Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24231
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประคอง สุทธสาร | |
dc.contributor.author | วลัยภรณ์ อาทิตย์เที่ยง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-16T02:32:09Z | |
dc.date.available | 2012-11-16T02:32:09Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745662321 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24231 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามลักษณะและภูมิหลังด้าน เพศ อายุ ทัศนคติต่อวิชาภาษาไทย สถิติการขาดเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครองและการใช้สื่อมวลชนของครอบครัว สมมติฐานการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี เพศ อายุ ทัศนคติต่อวิชาภาษาไทย สถิติการขาดเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และการใช้สื่อมวลชนของครอบครัวต่างกัน จะมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2528 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 18 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน รวม 621 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ชุดแรกเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะและภูมิหลังของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน กับแบบสอบถามทัศนคติของนักเรียนต่อวิชาภาษาไทย ชุดที่สอง เป็นแบบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวแปร 2 กลุ่ม ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) แล้วใช้วิธีของเชฟเฟ (Scheffe' Test for all possible comparison) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ในกรณีที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของ SPSS (Statistical Package for the Social Science) สรุปผลการวิจัย คือ การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบความเข้าในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานครมีผลดังนี้ คือ 1) นักเรียนหญิงมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่มีอายุน้อยมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่มีอายุมากอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่พบว่า นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 10 ปี - 11 ปี 5 เดือน มีความเข้าใจในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปี 6 เดือนขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาภาษาไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ จากการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่า นักเรียนที่มีทัศนคติต่อวิชาภาษาไทยแตกต่างกันแต่ละคู่ มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4) นักเรียนที่มีสถิติการขาดเรียนน้อย มีความเข้าใจในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่มีสถิติการขาดเรียนมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่านักเรียนที่มีสถิติการขาดเรียนแตกต่างกันแต่ละคู่ มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 5) นักเรียนที่มีผู้ปกครองจบการศึกษาระดับสูง มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองจบการศึกษาระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่พบว่า นักเรียนที่มีผู้ปกครองจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความเข้าใจในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 6) นักเรียนที่ครอบครัวมีการใช้สื่อมวลชนมาก มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีการใช้สื่อมวลชนน้อย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่า นักเรียนที่ครอบครัวมีการใช้สื่อมวลชนมากมีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีการใช้สื่อมวลชนปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นอกจากนั้น ผลจากการวิจัยครั้งนี้ ยังพบว่า นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่า นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก และนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษากลุ่ม 1 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่า นักเรียนกลุ่มอื่นๆ ในสังกัดเดียวกัน | |
dc.description.abstractalternative | Purpose: The purpose of this research was to compare Thai reading comprehension of Prathom Suksa Six students in schools under the jurisdiction of the Office of Bangkok Primary Education. The samples were classified by their different characteristics and background which include sex, age, attitude towards Thai subjects, attendance records, parents' educational background and families' mass media. Hypothesis : The Thai reading comprehension of Prathom Suksa Six students with different characteristics and background are different. Procedures: The samples used in this research were 621 Prathom Suksa Six students of the academic year 1985 from 18 schools under the jurisdiction of the Office of Bangkok Primary Education. By means of Multi-Stage Sampling, one class of representative students from each school were selected. The researcher constructed Thai reading comprehension test and two sets of questionnaire dealing with students' characteristics and background and students' attitude towards Thai subjects. The obtained data with two sets of variable were analyzed by using the t-test, the data with more than two sets of variables were analyzed by using the One-way Analysis of Variance and when there were significantly differences, the Scheffe' Test was then used to test each pair of variables. The data were analyzed by the SPSS (statistical Package for the Social Science) standard computer program. Results: 1.The research results had indicated as follows: The abilities in Thai reading comprehension of Prathom Suksa Six students with different characteristics and background which include sex, parents' educational background and mass media available in the families were significantly different at the .01 level as follows: 1.1 Girls had better reading comprehension than boys. 1.2 Students whose parents having high level of education had better reading comprehension abilities than those whose parents having lower level of education and students whose parents holding bachelor's degree had better abilities than those whose parents finished Prathom Suksa Six and M.S.5 significantly at the .05 level.1.3 Students with more mass media available in the families had better reading comprehension abilities than those with less mass media available in the families significantly at the .05 level. 2. The Prathom Suksa Six students with different characteristics and background which include age, attitude towards Thai subjects and attendance records had different abilities in Thai reading comprehension significantly at the .05 level as follows: 2.1 Students at the 10 - 11 1/2 years of age group had better abilities than those at 13 1/2 years and older. 2.2 Students with favourable attitudes towards Thai subjects had better abilities than those with unfavourable attitudes. 2.3 Students with high attendance records had better abilities than those with low attendance records. In addition to the research results indicated that Thai reading comprehension abilities of students in large schools were better than those in small schools, and the students in Group One of the schools, under the jurisdiction of the Office of Bangkok Primary Education had better abilities than those in other groups significantly at the .01 level | |
dc.format.extent | 571204 bytes | |
dc.format.extent | 585909 bytes | |
dc.format.extent | 978082 bytes | |
dc.format.extent | 446889 bytes | |
dc.format.extent | 695049 bytes | |
dc.format.extent | 523801 bytes | |
dc.format.extent | 791292 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การอ่านขั้นประถมศึกษา | |
dc.subject | ภาษาไทย -- การอ่าน | |
dc.title | การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หก ที่มีลักษณะและภูมิหลังต่างกัน | en |
dc.title.alternative | A comparison of Thai reading comprehension of prathom suksa six students with different characteristic and background | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Walaiporn_Ar_front.pdf | 557.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walaiporn_Ar_ch1.pdf | 572.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walaiporn_Ar_ch2.pdf | 955.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walaiporn_Ar_ch3.pdf | 436.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walaiporn_Ar_ch4.pdf | 678.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walaiporn_Ar_ch5.pdf | 511.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Walaiporn_Ar_back.pdf | 772.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.