Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24691
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังทางครอบครัว กับสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between family background and social studies learning achievement of mathayom suksa one students, Bangkok Metropolis
Authors: สมพิศ เจียมศักดิ์ศรี
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้ปกครองกับเด็ก
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
นักเรียนมัธยมศึกษา -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาภูมิหลังทางครอบครัวและสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังทางครอบครัวกับสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2528 ของโรงเรียนรัฐบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้เรียนวิชาสังคมศึกษา ส 101, ส 102 มาแล้วจำนวน 180 คน ซึ่งเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 180 คน ที่ได้คัดเลือกไว้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบเพื่อวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ส 101, ส 102 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นแบบสอบแบบเลือกตอบ 100 ข้อ มีค่าความเที่ยง 0.67 และแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดตัวเลือกไว้แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ และทดสอบค่าไคสแควร์ ( X^2) ผลของการวิจัย 1. สภาพภูมิหลังทางครอบครัวของนักเรียน บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ มีสัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ประมาณ 1,000 – 3,000 บาทต่อเดือน บิดา มารดาอยู่ด้วยกันนักเรียนส่วนใหญ่มีพี่น้องสี่คน และเป็นบุตรคนโต บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ ดูแลเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดี เมื่อเจ็บป่วยพาไปหาแพทย์ พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นในประเทศหรือในโลกและมอบหมายงานบ้านให้ทำบ้างแต่ไม่กำหนดเวลาให้แน่นอน เกี่ยวกับด้านการเรียนนั้น บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ไม่จัดแบ่งตารางเวลาให้นักเรียนสำหรับทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน แต่จะตักเตือนหรือตรวจดูสมุดการบ้านเป็นบางครั้ง และเมื่อมีปัญหาทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาหรือทำการบ้านไม่ได้ ก็คอยช่วยเหลือ โดยอธิบายหลักการให้ และให้นักเรียนมีเวลาทบทวนบทเรียนเพิ่มมากขึ้น ให้กำลังใจ โดยการพูดชมเชย หรือให้รางวัลเมื่อนักเรียนประสบความสำเร็จทางการเรียน บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 แต่คาดหวังให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่สูงกว่าตนคือ ระดับปริญญาตรี 2. สัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา นักเรียนส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 49.44 มีสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาอยู่ในกลุ่มต่ำ รองลงมาคือร้อยละ 31.67 อยู่ในกลุ่มกลาง และส่วนน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 18.89 อยู่ในกลุ่มสูง 3. ภูมิหลังทางครอบครัวมีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในเรื่องต่อไปนี้ สัญชาติ ศาสนา รายได้ สถานภาพการสมรสของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง การที่ผู้ปกครองพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นในประเทศหรือในโลก ความคาดหวังทางการเรียนของผู้ปกครองต่อการศึกษาของบุตร การจัดแบ่งเวลาให้นักเรียนทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน การช่วยเหลือเมื่อนักเรียนมีปัญหาในการเรียนและทำการบ้านวิชาสังคมศึกษาไม่ได้ และการที่ผู้ปกครองไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนักเรียน และความสัมพันธ์ดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่องต่อไปนี้ การศึกษา อาชีพ ความเกี่ยวข้องของผู้ปกครองกับนักเรียน จำนวนพี่น้องในครอบครัวการกำหนดเวลาให้ทำงานบ้านตามหน้าที่ที่มอบหมาย
Other Abstract: The purposes : 1. To study the family background and social studies learning achievement of mathayom suksa one students in Bangkok Metropolis. 2. To study the relationships between the family background and social studies learning achievement of the students. Procedures : The population samples were 180 mathayom suksa one students in academic year 1985 in public schools in Bangkok Metropolis which were simple randomly sampled, and the 180 students’ parents. The social studies learning achievement test with 100 multiple choice items and a reliability of 0.67, and an interview form on students’ family background. Then the test, and the interview form were employed to secure the sampled students’ social studies learning achievement and the students’ family background from the students’ parents. The obtained data were analyzed by means of percentage and Chi square. Findings : 1. The student’s family backgrounds were as follows : Most of the students’ parents have Thai nationality. They were Buddhists. They were employee. Their income was around 1,000 – 3,000 bath per month. Most of the students’ fathers and mothers lived together and had four children in the family. Most students were the eldest child. Most parents took a good care of their children. They took the students to see the doctor when they were sick. They talked with each other on domestic and world current events. Most parents did not fix the students’ household duties. Concerning the students’ study, most parents did not set schedule for their homework or lesson review but they reminded them or checked their homework sometimes. They helped the students solve problems in social studies learning by giving explanation and gave them more time for studying. They praised or gave rewards to the students when they succeeded in learning. Most parents finished pratom suksa four of education. They expected the students to have higher level of education than theirs and up to a bachelors’ degree level. 2. The students’ learning achievement. The students were classified into three groups according to the test scores they earned : 49.44 percent or the students was in the high achievement score group, 31.67 percent was in the average group and 18.89 percent was in the low achievement group. 3. The relationships between family background and social studies learning achievement were positively significant at the 0.01 level in the following parental backgrounds : nationality, religion, income, marital status, talk on domestic and world current events, expectation for the students’ education, schedule set for students’ homework or lesson review, help for solving problems in social studies learning and the parents’ meeting with the students’ advisors, and the relationship between family background and social studies learning achievement were positively significant at the 0.05 level in the following backgrounds of their parents : education, vocation personal relationship between the students and their parents, number of family children, and time scheduled for the students’ household duties.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24691
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompit_Ch_front.pdf441.63 kBAdobe PDFView/Open
Sompit_Ch_ch1.pdf536.56 kBAdobe PDFView/Open
Sompit_Ch_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Sompit_Ch_ch3.pdf398.19 kBAdobe PDFView/Open
Sompit_Ch_ch4.pdf586.3 kBAdobe PDFView/Open
Sompit_Ch_ch5.pdf533.81 kBAdobe PDFView/Open
Sompit_Ch_back.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.