Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24517
Title: ความคิดเห็นของครูพลศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
Other Titles: Physical education teachers' opinions concerning problems of teaching physical education in lower co-educational secondary schools under the department of general education
Authors: พงษ์ศักดิ์ ภูมิฟื้น
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูพลศึกษา เกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปยังครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 600 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 552 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.00 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า “ซี” ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรพลศึกษา พ.ศ. 2521 และจุดประสงค์รายวิชาบังคับพลศึกษา ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาประสบปัญหามาก ได้แก่ นักเรียนไม่สามารถปฏิบัติหรือมีทักษะตามวัตถุประสงค์และจุดประสงค์ได้ และวัตถุประสงค์มีมากเกินไป ความคิดเห็นของครูพลศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษารายวิชาบังคับทุกวิชาตามหลักสูตร พ.ศ. 2521 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาประสบปัญหามาก คือ ด้านอุปกรณ์และสถานที่ เกี่ยวกับไม่มีห้องเปลี่ยนชุดกีฬา และไม่มีที่ดื่มน้ำหรือที่ทำความสะอาดร่างกาย ด้านการวัดผลและประเมินผล เกี่ยวกับเวลาวัดผลในชั่วโมงเรียนไม่เพียงพอ ด้านครูพลศึกษา เกี่ยวกับครูพลศึกษาไม่เพียงพอ และครูพลศึกษาขาดโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ส่วนปัญหาที่ประสบมากแตกต่างกันในรายวิชาบังคับแต่ละรายวิชา ได้แก่ รายวิชายืดหยุ่นประสบปัญหามากด้านอุปกรณ์และสถานที่ เกี่ยวกับอุปกรณ์การสอนไม่เพียงพอ สถานที่สอนไม่เหมาะสม ด้านเนื้อหาวิชาไม่เอื้ออำนวยในการจัดการแข่งขัน รายวิชาตะกร้อประสบปัญหามาก ด้านนักเรียน เกี่ยวกับนักเรียนหญิงเรียนทักษะใหม่ ๆ ได้ช้ากว่านักเรียนชาย ด้านอุปกรณ์และสถานที่ เกี่ยวกับอุปกรณ์การสอนชำรุดง่าย ด้านเนื้อหาวิชา เกี่ยวกับจัดกิจกรรมการสอนให้ทั้งสองเพศพร้อมกันได้ยาก รายวิชาบาสเกตบอลประสบปัญหามากด้านอุปกรณ์และสถานที่ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ชำรุดซ่อมแซมใหม่ได้ยาก ด้านนักเรียน เกี่ยวกับนักเรียนหญิงเรียนทักษะใหม่ ๆ ได้ช้ากว่านักเรียนชาย รายวิชาเทเบิลเทนนิสประสบปัญหามากด้านอุปกรณ์และสถานที่ เกี่ยวกับอุปกรณ์การสอนไม่เพียงพอ และสถานที่ไม่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูพลศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในระดับอำเภอกับระดับตำบลพบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
Other Abstract: The objective of this research was to study the physical education teachers’ opinion concerning problems of teaching physical education in lower co-educational secondary schools under the department of general education. Questionnaires were constructed and sent to 600 physical educational teachers in lower co-educational secondary school under the Department of General Education. Five hundred and fifty two or 92.00 percent of all questionnaires were returned. The data were analyzed in terms of percentages, means, standard deviations, and Z-test. It was found that :- The mains problems concerning objectives of physical education curriculum in B.E. 2521 and instructional objectives of physical education in requirement courses were students could not practice or had skills according to the objectives and instructional objectives and had too many objectives. The physical education teachers’ opinion concerning problems of teaching physical education of all requirement courses in lower co-educational secondary schools under the Department of General Education which faced high level were equipment and place which caused by the lack of locker and dressing room, shortage of bath room and drinking water place. There was not enough time in teaching evaluation. There were not enough physical education teachers. Teachers had no chance to improve their higher academics. The high level problems which were different from the required courses were, the stunt and tumbling which the equipment and place were insufficient and unsuitable teaching place. The course content did not support for the competition situation. In Takraw, girls learned new skill slower than boys. The equipment were damaged easily. It was difficult to arrange co-educational activities in Takraw. In Basketball, it was difficult to repair damaged equipment. The girls learned new skill slower than boys. In Table tennis, there was insufficient in the equipment and place and unsuitable teaching place. The was a significant difference at the .01 level between the opinion of physical education teachers in Ampur and in Tumbon schools concerning problems of teaching physical education in lower co-educational secondary schools under the department of general education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24517
ISSN: 9745637335
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsak_Po_front.pdf738.92 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Po_ch1.pdf928.87 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Po_ch2.pdf700.12 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Po_ch3.pdf307.84 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Po_ch4.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Po_ch5.pdf873.2 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Po_back.pdf863.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.