Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2461
Title: การขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นในคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย
Other Titles: Beta-2 microglobulin clearance in end-stage renal disease Thai patients by on-line hemodiafiltration
Authors: อัญชนะ พานิช, 2512-
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
เกรียง ตั้งสง่า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ไตวายเรื้อรัง
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในภาวะไตวายเรื้อรังจะมีของเสียโมเลกุลใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเบต้าทูไมโครโกลบูลินคั่งในร่างกายและเชื่อว่าอาจก่อในเกิดความเจ็บป่วยตามมา การขจัดสารเหล่านี้ออกจากร่างกายด้วยการวิธีการฟอกเลือกในปัจจุบัน (high-flux hemodialysis) มีประสิทธิภาพต่ำ วิธีการฟอกเลือดที่เรียกว่า ออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น (On-line hemodiafiltration) สามารถขจัดสารที่มีขนาดใหญ่ได้ดีกว่า รวมถึงสารเบต้าทูไมโครโกลบูลิน ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการฟอกเลือดวิธีนี้ในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นและศึกษาขนาดของอัตราและวิธีการให้สารน้ำที่เหมาะสมในคนไทย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 10 ราย เป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน (อายุเฉลี่ย 58+14 ปี) สาเหตุของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจากโรคเบาหวาน 2 คน ภาวะความดันโลหิตสูง 2 คน เอส แอล อี 1 คน ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน 1คน โรคถุงน้ำในไต 1 คน RPGN 1 คนและไม่ทราบสาเหตุ 2 คน ผลการศึกษาพบว่าการให้สารน้ำตำแหน่งหลังตัวกรองในอัตรา 125 มิลลิลิตรต่อนาที มีอัตราการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลิน 124+-13 มิลลิลิตรต่อนาที มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อเทียบกับการให้สารน้ำในอัตรา 75 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งมีอัตราการขจัด 102+-13 มิลลิลิตรต่อนาทีและมากกว่าการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูง (high-flux hemodialysis) ซึ่งมีอัตราการขจัด 45+-8 มิลลิลิตรต่อนาที (p<0.0001) และพบว่าการขจัดที่เกิดจากการดูดซับตัวกรองไม่แตกต่างกันระหว่างการให้สารน้ำทั้งสองวิธี (48+-22 และ 44+-16 มิลลิลิตรต่อนาทีในอัตรา 125 และ 75 มิลลิลิตรต่อนาทีตามลำดับ, p >0.05) กล่าวโดยสรุป การให้สารน้ำตำแหน่งหลังตัวกรองในอัตราประมาณ 125 มิลลิลิตรต่อนาทีมีความเหมาะสมสำหรับคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและการขจัดของสารเบต้าทู ไมโครโกลบูลินเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของสารน้ำที่เพิ่มขึ้น
Other Abstract: Retention of LMWUT including Beta-2 microglobuin (beta-2 m) in hemodialysis patients could increase cardiovascular morbidity and mortality. On-line HDF could effectively remove more beta -2 m than standard high-flux hemodialysis (HFHD). There are no available data of on-line HDF in Thailand. On-line HDF was performed in 10 patients (males = 5, females = 5) who had received HFHD for a least 6 months. The values of beta -2 m clearance when the fluid replacement rates were 75(HDF75) and 125(HDF125) ml/min were determined and compared with baseline. There were no significant differences in basic hemodialysis data among HDF75, HDF125 and baseline groups. The values of beta -2 m clearance in HDF75 were 102+-13 ml/min which were significantly higher than 45+-9 ml/min at baseline (p<0.0001). In HDF125, the values of beta -2 m clearance were further elevated to 125+-14 ml/min(p<0.001 vs HDF75; p<0.0001 vs baseline). On-line HDF provides salutary beta -2 m elimination, the magnitude of which is directly correlated tothe rates of fluid replacement. Long-term treatment with on-line HDF would prolong survival of hemodialysis patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2461
ISBN: 9741742665
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchana.pdf830.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.