Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2447
Title: ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติของผู้ป่วยโรคลูปุสในประเทศไทย
Other Titles: Dyslipidemia in patients with systemic lupus erythematosus in Thailand
Authors: บุญจริง ศิริไพฑูรย์
Advisors: มนาธิป โอศิริ
วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Manathip.O@Chula.ac.th
Varaphon.V@Chula.ac.th
Subjects: โคเลสเตอรอล
โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง--ผู้ป่วย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยโรคลูปุสและคนปกติที่มีเพศ วัย และดัชนีชี้วัดมวลกายเดียวกัน วิธีการศึกษา เจาะเลือดผู้ป่วยโรคลูปุสและคนปกติทั้งหมด 93 คู่หลังจากอดอาหาร 12 ชั่วโมง นำมาตรวจระดับไขมันในเลือดชนิดต่างๆ ได้แก่ total cholesterol (TC) triglyceride (TG) high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) และ low density lipoprotein cholesterol (LDL-C) เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิก อาการแสดงของโรคลูปุส ตัววัดอาการกำเริบของโรค (MEX-SLEDAI) ตัววัดความเสื่อมสภาพของโรค (SLICC-ACR) การรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ รวมทั้งประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ผ่านมา ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคลูปุสมีค่าเฉลี่ยระดับ TG สูงมากกว่าคนปกติ (113.3 +- 59.5 และ 77.7 +- 45.7 มก./ดล.ตามลำดับ) และมีค่าเฉลี่ยของระดับ HDL-C ต่ำกว่าคนปกติ (49.7 +- 12.7และ 65.0 +-14.8 มก./ดล.ตามลำดับ) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปุสมีสัดส่วนของคนที่มีระดับ HDL-C ต่ำกว่า 35 มก./ดล. คิดเป็นร้อยละ 9.7 ในขณะที่กลุ่มคนปกติไม่มีเลย ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนระดับ TC และ LDL-C นั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม โดยในการศึกษานี้ไม่มีผู้ป่วยคนใดเลยที่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด การใช้ยาต้านมาลาเรียในผู้ป่วยโรคลูปุสช่วยลดภาวะ TC สูงและ LDL-C สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลสรุป ผู้ป่วยโรคลูปุสมีภาวะระดับไขมันบางชนิดในเลือดผิดปกติมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น การรักษาควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ดีอาจจะช่วยลดอัตราการตายจากภาวะเหล่านี้ได้
Other Abstract: Objective. To compare the proportion of dyslipidemia in patients with SLE with the sex-, age- and BMI- matched controls. Methods. Fasting blood samples taken from 93 pairs of outpatient SLE women and matched controls were assessed for total cholesterol (TC), triglyceride (TG), HDL- and LDL-cholesterol. Demographic data, clinical manifestations, MEX-SLEDAI activity scores, SLICC/ACR damage index, drug treatment and cardiovascular events were reviewed in the SLE group. Results. A significant elevation of TG levels was observed in SLE patients compared to controls (mean +- SD 113.3 +- 59.5 vs 77.7 +- 45.7 mg/dl, p<0.01). The HDL-C level was significantly lower in SLE patients than controls (mean +- SD 49.7 +- 12.7 vs 65.0 +- 14.8 mg/dl, p<0.01). The percentage of samples with low HDL-C (<35 mg/dl) was also higher in the SLE group (9.7% vs 0%, p<0.01). There was no significant difference in the LDL-C and TC levels in both groups. No history of cardiovascular event was identified at the time of study. The uses of antimalarial drugs were negatively associated with high TC and high LDL-C levels. Conclusions. Abnormality in lipid levels in SLE patients has been obviously detected. Dyslipidemia is not uncommon in SLE patients. It is one of the modifiable risk factors for cardiovascular diseases. Strict control of dyslipidemia may help decrease the morbidity and mortality from these diseases in SLE patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2447
ISBN: 9741730985
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonjing.pdf882.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.