Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24372
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ อุดมศรี
dc.contributor.authorสมบุญ บุญดีกุล
dc.date.accessioned2012-11-16T16:56:59Z
dc.date.available2012-11-16T16:56:59Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745637998
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24372
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สต.บ)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractทุกวันนี้ คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหางานด้านต่างๆ ทั้งทางภาคเอกชนและรัฐบาลมากขึ้น ทำให้มีผู้นิยมหันมาใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายเป็นเหตุให้บริษัทต่างๆ ได้พยายามผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีราคาถูกขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อนและสามารถทำงานได้ดี นั่นคือ ไมโครคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีการผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับ ความสะดวกมากขึ้น ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมทางด้านธุรกิจ ส่วนโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการนำไปใช้งานยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร การศึกษาครั้งนี้มุ่งจะศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการพยากรณ์ข้อมูล 3 โปรแกรม คือ โปรแกรม STATPAK ที่ใช้กับไม่โครคอมพิวเตอร์เวคเตอร์ (VECTOR) โปรแกรม STATISTICS with DAISY และโปรแกรม TSER3 ที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แอปเปิล ทู (APPLE II) โดยศึกษาการเรียกใช้ การป้อนข้อมูล วิธีการพยากรณ์ข้อมูล ผลที่ได้ ตลอดจนการแปลผลลัพธ์ในแต่ละโปรแกรม ผลจากการศึกษาพอสรุปได้ว่า โปรแกรม STATPAK กับโปรแกรม STATISTICS with DAISY มีวิธีการพยากรณ์ข้อมูลในลักษณะเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คือ การพยากรณ์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบเชิงเส้น (Multiple linear regression analysis) และการวิเคราะห์แนวโน้มในรูปแบบต่างๆ แต่โปรแกรม STATISTICS with DAISY สามารถทำการประมวลผลข้อมูลได้มากกว่า และผลลัพธ์ที่ได้ ง่ายต่อการวิเคราะห์และแปลผล ส่วนโปรแกรม TSER3 เป็นโปรแกรมที่เหมาะในการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา คือ การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค (Classical Time Series Analysis) และการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการทำให้เรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียล (Exponential Smoothing Technique) ในการพยากรณ์ข้อมูล สำหรับการพยากรณ์ข้อมูลที่ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบเดียวกันของทั้ง 3 โปรแกรมไม่แตกต่างกัน เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละโปรแกรมยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอแนะว่าถ้าเป็นไปได้ควรจะมีการแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมแต่ละชนิดให้แสดงผลลัพธ์ที่จำเป็น สะดวกในการวิเคราะห์และแปลผลยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงโปรแกรม STATPAK ที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์เวคเตอร์ให้สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แอปเปิลทู เพื่อที่จะทำให้ไม่มีความแตกต่างในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
dc.description.abstractalternativeNowadays, computer has an important role in solving problems in many fields both private companies and government offices. Tendency in using computer has been increasing continuously. Therefore many companies try to make computer that is cheap, easy to use but high efficiency called Microcomputer. Package-programs for Microcomputer are made in order that user can use them more convenient. Most package-programs are for business but the package-programs for statistics are not widely use. This thesis is to study 3 package-programs for Statistics for forecasting data: STATPAK program for VECTOR Microcomputer, STATISTICS with DAISY and TSER3 programs for APPLE II Microcomputer. The study included data recalling, data input, method for forecasting data and interpretation of the results in each program. The results of the study can be concluded that STATPAK program and STATISTIC with DAISY program have the same method in forecasting data by using multiple linear regression analysis and analytical trend in many forms. But STATISTICS with DAISY can deduce much more data results and the results are easier to analyse and interpret. The TSER3 program is suitable for analysis of time series data that is classical time series analysis as well as analyse by using exponential smoothing technique in forecasting data. For forecasting data that use the same analytical method of the 3 programs is not different. Since the result of each program is not Complete. I would like to suggest that it should improve each package-program in order to produce the necessary results for more convenient to analyse, interpret and modify the STATPAK program with is used VECTOR Microcomputer and this is also eligible for Apple II Microcomputer so that There is no difference in Microcomputer.
dc.format.extent598231 bytes
dc.format.extent441029 bytes
dc.format.extent295004 bytes
dc.format.extent874496 bytes
dc.format.extent3963388 bytes
dc.format.extent303074 bytes
dc.format.extent678980 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการพยากรณ์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์en
dc.title.alternativeData forecasting using package-programs for microcomputeren
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถิติes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somboon_Bo_front.pdf584.21 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_Bo_ch1.pdf430.69 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_Bo_ch2.pdf288.09 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_Bo_ch3.pdf854 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_Bo_ch4.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_Bo_ch5.pdf295.97 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_Bo_back.pdf663.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.