Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2425
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | องอาจ วิพุธศิริ | - |
dc.contributor.advisor | สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | ยุพา โชติกะพัฒน์, 2502- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-12T08:38:54Z | - |
dc.date.available | 2006-09-12T08:38:54Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741700032 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2425 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาความรู้ ความคิดเห็นและการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาเกี่ยวกับ สุขภาพจิตเด็กพิการและเด็กด้วยโอกาส ในเขตสาธารณสุขที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นครู 516 คนใน 2 จังหวัดที่ได้รับการอบรมและ 1 จังหวัดที่ไม่ได้รับการอบรม 258 คน เป็นจำนวนรวม 774 คน โดยใช้แบบสอบถามส่งกลับทางไปรษณีย์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 ถึง มกราคม 2545 ได้รับคืน 689 คน คิดเป็นร้อยละ 89.02 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ Unpaired t-test และ One-way ANOVA จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (73.7%) จบปริญญาตรี (65.8%) เป็นครูผู้สอน (67.0% มีอายุเฉลี่ย 45.6 ปี ได้รับการอบรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ร้อยละ 31.5 เมื่อประเมินความรู้พบว่าครูในจังหวัดที่ได้รับการอบรม มีความรู้มากกว่าครูในจังหวัดที่ไม่อบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ทั้ง 2 กลุ่มยังขาดความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านนักเรียน ลักษณะปัญหาที่ต้องส่งต่อสถานบริการและการร่วมกับผู้ปกครอง ในการดูแลนักเรียน เมื่อประเมินความคิดเห็นและการปฏิบัติงาน พบว่า ครูในจังหวัดที่ได้รับและไม่ได้รับการอบรมมีการปฏิบัติงานไม่แตกต่าง แต่รายละเอียด พบว่า ความคิดเห็นในด้านการบริหารจัดการและการให้ความสำคัญ และด้านผลลัพธ์และความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อาทิ โรงเรียนในจังหวัดที่ได้รับการอบรมมีการกำหนดนโยบาย ให้นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพจิต อย่างไรก็ตาม ครูในทุกจังหวัดล้วนให้ความสำคัญ และปฏิบัติโดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ในลำดับแรก เช่นเดียวกันแต่ยังมีความต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่ม ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ควรขยายการให้ความรู้แก่โรงเรียน ที่ยังไม่เข้าร่วมดำเนินการด้านสุขภาพจิตเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สามารถปฏิบัติได้อย่างจริงจัง และควรจัดให้มีการฟื้นฟูความรู้ปีละครั้ง ข้อเสนอแนะ ควรดูแลนักเรียนทั้งหมดเป็นรายบุคคลและคำนึงถึงด้านการส่งเสริม การป้องกันควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหา และควรร่วมกับผู้ปกครองดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมทั้งให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม | en |
dc.description.abstractalternative | To determine knowledge, opinion and practice of teachers in Primary School Toward Mental Health for Disable and Disadvantaged Children in Health Region 2. Mailed questionnaires were sent to 516 trained teachers in two provinces and 258 untrained teachers in a provinces. The study was conducted during November 2001 to January 2002 and response rate was 89.0%. Results were analyzed by using mean, percentage, unpaired t-test and one-way ANVA. The results showed that majority of respondents were woman (73.7%), graduated the Bachelor's degree 65.8%, classroom teacher 67.0% with trained experience on meantal health for disable and disadvantaged children 31.4% and average age of 45.6 years. There were statistically significant difference (p<0.05) in mean score of knowledge. Therefore, both groups need more knowledge on student home visit, characteristic of referral children to health office and parent involvement. There were no significant difference in mean score of overall opinion and practices. However, there were significant difference (p<0.05) in mean score of two dimensions as to management and satisfaction for practices, such as more policy commitment for care the mental health in the children in the trained schools than non-participated schools. Further analyses found that either groups of teachers gave the first rank to the use child-centered approach and need more knowledge. The study indicated that the training program should be deployed to cover the non-participated school. In addition, children should be taken care and given promotion, prevention and supportive with parent's collaboration when they have problems. | en |
dc.format.extent | 646236 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เด็กพิการ--สุขภาพจิต | en |
dc.subject | สุขภาพจิต | en |
dc.subject | ครูประถมศึกษา | en |
dc.subject | เด็กด้อยโอกาส--สุขภาพจิต | en |
dc.title | ความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา เกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส | en |
dc.title.alternative | Knowledge opinion and practice of teachers in primary school toward mental health for disable and disadvantaged children | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ong-arj.V@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
YupaCho.pdf | 757.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.