเล็กนี้ ได้สร้างเครื่องกังหันแบบแรงผลักชนิด 2 ขั้นความเร็ว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยวงล้อใบกังหันไม่เกิน 152 มิลลิเมตร ทำการทดลองหาข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะการทำงานของเครื่องกังหัน โดยใช้อากาศอัดที่ความดันขนาดต่าง ๆ ระหว่าง 0.5 ถึง 4.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ของความดันเกจภายใต้เงื่อนไขหรือภาวะของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวฉีดและจำนวนหัวฉีด จากผลการทดลองพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิดกับอัตราหมุน และกำลังงานกับอัตราหมุน ที่ภาวะต่าง ๆ สอดคล้องกับทางทฤษฎี เมื่ออัตราไหลของมวลอากาศลดลง แรงบิดและกำลังงานจะไม่ลดลงอย่างเป็นสัดส่วนกันแต่จะลดลงมากขึ้นเมื่ออัตราไหลมีค่าต่ำลง เช่น เมื่อลดจำนวนหัวฉีดจาก 4 รู เหลือ 2 รู แรงบิดและกำลังงานที่ได้จะลดลงมากกว่าร้อยละ 50 แสดงให้เห็นว่า ถ้าให้เครื่องกังหันขนาดเล็กทำงานที่ขนาดกำลังต่ำจะยิ่งมีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากการสูญเสียกำลังงานจะเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับกำลังงานที่เครื่องกังหันจะให้ได้ สำหรับการใช้อัตราไหลของมวลอากาศที่เท่ากัน พบว่า เมื่อใช้หัวฉีดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร จะให้กำลังงานสูงสุดสูงกว่าเมื่อใช้หัวฉีดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 และ 2.5 มิลลิเมตร เช่นที่อัตราไหลของมวลอากาศเท่ากับ 6x10⁻3 กิโลกรัมต่อวินาที เมื่อใช้หัวฉีดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร จะให้กำลังงานสูงสุดสูงกว่าเมื่อใช้หัวฉีดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 มิลลิเมตร เท่ากับ 9.8 วัตต์ และสูงกว่าเมื่อใช้หัวฉีดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร เท่ากับ 12.8 วัตต์ และจากการทดลองใช้ใบหมุนเพียงแถวเดียว สามารถสรุปได้ว่า ในกรณีเครื่องกังหันไอขนาดเล็ก เครื่องกังหันชนิด 2 ขั้นความเร็ว นอกจากจะสร้างยากแล้วยังมีการสูญเสียภายในมากอาจจะทำให้ได้ผลไม่คุ้มค่า
dc.description.abstractalternativeIn the present work, two-stage velocity compound impulse turbine with mean diameter of rotor not larger than 152 millimeter are constructed. To get informations about their characteristics and performances, compressed air at the gauge pressure ranging from 0.5 to 4.0 kg/cm² had been applied under the conditions of varying the size and number of nozzles. It is found that the relation between torque and speed, power and speed at various conditions are consistant with theory. By lowering the mass flow rate of air, torque and power of the turbine do not decrease linearly but they decrease with greater rate with lower mass flow rate. For example, by varying the number of nozzle decreasing from 4 to 2, the torque and power decrease more than 50 percent. The results show that the small vapour turbine operate at low power will provide lower efficiency which due to the substantial internal energy lost compare to the total power. For a given mass rate of flow, it is found that, the using of nozzle with diameter 1.5 millimeter gives the maximum power larger than the ones given by using nozzle with diameter 2.0 and 2.5 millimeter. Eg. At the air mass flow rate 6  10⁻3 kg/s, the maximum power given by using the using of nozzle with diameter 1.5 millimeter is higher than that using of nozzle with diameter 2.0 millimeter by 9.8 watts and is also higher than that using the nozzle with diameter 2.5 millimeter by 12.8 watts. The experimental result with single row of moving blades has indicated that, for a small vapour turbine, the two-stage velocity compound type is not only difficult to constructed but also possessing much more internal friction lost so that it may not be advantage to use the second row of moving blades.
dc.format.extent654727 bytes
dc.format.extent760834 bytes
dc.format.extent1461044 bytes
dc.format.extent1878224 bytes
dc.format.extent2038434 bytes
dc.format.extent353639 bytes
dc.format.extent1313789 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษากังหันไอความดันต่ำขนาดเล็กสำหรับใช้กับพลังงานแสงอาทิตย์en
dc.title.alternativeA study of small low pressure vapour turbines for solar energy usesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineฟิสิกส์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kim_Sa_front.pdf639.38 kBAdobe PDFView/Open
Kim_Sa_ch1.pdf743 kBAdobe PDFView/Open
Kim_Sa_ch2.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Kim_Sa_ch3.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Kim_Sa_ch4.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Kim_Sa_ch5.pdf345.35 kBAdobe PDFView/Open
Kim_Sa_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.