Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24245
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาของการดูแล จำนวนครั้งของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล การสนับสนุนจากครอบครัว ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย กับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Other Titles: Relationships between duration of caregiving, number of hospitalization, family support, uncertainty in illness, and adaptation in caregivers of HIV persons
Authors: ดาราพรรณ อุทัย
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ดูแล
การปรับตัว (จิตวิทยา)
HIV-positive persons
Caregivers
Adjustment (Psychology)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของระยะเวลาของการดูแล จำนวนครั้งของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล การสนับสนุนจากครอบครัว ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยต่อการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชลเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีขณะนอนรักษาตัวอยู่ที่แผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลกำแพงแสน โรงพยาบาลสามพราน โรงพยาบาลดอนตูม จำนวน 100 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนจากครอบครัว แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบสอบถามการปรับตัว ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .88, .85 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การปรับตัวของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ระดับปานกลาง ([x-bar] = 3.16) 2. ระยะเวลาของการดูแลและการสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .274, r = .856 ตามลำดับ) 3. จำนวนครั้งของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.420, r = -.722 ตามลำดับ) 4. การสนับสนุนจากครอบครัวและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย สามารถร่วมกันทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ร้อยละ 79 (R² = .790) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z'[subscript การปรับตัว] = .664Z[subscript การสนับสนุนจากครอบครัว -.307Z[subscript ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย]
Other Abstract: The purposes of this research were to study relationships and predictors of duration of caregiving, number of hospitalization, family support, and uncertainty in illness to adaptation in caregivers of HIV persons. The conceptual framework of this study was Mishel's Uncertainty in Illness. Samples of 100 caregivers of HIV persons who admitted in patient department of Nakornpathom, Kampangsan, Sampran and Dontoom Hospitals were selected by using purposive sampling. Instruments were Demographic Data Form, Family Support, Uncertainty in Illness and Adaptation Questionnaires. These questionnaires were tested for content validity and reliability with alpha of .88, .85, and .85, respectively. The data were analyzed by mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation and stepwise multiple regression. Major findings were as follows: 1. There was a moderate level adaptation in caregivers of HIV persons ([x-bar] = 3.16). 2. Duration of caregiving and family support were positively and significantly related to adaptation in caregivers of HIV persons at level of .05 (r = .274 and .856 respectively). 3. Number of hospitalization and uncertainty in illness were negatively and significantly related to adaptation in caregivers of HIV persons at level of .05 (r = -.420 and -.722 respectively). 4. Family support and uncertainty in illness could predict adaptation of caregivers of HIV persons at level of .05. The predictive power was 79 percents of the variance (R² = .79). The study equation was at follow: Z'[subscript Adaptation] = .664Z[subscript Family support] - .307Z[subscript Uncertainty in illness]
Description: วิทยานิพนธ์(พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24245
ISBN: 9741732902
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daraphan_ut_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ2.9 MBAdobe PDFView/Open
Daraphan_ut_ch1.pdfบทที่ 15.85 MBAdobe PDFView/Open
Daraphan_ut_ch2.pdfบทที่ 217.59 MBAdobe PDFView/Open
Daraphan_ut_ch3.pdfบทที่ 33.85 MBAdobe PDFView/Open
Daraphan_ut_ch4.pdfบทที่ 42.67 MBAdobe PDFView/Open
Daraphan_ut_ch5.pdfบทที่ 56.01 MBAdobe PDFView/Open
Daraphan_ut_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก11.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.