Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24362
Title: ปัญญาประดิษฐ์สาหรับการส่งบอลโด่งในเกมฟุตบอลแบบสามมิติ
Other Titles: Artificial intelligence for long ball passing in 3d football game
Authors: ณัฐวิชช์ ตัญจพัฒน์กุล
Advisors: วิษณุ โคตรจรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vishnu.K@Chula.ac.th
Subjects: ปัญญาประดิษฐ์
ฟุตบอล -- แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
เกมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การส่งบอลมีความสำคัญมากในเกมการแข่งขันฟุตบอล การตัดสินใจส่งบอลที่ถูกจังหวะ และถูกตำแหน่ง จะช่วยทำให้ทีมมีโอกาสบุกทำประตูฝ่ายตรงข้ามได้ ที่ผ่านมามีหลายงานวิจัยในโรโบคัพที่เกี่ยวข้องกับการส่งบอล แต่ว่างานวิจัยเหล่านั้นมักจะทำการทดลองโดยใช้การจำลองการแข่งขันแบบสองมิติ ทำให้การส่งบอลของปัญญาประดิษฐ์ถูกจำกัดเฉพาะการส่งบอลบนพื้นเท่านั้น ซึ่งในเกมการแข่งขันฟุตบอลจริงๆ การส่งบอลยาวหรือการส่งบอลโด่งถือว่ามีบทบาทมากไม่แพ้กัน ถ้าหากปัญญาประดิษฐ์สามารถส่งบอลได้ทั้งสองแบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความหลากหลายในการเล่นบอลได้ แม้ว่าเกมฟุตบอลในตลาดปัจจุบันนี้จะมีการแข่งขันที่สมจริง มีปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถส่งบอลได้ทั้งบนพื้น และบอลยาว แต่ว่าเทคนิคในการพัฒนาไม่ได้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ ดังนั้นงานวิทยานิพนธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอวิธีการพัฒนาการตัดสินใจส่งบอลแต่ละประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งบอลยาว ในสภาพแวดล้อมแบบสามมิติให้กับปัญญาประดิษฐ์ และนำเสนออัลกอริทึมในการคำนวณหาแรงส่งบอลที่เหมาะสม งานวิทยานิพนธ์นี้พัฒนาโปรแกรมจำลองการแข่งขันฟุตบอลแบบสามมิติขึ้นมาเองโดยใช้เครื่องมือพัฒนาเกมยูนิตี้สามดี และประยุกต์ใช้การคำนวณหาดุลยภาพสูงสุดของพาเรโตมาช่วยในการค้นหาจุดส่งบอลที่เหมาะสมสำหรับการส่งบอลบนพื้น และการส่งบอลยาว นอกจากนี้ยังนำเสนอวิธีการเลือกส่งบอลแต่ละประเภทโดยประยุกต์ใช้หลักการของไดนามิกสคริปต์ เพราะแม้ว่าปัญญาประดิษฐ์จะสามารถส่งบอลได้หลายแบบก็ตาม แต่การจะทำให้การส่งบอลมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ ปัญญาประดิษฐ์จำเป็นต้องเลือกประเภทการส่งบอลให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ณ ขณะนั้นด้วย จากสถิติผลการแข่งขันที่ได้จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นโดยใช้วิธีการที่นำเสนอมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจส่งบอลเหนือกว่าวิธีการในงานวิจัยที่ใช้อ้างอิง ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่าวิธีการที่ได้นำเสนอไปนั้นสามารถนำไปใช้ในเกมฟุตบอลจริงๆ หรือเกมกีฬาอื่นๆ ที่แข่งขันกันเป็นทีมเช่นเดียวกันได้
Other Abstract: Ball passing is very important in soccer game. Making decision to pass the ball to the right place and right time can help increasing the scoring chance for team. There are many previous researches in RoboCup which are based on ball passing. But those researches were using 2D soccer simulation. This limited AI to only pass the ball on the ground aka normal passing. In real soccer game, long ball passing also has an important role. If AI can pass the ball in both styles, it will increase the performance and will have many varieties to play soccer. Although, soccer games in today market are very realistic and AI is capable of both normal passing and long ball passing. But the development technique behind it is not proposed to the public. So, the main objective of this thesis is to propose the method to develop ball passing decision, especially long ball passing, in 3D environment for AI. We propose the algorithm to calculate suitable kicking force for ball passing. We have developed our own 3D simulation soccer using Unity3D game engine. We apply Pareto Optimality in ball passing decision in order to search for suitable passing destination for normal passing and long ball passing. Furthermore, we also propose the method to choose each passing type by applying dynamic script concept. Because, even if, AI can pass the ball in various types. But to achieve the best performance, AI must decide which passing type is more appropriate for certain situation. The results show that AI using our proposed method has better performance than AI in previous research. We believe that our proposed method can be used in real soccer game and can also be applied to other sport games which have team collaboration like soccer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24362
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1845
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1845
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattawit_ta.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.