Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24777
Title: การวิเคราะห์การอ้างถึงที่ปรากฏในบทความในวารสารทางสังคมศาสตร์
Other Titles: A citation analysis of the aritcles in social science journals
Authors: พรพรรณ เลาลักษณเลิศ
Advisors: นวนิตย์ อินทรามะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะศึกษาถึงประเภท ขอบเขต เนื้อหาวิชา อายุ ภาษา และประเทศผู้ผลิตเอกสาร ตลอดจนศึกษารายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงสูงสุดจากบทความวารสารจำนวน 170 บทความ ที่มีขอบเขตเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยาสังคม และมานุษยวิทยา ทั้งนี้โดยจะวิเคราะห์การอ้างถึงที่ปรากฏในเชิงอรรถจำนวน 2,365 รายการ ของวารสารทางสังคมศาสตร์ที่พิมพ์เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย วารสารดังกล่าวได้แก่ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วารสารธรรมศาสตร์ วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ วารสารรามคำแหง วารสารสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2526 รวม 3 ปี จำนวน 52 ฉบับ ผลการวิจัยนำเสนอเป็นค่าร้อยละ สามารถสรุปได้ดังนี้ หนังสือและวารสารเป็นเอกสารที่ผู้เขียนบทความทางสังคมคมศาสตร์อ้างถึงมากที่สุดร้อยละ 49.89 และร้อยละ 22.28 ตามลำดับ ขอบเขตเนื้อหาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงเกี่ยวข้องกับทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา เป็นหลัก ในการวิเคราะห์เอกสารที่ได้รับการอ้างถึง สรุปได้ว่า ผู้เขียนบทความทางสังคมศาสตร์นิยมอ้างเอกสารใหม่ ๆ ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี และ 10 ปี สำหรับภาษาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง ปรากฏว่าเอกสารภาษาอังกฤษได้รับการอ้างถึงร้อยละ 60.00 เอกสารภาษาไทยได้รับการอ้างถึงร้อยละ 38.01 และเอกสารภาษาอื่น ๆ ได้รับการอ้างถึงร้อยละ 1.99 โดยเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงร้อยละ 44.82 เป็นเอกสารที่พิมพ์ในประเทศไทย และร้อยละ 33.66 เป็นเอกสารที่พิมพ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารภาษาไทยจำนวน 223 รายการ พบว่า วารสารพัฒนบริหารศาสตร์เป็นวารสารที่ได้รับการอ้างถึงสูงสุด และจากการอ้างถึงวารสารภาษาอังกฤษจำนวน 304 รายการ พบว่า Publice Administration Review เป็นวารสารที่ได้รับการอ้างถึงสูงสุด วารสารทั้งสองรายการดังกล่าวมีเนื้อหาเน้นทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตเฉพาะการวิเคราะห์การอ้างถึงจากบทความวารสารที่มีขอบเขตเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยาสังคม และมานุษยวิทยารวมกัน ดังนั้นควรมีการวิเคราะห์การอ้างถึงวรรณกรรมแต่ละสาขาของสาขาสังคมศาสตร์ เพื่อศึกษาการขยายตัวและโครงสร้างวรรณกรรมในสาขานั้น แม้ว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะแสดงถึงการใช้เอกสารโดยประมาณของผู้เขียนบทความเพียงกลุ่มเดียว แต่บรรณารักษ์ห้องสมุดในสาขาสังคมศาสตร์สามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรและบริการของห้องสมุด สำหรับแนวทางการวิจัยในอนาคต ควรให้ความสนใจในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ระหว่างการวิเคราะห์การอ้างถึงกับการศึกษาการใช้ห้องสมุดโดยตรง และการวิเคราะห์โดยใช้หน่วยวิเคราะห์ในรูปอื่น เช่น หนังสือเล่ม วิทยานิพนธ์ เป็นต้น เพราะจะช่วยให้การวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์การอ้างถึงเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The main purpose of this study is to determine the form, subject, time span, language, country of publications, and the type of cited documents. This study also aims at identifying the most cited journals from the 170 articles in five sub-subjects of social sciences: political science, economics, sociology, social psychology, and anthropology. The footnotes used in this citation analysis are totally of 2,365. This total comes from 52 social science journals published by Thai universities under The Office of Universities Affairs. They are Humanities and Social Science Journal, Thammasat University Journal, Thai Journal of Development Administration, Ramkhamhaeng University Journal, Journal of Social Science, Social Science Journal, Journal of Social Sciences and Humanities. These journals were published between 1981-1983. The results which are analysed and presented in percentage can be summarized as follows: It is found that books and journals of social science are the most cited forms as it is shown by 49.89 and 22.28 percent of the total citations. The citations are mostly related to the literature of political science, economics, and sociology. Concerning the date of cited documents, it is shown that the authors tended to cite the recent literature published within the past 5 and 10 years. In terms of language, the English documents makes up about 60.00 percent of the total citations. The Thai document account for about 38.01 percent and 1.99 percent cite other languages. The cited documents of 44.82 percent are published in Thailand and 33.66 percent in the United States. The most cited Thai journal of 223 journal citations is Thai Journal of Development Administration, where as Public Administration Review is mostly cited among other 304 English journals. The scope of the two journals are mostly of the political science. Since this study was conducted in the field of social science in only five sub-areas, and other studies of citation analysis should be in specifically in each subject of the social science in order to clarify the growth and structure of social science literature. Although the findings of this study represent the characteristics of the literature presumably used by one specific group of social science authors in five sub-subjects, but they can be implemented to the library development. Besides, the comparative study of the citation analysis and the actual library use, along with using other types of sources publications, i.e. monographs, theses, should receive further consideration. These studies will likely point out the effective and valid method of citation analysis.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24777
ISBN: 9745645591
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpan_La_front.pdf405.87 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_La_ch1.pdf354.18 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_La_ch2.pdf798.16 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_La_ch3.pdf462.92 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_La_ch4.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Pornpan_La_ch5.pdf508.21 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_La_back.pdf821.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.