Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24461
Title: การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ในภาคกลาง
Other Titles: A study on cost and return on investment of fish (Tilapia Nilotica Linnaeus) culture in earthen ponds in the Central Plain
Authors: แก้วตา แสงพันธุ์
Advisors: สะเทื้อน ปิ่นน้อย
บุญเสริม วิมุกตะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันจำนวนประชากรของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ปลาซึ่งเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาตินั้นมีจำกัดและไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสนใจกับการแสวงหาผลผลิตปลามากขึ้น ผลผลิตปลาน้ำจืดจึงเป็นผลผลิตที่สามารถหามาทดแทนความต้องการดังกล่าวได้ง่าย โดยเฉพาะ “ผลผลิตปลานิล” เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการมาก ดังนั้นในปัจจุบันปลานิลจึงกลายเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการลงทุน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค ในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินในเขตภาคกลาง โดยได้ทำการศึกษาในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนครปฐม ข้อมูลที่ทำการศึกษาครั้งนี้ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 50 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และขนาดฟาร์มจัดแบ่งเป็น 3 ขนาด คือ ฟาร์มขนาดเล็ก (2-4 ไร่) จำนวน 15 ตัวอย่าง ฟาร์มขนาดกลาง (มากกว่า 4-10 ไร่) จำนวน 19 ตัวอย่าง และฟาร์มขนาดใหญ่ (มากกว่า 10-40 ไร่) จำนวน 16 ตัวอย่าง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลในปีการผลิต 2525 ผลการศึกษาปรากฏว่า ในปีการผลิต 2525 เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลมีเงินลงทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 83,981.25 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 11,073.21 บาท รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 59,317.64 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 7,110.85 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 74,121.13 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 9,597.40 บาท ทำให้เกิดผลขาดทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 14,803.49 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 2,486.56 บาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินขาดทุน เนื่องจากได้นำต้นทุนค่าเสียโอกาส อันได้แก่ ค่าแรงงานในครัวเรือน ค่าเช่าที่ดิน และค่าดอกเบี้ยเงินทุนส่วนตัวมาคำนวณต้นทุนด้วย จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงปลานิลค่อนข้างสูง ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินคือ ปัญหาปลาสูญหาย ปัญหาพันธุ์ปลานิลลูกผสม ปัญหาปลานิลมีราคาขายต่ำ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาอาหารปลานิลแพง และปัญหาเกษตรกรขาดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลภาครัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาอาชีพนี้ต่อไป ในการแก้ไขปัญหาผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล ก. เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ปรับปรุงการเลี้ยงปลานิล เช่น การคัดเลือกพันธุ์ปลา และการกำจัดศัตรูของปลานิลในบ่อ เป็นต้น ข. เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรหาทางลดค่าอาหารปลาโดยการเลี้ยงแบบผสมผสาน (Integrated Culture) ได้แก่ การเลี้ยงปลานิลร่วมกับสุกร หรือเป็ด หรือไก่ ค. เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลเพื่อจะได้มีอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลางมากยิ่งขึ้น ง. ในการขยายการผลิตนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรจะพิจารณาเพิ่มปัจจัยการผลิต ได้แก่ จำนวนแรงงาน ค่าอาหารปลา ให้มีจำนวนที่ได้สัดส่วนกับขนาดเนื้อที่บ่อที่ขยายเพิ่มเติมออกไป 2. ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐบาล ก. รัฐบาลควรช่วยเหลือด้านเงินทุน โดยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาคืนเงินกู้ยาวนานพอสมควร มีระยะเวลาปลอดหนี้ในช่วงการกู้ยืมระยะแรก รวมทั้งการให้ความสะดวกรวดเร็วในการให้กู้ยืมด้วย ข. รัฐบาลควรจัดส่งนักวิชาการไปให้ความรู้ทางด้านวิชาการสมัยใหม่แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตปลานิลให้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาเลี้ยงปลานิลในบ่อดินดังกล่าว ถ้าได้รับการแก้ไขและได้รับความร่วมมืออย่างดีพร้อมกันทุกฝ่ายแล้ว จะทำให้การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินสามารถพัฒนากลายมาเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของประชาชนต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24461
ISBN: 9745640506
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kaewta_Sa_front.pdf700.82 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch1.pdf586.64 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch5.pdf472.56 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_ch6.pdf345.55 kBAdobe PDFView/Open
Kaewta_Sa_back.pdf473.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.