Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2504
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชุษณา สวนกระต่าย | - |
dc.contributor.author | กมลวรรณ จุติวรกุล, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-16T03:13:31Z | - |
dc.date.available | 2006-09-16T03:13:31Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741770502 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2504 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | ปัจจุบันพบการเพิ่มขึ้นของเชื้อ Escherichia coli และ Kleebsiella ที่ผลิตเอ็นซัยม์ เบต้าแลกตาเมสชนิดขยาย (extended-spectrum beta-lactamase) ทั่วโลกและเป็นปัญหาสำคัญ ในปัจจุบันไม่มีข้อสรุปว่า การรักษาด้วย cephalosporin จะเหมาะสมสำหรับการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่สร้างเอนซัยม์นี้ เนื่องจากไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ randomized การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ceftriaxone ในการติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยหญิงซึ่งเกิดจากเชื้อ E. coli หรือ Klebsiella ที่สร้างและไม่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยาย และศึกษาความชุกของเชื้อดังกล่าวที่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยาย การศึกษานี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าในผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันจากเชื้อ E. coli หรือ Klebsiella ซึ่งสร้างและไม่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยาย (exdtended-spectrum bea-lactamase) ระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2548 โดยวิเคราะห์ผลการรักษาทางคลินิกหลังจากให้ ceftriaxone แล้ว 72 ชั่วโมง จากผลการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 52 ราย มีช่วงอายุระหว่าง58.61+19.91 ปี ความชุกของเชื้อ E.coli หรือ Klebsiella ที่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยายพบร้อยละ 36 กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ E. coli หรือ Klebsiella ซึ่งสร้างและไม่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยาย ไม่มีความแตกต่างกันของอายุ โรคประจำตัว หรือความรุนแรงของโรค ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยาย จากการวิเคราะห์ multivariate analysis ได้แก่ การมีประวัติเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเร็วๆ นี้มาก่อน กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อซึ่งสร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยายพบว่าระยะเวลาของการตรวจไม่พบไข้หลังการรักษา (67.83 กับ 58.28 ชั่วโมง, p=0.428) ระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาล (15.83 กับ 6.54 วัน, p-0.6) และการตอบสนองต่อการรักษาที่ 72 ชั่วโมง (33.3 กับ 19.2%, p=0.423) ไม่แตกต่างกับกลุ่มติดเชื้อซึ่งไม่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยายตามลำดับ แต่ผลการตอบสนองทางจุลชีววิทยา (microbiologic outcome) ในกลุ่มที่เกิดจากเชื้อซึ่งสร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยายมีอัตราน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่สร้างเอ็นซัยม์ (75% กับ 100%, p=0.017) ตามลำดับ โดยสรุปการรักษาการติดเชื้อที่กรวยไตแบบเฉียบพลันจากเชื้อ E. coli หรือ Klebsiella ซึ่งสร้างเอ็นซัยม์และไม่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมสชนิดขยายในผู้ป่วยหญิงด้วยยา ceftriaxone พบว่าผลการรักษาทางคลินิกที่ 72 ชั่วโมงไม่แตกต่างกัน | en |
dc.description.abstractalternative | Extended-spectrum-beta-lactamase (ESBL)-producing Escherichia coli and Klebsiella have become recognized as a worldwide problem. Much controversy exists as to whether cephalosporin treatment is appropriate for infections caused by ESBL-producing organisms because no randomized studies have been performed. This study aimed to evaluate the therapeutic outcome of ceftriaxone treatment of acute female pyelonephritis caused by ESBL-producing E. coli or Klebsiella, and to determine the prevalence of ESBL-producing organisms. We performed a prospective study of hospitalized fermale patients with acute pyelonephritis caused by E. coli or Klebsiella with or without producing of ESBLs between 2004 and 2005. The clinical outcomes were assessed at 72 hours after ceftriaxone therapy. There were fitty-two patients (th mean age of 58.61+-19.91 years). The prevalence of ESBLs was 31.6%. There were no significant difference in age, underlying disease or clinical severity between the two groups. Independent risk factor for ESBL-producing strains, analyzed by multivariate analysis, was a recent history of previous urinary tract infection. There were no difference in fever clearance time (67.83 vs. 58.38 hours, p=0.428), mean length of hospital stay (15.83 vs. 6.54 days, p=0.06) and therapeutic response rate (33.3 vs. 19.2%, p=0.423) between the ESBL-producing and non-ESBL producing group, respectively. However microbiologic outcome in ESBL-producing group was poorer than non-ESBL producing group (response rate 75% vs. 100%, p=0.017 respectively). Inclusion, there is no different outcome between ceftriaxone treatment of acute female pyelonephritis caused by E. coli or Klebsiella with and without producing of ESBLs. | en |
dc.format.extent | 1313477 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การติดเชื้อเอชเชอริเชียโคไล | en |
dc.subject | การดื้อยา | en |
dc.subject | เคลปซิลลา | en |
dc.subject | เบตาแลกตาเมส | en |
dc.title | การศึกษาไปข้างหน้าของการรักษาด้วย เศฟไตรอะโซน ในการติดเชื้อที่กรวยไตในผู้ป่วยหญิงซึ่งเกิดจากเชื้อ เอชเชอริเชีย โคไล และ เคลปซิลลาที่สร้างเทียบกับไม่สร้างเอ็นซัยม์เบต้าแลกตาเมส | en |
dc.title.alternative | Prospective study of ceftriaxone treatment of acute female pyelonephritis caused by Escherchia coli or Klebsiella with producing versus non-producing of extended-spectrum beta-lactamase | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chusana.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KamonwanJu.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.