Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24562
Title: การเปรียบเทียบสังคมนกระหว่างพื้นที่ชายป่าและในป่าของป่าเบญจพรรณพื้นที่เขาวังเขมร อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Comparison of bird communities between forest edge and forest interior of mixed deciduous forest, Khao Khamen, Amphoe Sai-Yok, Changwat Kanchanaburi
Authors: พรชัย อุทรักษ์
Advisors: วีณา เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปรียบเทียบความแตกต่างของสังคมพืช โดยพิจารณา จำนวนชนิด ความหลากหลายของชนิด ความหนาแน่น ความคล้ายคลึงกัน รวมถึงความหนาแน่นของลำต้นแต่ละขนาด และการแบ่งชั้นความสูงเรือนยอดของไม้ต้น ระหว่างพื้นที่ชายป่าและในป่าของป่าเบญจพรรณที่เป็นป่ารุ่น ณ เขาวังเขมร อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 ถึงเดือนสิงหาตม พ.ศ. 2544 โดยใช้วิธดีวางแปลงสำรวจพบว่ามีพืช 141 ชนิด พบในป่า 119 ชนิด และชายป่า 96 ชนิด ดัชนีความคล้ายคลึงกันด้านชนิดของพืชสองพื้นที่เท่ากับ 0.86 ค่าเฉลี่ยจำนวนชนิดของไม้พุ่มและไผ่ และความหนาแน่นของไม้พื้นล่างและไผ่ของทั้งสองบริเวณมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) จำนวนชนิดของไม้ต้นและไม้พื้นล่าง ความหนาแน่นของไม้ต้นและไม้พุ่มรวมถึงขนาดลำต้นและความสูงของไม้ต้นของทั้งสองบริเวณไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ จากการสำรวจสังคมนก 3 เส้นทางสำรวจ เส้นทางละ 2 กิโลเมตร พบนกทั้งหมด 118 ชนิด เป็นที่พบในชายป่า 95 ชนิด ในป่า 97 ชนิด จำนวนชนิดเฉลี่ยในพื้นที่ชายป่าเท่ากับ 65.00 ± 5.00 ชนิด และในป่าเท่ากับ 64.00 ± 3.22 ชนิด ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยในพื้นที่ชายป่า เท่ากับ 62.94 ± 2.18 ตัว/เฮกแตร์ และในป่าเท่ากับ 58.25 ± 1.38 ตัว/เฮกแตร์ ดัชนีความหลากหลายของชนิดนกในพื้นที่ชายป่ากับพื้นที่ในป่าเท่ากับ 3.54 และ 3.45 ตามลำดับ ดัชนีความคล้ายคลึงกันของชนิดนกในสองพื้นที่เท่ากับ 0.77 นอกจากนี้มีนกจำนวน 21 ชนิดแลที่พบเฉพาะพื้นที่ชายป่า และ 23 ชนิดพบเฉพาะพื้นที่ในป่า จากการวิเคราะห์จำนวนชนิดและความหนาแน่นของนกตามกลุ่มการกินอาหารและเปรียบเทียบความแตกต่างในสองพื้นที่ พบว่ากลุ่มนกกินแมลงตามใบไม้มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นมากที่สุดในทั้งสองพื้นที่ และกลุ่มนกที่มีความแตกต่างทางสถิติ (p ≤ 0.05) สำหรับพื้นที่ในป่า พบกุล่มนกกินผลไม้บนต้น กลุ่มนกกินแมลงตามเปลือกไม้ และกลุ่มนกกินสัตว์ละผลไม้ มีค่าเฉลี่ยจำนวนชนิดมากกว่าชายป่า กลุ่มนกกินสัตว์และผลไม้มีความหนาแน่นมากกว่าชายป่า สำหรับพื้นที่ชายป่า พบกลุ่มนกร่อนกินแมลงระยะไกล และกลุ่มนกกินแมลงผลไม้และเมล็ดธัญพืช มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นมากกว่าในป่า เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยทางกายภาพกับค่าเฉลี่ยจำนวนชนิด พบว่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลุ่มนกกินแมลงตามพื้น แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับกลุ่มนกกินแมลงและน้ำหวาน และกลุ่มนกกินเมล็ดพืช อุณหภูมิเฉลี่ยมีความสัมพันธ์เชิงลบกับกลุ่มนกกินปลาและสัตว์น้ำ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลุ่มนกกินสัตว์ตามพื้น ส่วนปริมาณน้ำฝนมีความสัมพันธ์กับกลุ่มนกร่อนกินแมลงระยะไกล ผลการศึกษาสรุปได้ว่าความแตกต่างกันของสังคมนกระหว่างสองพื้นที่ มีผลมาจากความแตกต่างกันของโครงสร้างสังคมพืช การกระจายของแหล่งอาหาร ความผันแปรของปัจจัยสิ่งแวดล้อมตามฤดูกาล และพฤติกรรมการกินอาหารของนก
Other Abstract: The comparative study on plant communities by considering on species richness, density, similarity index, density of trunk sizes and height of trees between the forest edge and the forest interior of mixed deciduous forest at Khao Wang Kha Men, Amphoe Sai-Yok, Changwat Kanchanaburi between September 2000 to August 2001 was conducted. The similarity index of the two plant communities was 0.86. Species richness of the shrub and bamboo and density of the ground cover and bamboo of two areas were significantly different. However, the significant differences in species richness of the tree and ground cover, density of the tree and shrub as well as the trunk size and the height of the tree between two areas were not found. A total of 118 bird species were found in both areas, in which 95 species were found at the forest edge while 97 species were found at the forest interior. Averages of species richness and density of birds in the forest edge were 65.00 ± 5.00 and 62.94 ± 2.18 birds/ha, respectively while those of the forest interior were 64.00 ± 3.22 and 58.25 ± 1.38 birds/ha, respectively. Diversity index of the forest edge was 3.54 and of the forest interior was 3.45. Similarity index of the bird community was 0.77 in which the foliage-gleaning insectivores were highest in density and number of species. There were 21 species found only in the edge area while other 23 species were found in the forest interior. At the interior, there were higher in species richness of the arboreal frugivore, gleaning insectivore and arboreal faunivore/ frugivore as well as the density of arboreal faunivore while there were more abundance of sallying insectivores and terrestrial insectivores at the forest edge. Positive relationships were found between relative humidity and species richness of the terrestrial insectivore/granivore/frugivore birds as well as the temperature and the species richness of terrestrial insectiovres. Negative relationships were found between relative humidity and species richness of the insectivore/nectarivore and granivore. It can be concluded that differences in the bird distribution and abundance between these two areas are determined by the differences in vegetation structure, distribution of food resources, climatic factors and foraging habits of birds.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24562
ISBN: 9741713649
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornchai_ut_front.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_ut_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_ut_ch2.pdf7.27 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_ut_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_ut_ch4.pdf12.46 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_ut_ch5.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_ut_back.pdf24.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.