Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2416
Title: ความคิดเห็นและการปฏิบัติในการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
Other Titles: Opinion and practice in mental health promotion and protection of family health leader
Authors: ธารีพร ตติยบุญสูง, 2509-
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Ong-arj.V@Chula.ac.th
Vitool.L@Chula.ac.th
Subjects: สุขภาพจิต
ครอบครัว
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความคิดเห็นและการปฏิบัติของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ในการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว และความแตกต่างระหว่างจังหวัดใน 5 ด้าน ประกอบด้วย การลดความขัดแย้งในครอบครัว การสร้างความสุขในครอบครัว บทบาทการทำให้ลูกห่างไกลยาเสพติด และการดูแลผู้สูงอายุ โดยแยกเป็นรายข้อ 30 ดัชนีชี้วัด โดยออกแบบเป็นการวิจัยเชิงพรรณา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2544-กุมภาพันธ์ 2545 ส่งแบบสอบถามจำนวน 500 ฉบับ/จังหวัด ไปยัง 4 จังหวัด (สิงห์บุรี ชัยภูมิ สุราษฎร์ธานี และเพชรบูรณ์) ใน 4 ภูมิภาค รวมจำนวน 2,000 ฉบับ มีผู้ตอบกลับ 1,416 ฉบับ คิดเป็น 70.8% ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมานทดสอบหาความแตกต่าง จากการศึกษาพบว่า เป็นเพศชาย 37.1% เพศหญิง 62.9% อายุเฉลี่ย 40.6 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 67.0% มีสถานภาพเป็นแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในปัจจุบัน 78.8% เคยได้รับการอบรมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 86.4% ได้รับความรู้เรื่องสุขภาพจิตจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 87.0% เป็นการได้รับความรู้ไม่ต่อเนื่อง 60.1% จากการวิเคราะห์เชิงลึก พบว่า ในภาพรวม แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวให้ค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็น ต่อความสำคัญของงานสุขภาพจิตสูงกว่าการนำไปใช้ประโยชน์ทั้ง 5 ด้าน 30 ดัชนี และเมื่อแยกเป็นรายข้อ (ดัชนี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ในทุกข้อ และพบว่า จังหวัดและอายุ มีผลต่อความแตกต่างของความคิดเห็นต่อความสำคัญของงานสุขภาพจิต และการนำไปใช้ประโยชน์ทั้ง 5 ด้าน 30 ดัชนี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) นอกจากนั้นรายได้ ระดับการศึกษาและการได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง มีผลต่อความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในบางด้าน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวให้ความสำคัญ รวมถึงต้องการความรู้เพิ่มเติม (68.8%) ในเรื่องบทบาทการทำให้ลูกห่างไกลยาเสพติดเป็นอันดับแรก และควรมีการอบรมฟื้นฟูความรู้ทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี 75.8% และระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบรม คือ 1-2 วัน 70.6% การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ให้ความสำคัญต่องานสุขภาพจิตสูง แต่มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และมีความต้องการความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง สมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะดำเนินการ ให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว และขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมถึงมีการดำเนินการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและประชาชนทั่วไป
Other Abstract: To examine the opinion and practice in mental health promotion and protection of family health leaders and the difference between 5 dimensions 30 indications. The study was conducted during October 2001-February 2002 by sending 2,000 self administered questionnaires to registered family health leaders in 4 provinces (Singburi , Chaiyaphoom, Surajthani and Petchaboon) in 4 regions. The response rate of registered family health leaders was 70.8%. The data was analyzed by descriptive statistic and estimated statistic in finding differences. It is found that there were Male 37.1%, Female 62.9%, average Age 40.6 years, Primary School Education 67%, presently in the status of Family Health Leaders 78.8%, ever been trained in Family Health Leader 86.4%, have been educated about mental health from health official 87.0%, discontinuous education 60.1%. By in depth analysis found that in overall Family Health Leaders gives average mark of opinion about the importance of mental health activity higher than practice in all 5 aspects, focusing on the 30 indicators found that there were statistically significant different means score (p<0.01) in all indicators, and also found that province and age had effects on statistically significant different (p<0.01) of opinion about the importance of mental health activity and the practice of all 5 aspects, 30 indicators. More over, income, education and continuous education were also resulting a significant difference in statistic means in some aspects. Family Health Leaders scored importance including need of additional knowledge (68.8%) in role of keeping children distant from narcotic as first ranking and should have knowledge regained training every 6 months to 1 year 75.8% and the appropriate timing for training is 1-2 days 70.6%. It is indicated in this study that Family Health Leaders gave vital importance to mental health activity whilst the practice was lower than it should be with the requirement of continuous additional knowledge. The concerned organization should proceed knowledge training for Family Health Leader and extend to cover all areas including carrying out continuous knowledge training for better quality of life of Family Health Leader and general public.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2416
ISBN: 9740317448
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thareeporn.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.