Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24505
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิกรม คุ้มไพโรจน์-
dc.contributor.authorผะอบ จึงแสงสถิตย์พร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-19T03:27:28Z-
dc.date.available2012-11-19T03:27:28Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24505-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาการขุดคอคอดกระในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1851 – 1939 หรือ พ.ศ. 2394 – 2482 ) อันเป็นช่วงระยะเวลาที่โครงการขุดคลองผ่านคอคอดกระเพื่อเชื่อมอ่าวเบงกอลเข้ากับอ่าวไทย ได้รับการกล่าวขวัญถึงบ่อยที่สุด ทั้งนี้เพราะการขุดคลองจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจที่มีผลประโยชน์อยู่ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น การศึกษาครั้งนี้ก็เพื่ออธิบายสาเหตุแห่งการเสนอโครงการและสาเหตุแห่งความล้มเหลว ทั้งนี้โดยศึกษาท่าทีของไทย และมหาอำนาจทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังทำการศึกษาปัญหาการขุดคลองกระในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงปัจจุบันพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาปัญหาการขุดคลองกระในอนาคต การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยหลักฐานชั้นต้นซึ่งเป็นเอกสารทางราชการของไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย ซึ่งเก็บรักษาอยู่ตามสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทยและประเทศอังกฤษ และเอกสารชั้นรองซึ่งได้จากวิทยานิพนธ์และบทความที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์นี้มีทั้งหมด 7 บท บทที่ 1 เป็นการศึกษาแนวความคิดของบุคคลต่าง ๆ ในการขุดคอคอดกระในระยะเริ่มแรกจนกระทั่งสิ้นรัชกาลที่ 4 บทที่ 2 แสดงให้เห็นความสนใจของชาติตะวันตกในการขุดคอคอดกระ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ บทที่ 3-4-5 เป็นการศึกษาโครงการขุดคอคอดกระตั้งแต่ ค.ศ. 1881 – 1910 (พ.ศ. 2424 – 2453) ซึ่งแสดงให้เห็นความพยายามของฝรั่งเศสที่จะขอสัมปทานขุดคลองจากรัฐบาลไทย ในขณะที่อังกฤษพยายามดำเนินการคัดค้านอย่างแข็งขัน สำหรับรัฐบาลไทยนั้นพยายามบ่ายเบี่ยงการยกสัมปทานขุดคลองครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายเพื่อความอยู่รอดของชาติเป็นสำคัญ บทที่ 6 เป็นการศึกษาปัญหาการขุดคอคอดกระในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่าง ค.ศ. 1934 – 1936 (พ.ศ. 2477 – 2479) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คอคอดกระมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์มาก และเป็นช่วงเดียวกันกับที่ปรากฏข่าวลือกระจายไปทั่วโลกว่าญี่ปุ่นขอสัมปทานขุดคลองจากรัฐบาลไทย บทที่ 7 เป็นการศึกษาโครงการขุดคลองกระในปัจจุบันซึ่งชี้ให้เห็นสาเหตุของการรื้อฟื้นโครงการขุดคลองกระของรัฐบาลและเอกชน ท้ายที่สุดเป็นการสรุปเหตุและผลที่โครงการได้รับการเสนอครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ต้องประสบความล้มเหลวตลอดมารวมทั้งวิเคราะห์ท่าทีของรัฐบาลไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวและชี้ให้เห็นความสำคัญของการขุดคลองกระที่มีต่ออธิปไตยของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางเลือกเพื่อการพิจารณาโครงการขุดคลองกระในอนาคตด้วย-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying the Kra Canal issues in Thai history from the reign of King Rama IV to World War II (1851-1939). During that period the proposed Kra Canal projects across the Isthmus of Kra were important issues, because if and when the projects were approved by the Siamese Government they would politically, economically and strategically effect the powers especially Great Britain, France and Japan, which had interests in this area. Furthermore this research seeks to explain the causes and effects of each proposed project and their failure as a result of the conflicting interests of participant powers. Kra Canal issues after World War II to the present day (1945-1976) are also discussed in this thesis which will serve as guidelines for any new proposal for “the Kra Canal project” in the future. This thesis has made use of both the primary sources and the secondary sources. The primary sources include Thai and [English] documents as well as the Russian documents which are obtainable in English. The secondary sources comprise books, periodicals, and thesis bearing on the topic of this research. The thesis consists of seven chapters. Chapter I presents the conflicting ideas of different people who proposed for the construction of the canal across the Isthmus of Kra. It covers from the beginning to the end of the reign of King Rama IV. Chapter II reviews the interest of the Western Powers, especially the British in constructing the Kra Canal during the reign of King Rama IV. Chapter III, IV and V illustrate the planning of the Kra Canal project during 1881 – 1910. It also shows that the French government tried hard to obtain a concession, while the British government absolutely opposed any concession to the French. Throughout the period, the Thai Government refused to give concession to any Western Powers. Chapter VI analyses the proposed Kra Canal projects from World War I to World War II. Between 1934 – 1936 the Kra Canal project created series of diplomatic repercussions, because there was a rumour that Japan was constructing the canal across the Isthmus of Kra. Chapter VII discusses the revival of the Kra Canal project in the present day by the Thai government and private enterprise. It also analyses the reactions of various, governments which have been involved in this problem. Finally it recommends a solution to the problems of constructing the Kra Canal in the future.-
dc.format.extent1079625 bytes-
dc.format.extent1212152 bytes-
dc.format.extent2124643 bytes-
dc.format.extent1604641 bytes-
dc.format.extent1877759 bytes-
dc.format.extent2391017 bytes-
dc.format.extent1493937 bytes-
dc.format.extent3504338 bytes-
dc.format.extent2448197 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleปัญหาการขุดคอคอดกระ (พ.ศ. 2394-2482)en
dc.title.alternativeThe "Kra Canal" issues 1851 - 1939en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pa-op_Ch_front.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch1.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch2.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch4.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch5.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_ch7.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Pa-op_Ch_back.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.