Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25013
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์อุเทนคำฉันท์ของพระยาอิศรานุภาพ (อ้น)
Other Titles: An analytical study of Uthen Kham Chan by Phraya Isaranupharp
Authors: รัตนา นครศรี
Advisors: ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อิศรานุภาพ, พระยา (อ้น)
อุเทนคำฉันท์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์อุเทนคำฉันท์ของพระยาอิศรานุภาพ (อ้น) โดยมุ่งศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับที่มาของเรื่อง ลักษณะการแต่ง การใช้ภาษา ตลอดจนการวิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับสุนทรียภาพทางภาษาด้วย เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 7 บท บทแรก เป็นบทนำ บทที่ 2 เป็นการสอบทานอุเทนคำฉันท์ฉบับพิมพ์กับต้นฉบับตัวเขียน บทที่ 3 กล่าวถึงความนิยมแพร่หลายของเรื่อง “พระเจ้าอุเทน” และที่มาของอุเทนคำฉันท์ บทที่ 4 เป็นการศึกษา เชิงวิเคราะห์ลักษณะการแต่ง บทที่ 5 ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาในอุเทนคำฉันท์ บทที่6 เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษาวรรณศิลป์ และบทที่ 7 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจศึกษาต่อไป ผลการสอบทานปรากฏว่า ต้นฉบับตัวเขียนของอุเทนคำฉันท์ที่เก็บรักษาไว้ ณ หอวชิรญาณมีทั้งหมด 9 สำนวน มีข้อแตกต่างจากต้นฉบับทั้งอักขรวิธีและรายละเอียดบางตอน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการแต่งเพิ่มเติม ผู้แต่งอุเทนคำฉันท์ได้เค้าเรื่องทั้งหมดมาจากพระธัมมปทัฏฐกถา ภาค 2 หมวดอัปปมาทวรรควรรณนา ข้อที่ 15 เรื่อง “สามาวดีวัตถุ” อุเทนคำฉันท์แต่งตามแบบคำฉันท์โบราณคือใช้ฉันท์ที่เป็นหลักอยู่ 6 แบบ และกาพย์อีก 2 แบบ ทั้งไม่เคร่งครัดด้านคำครุ คำลหุ มากนัก หนังสือเล่มนี้เป็นวรรณคดีคำฉันท์ที่เพียบพร้อมด้วยสุนทรีภาพทางภาษาประกอบด้วยอลังการอันเด่นหลายลักษณะ มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน ให้ความเพลิดเพลินและคติชีวิตตามแบบของวรรณคดีที่ได้เค้าโครงเรื่องมาจากพุทธศาสนาโดยทั่วไป.
Other Abstract: This research is an analytical study of Uthen Kham Chan by Phraya Isaranupharp with respect to its source, style of composition and language, and the poetic embellishment employed by the author. The research is divided in 7 chapters. The first is introductory. Chapter II compares the printed edition of text with nine manuscripts now extant. Chapter III concerned with the popularity of “King Uthen Episode” and the actual source utilized by author. A study on the development of the plot, the use of language, the literary style and poetics found in Uthen Kham Chan follows from Chapter IV to Chapter VI. Chapter VII is the conclusion and suggestions for further research. It is found that one of the nine manuscripts preserved in the Vajiranana Library contains a number of variations, both in orthography and in various details which are very likely later interpolations. The author of Uthen Kham employed the Commentary of Dhammapada (Dhammapadatthakatha) second part, Appamada Vagga Vannana, number 15 “Samavati Vatthu “as his sole source. The Uthen Kham Chan followed the prosodial convention which was standard at that time. 6 “Chanda Metersa” and 2 “Kavya Meters” are employed, with some laxity in Garu and Lahu (heavy and light syllables) if judged by the present standard. The work is a work of art, with beautiful literary style, Pleasant choice of words and the poetic embellishments. The contents are easy to follow and offer moral instruction along the line common with stories derived from Buddhistic sources in general.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25013
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Na_front.pdf430.26 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch1.pdf582.46 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch2.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch3.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch5.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch6.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_ch7.pdf316.58 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Na_back.pdf494.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.