Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24330
Title: การใช้แหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The use of community resources in social studies instruction at the lower secondary level
Authors: วรลักษณ์ รัตติกาลชลากร
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาประเภทและลักษณะการใช้ประโยชน์ของแหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะการใช้แหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาของครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง วิธีดำเนินการวิจัย คือ ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพฯ 20 แห่ง ในจังหวัดใกล้เคียง 18 แห่ง รวม 38 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองไปยัง ครูสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพฯ 120 คน ครูสังคมศึกษาในจังหวัดใกล้เคียง 108 คน รวม 228 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งสิ้น 212 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.98 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยคิดเป็นค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) แสดงผลการวิจัยในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย คือ 1) ครูสังคมศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงต่างก็ใช้ห้องสมุด โรงเรียน หนังสือพิมพ์ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ แผนที่และแผนภูมิต่างๆ รวมทั้งสหกรณ์โรงเรียนประกอบการเรียนการสอนในระดับมาก แหล่งชุมชนที่ครูสังคมศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงใช้ในระดับน้อย คือ ห้องสมุดประชาชน ฟิล์มปตริป โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ พิพิธภัณฑ์อื่นๆ รัฐสภา ศาล กระทรวงทบวงกรมต่างๆ สถานีตรวจอากาศ หน่วยราชการอื่นๆ โรงมหรสพ สถานที่ของเอกชน สหกรณ์การเกษตร ท่าเรือประมง นากุ้ง และนาเกลือ และครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ ใช้สภาจังหวัดในระดับน้อยที่สุด วิธีการใช้แหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงต่างก็ใช้ในระดับมาก คือ การมอบหมายให้นักเรียนไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ ยังใช้วิธีการแนะหรือพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น การทำบุญ เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา ในระดับมากด้วย แต่ครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯใช้วิธีการแนะนำหรือพานักเรียนไปฟังการประชุมต่างๆ เช่น การประชุมของสภาจังหวัดหรือรัฐสภาในระดับน้อยที่สุด เวลาในการใช้แหล่งชุมชน ครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงส่วนมากใช้เวลาในเวลาเรียนในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ การฟังวิทยากร ฟังอภิปราย หรือฟังการบรรยายและการให้นักเรียนไปร่วมกิจกรรมของชุมชน สำหรับการร่วมกิจกรรมของชุมชนนั้นยังใช้เวลาในวันเสาร์หรืออาทิตย์และเมื่อมีโอกาสพิเศษ การให้นักเรียนไปสำรวจบริเวณโรงเรียนหรือชุมชนใกล้โรงเรียนส่วนมากใช้เวลานอกเวลาเรียน ระหว่างหยุดภาคเรียน และเมื่อมีโอกาสพิเศษ ส่วนการสัมภาษณ์ผู้มีความรู้ในชุมชนนั้น ครูสังคมศึกษานิยมใช้เวลาในเวลาเรียนที่นอกเหนือจากชั่วโมงเรียนวิชาสังคมศึกษาในวันเสาร์หรืออาทิตย์ และเมื่อมีโอกาสพิเศษ ครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงจะให้นักเรียนอ่านหนังสือแบบเรียนก่อนให้นักเรียนไปใช้แหล่งชุมชนในระดับมาก และให้นักเรียนเขียนรายงาน ความเรียง และทำแบบทดสอบแบบปรนัยและอัตนัยหลังการใช้แหล่งชุมชนในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบลักษณะการใช้ประโยชน์แหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาของครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงเกี่ยวกับประเภทของแหล่งชุมชน วิธีการใช้แหล่งชุมชน เวลาที่ใช้แหล่งชุมชนและกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติก่อนและหลังการใช้แหล่งชุมชน ปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3) ปัญหาการใช้แหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้ คือ ครูสังคมศึกษาในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงส่วนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับเวลาในการใช้แหล่งชุมชนซึ่งมีจำกัด การวัดผลและประเมินผลทำได้ไม่เต็มที่ วิทยากรและเจ้าหน้าที่ประจำแหล่งชุมชนมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน นักเรียนบางส่วนยังไม่เห็นคุณค่า และประโยชน์ของการใช้แหล่งชุมชน รวมทั้งขาดทักษะในการใช้ ครูสังคมศึกษาส่วนมากมีความเห็นว่าสมควรใช้แหล่งชุมชนประกอบการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีประโยชน์มากทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง รู้จักวิธีการ ค้นคว้าหาความรู้ และทำให้นักเรียนเกิดความรักความผูกพัน และภูมิใจท้องถิ่นและในชาติของตน
Other Abstract: The purposes of this research were 1. To study the use of community resources for social studies instruction of lower secondary school teachers in Bangkok Metropolis and the nearby areas. 2. To compare the use of community resources for social studies instruction of lower secondary school teachers in Bangkok Metropolis and the nearby areas. Procedures ; Twenty government schools in Bangkok Metropolis and eighteen government schools in nearby areas were selected by simple random sampling. The amount of 228 social studies teachers at the' lower secondary level were selected from those schools by way of stratified random sampling; 12.0 teachers from Bangkok Metropolis secondary schools and 1(58 teachers from 5the schools in the nearby areas, A questionnaire constructed by the researcher was sent to the samples. Only 212 or 92.98 percent of all the questionnaires were returned and then, were statistically analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test and then presented in tables with explanation. Conclusions: The findings of the research were as- follows: 1.Both groups of the samples in Bangkok Metropolis and in the nearby areas used school libraries, newspapers and printed materials, maps and charts and school co-operative stores for instructional .purposes at high level. While the community resources which both groups of the samples used at low level were public libraries, filmstrips, local factories, museums, parliament, courts, ministries, meteclogical stations, other government services, entertainment centers, fishing piers, shrimp, farms, and salt marshes. The social studies teacher in Bangkok Metropolis used the provincial council fat the lowest level. The technique which both groups of the samples used, at high level was giving students assignments to join the community religous activities. On the other hand; only the samples in Bangkok Metropolis gave the students assignments or took them to join community political activities such as provincial council meeting at the lowest level. Concerning time scheduling for using community resources both groups of the samples ultilized school hours for field trips, listening to resource persons and joining community activities. They used out of school hours such as weekends or special occations for inter¬viewing community resource persons. The techniques for preparing and evaluating learning activities which both groups of the samples used at high level were making rending assignment in advance, having students write reports and take both objective and subjective tests after the activities. 2. To compare the use of community resources of both groups of the samples, it appeared to be significant different at 0.05 level concerning the kinds of community resources, techniques of using the community resources and time scheduling which disproved the hypothesis of this research. 3. The problems confronted both groups of the samples were limit of time for using community resources, the inaccuracy of evaluation, the inadequate amount of community resource personals in comparision to student numbers and the students1 lack of interests and skills. Most of the social studies teachers .agreed strongly to the advantages of joining, community resources' for the reason that the students have direct learning experiences which will encourage them to have direct experiences in knowledge searching and also promote the feeling of love and pride for their hometowns and nation
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24330
ISBN: 9745609315
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woraluck_Ra_front.pdf523.93 kBAdobe PDFView/Open
Woraluck_Ra_ch1.pdf694.75 kBAdobe PDFView/Open
Woraluck_Ra_ch2-.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Woraluck_Ra_ch3.pdf345.91 kBAdobe PDFView/Open
Woraluck_Ra_ch4.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Woraluck_Ra_ch5.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Woraluck_Ra_back.pdf876.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.