Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25052
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรเทพ เศรษฐนันท์ | |
dc.contributor.author | บุญเสริม อินทรตุล | |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T09:34:00Z | |
dc.date.available | 2012-11-21T09:34:00Z | |
dc.date.issued | 2517 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25052 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517 | en |
dc.description.abstract | รัฐบาลสนับสนุนประชาชนให้ประกอบอาชีพที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพด้านเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม สำหรับในด้านกิจการเดินรถโดยสานประจำทางในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลบาลได้ให้ความคุ้มครองและสนับสนุนน้อยมาก ทั้งๆที่กิจการด้านการจัดบริหารเดินรถโดยสารประจำทาง ดังกล่าวมีขอบเขตการบริการอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึง 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และประชาขนเป็นจำนวนล้านคนขึ้นไปใช้บริการรถโดยสารประจำทางเพื่อประกอบธุรกิจนอกบ้านเป็นประจำ ซึ่งอาจถือได้ว่าบริการรถโดยสารประจำทางเป็นกิจการสาธารณูปโภคที่จะขาดเสียมิได้ กิจการรถประจำทางในกรุงเทพฯ เริ่มมีมาตั้งแต่รัชการที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ที่นำรถประจำทางมาวิ่งเป็นรายแรก คือ พระยาภักดีนรเศรษฐ ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทนายเลิด จำกัด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ต่อมาก็มีผู้ประกอบการเอกชนรายอื่นเพิ่มขึ้นหลายราย ต่างก็กำหนดเส้นทางและอัตราค่าโดยสารขึ้นเอง ถนนบางแห่งก็มีรถโดยสารแล่นผ่านกันหลายสาย ก่อให้เกิดการแข่งขัน มีการตัดราคาค่าโดยสารและแข่งบริการเป็นการเสียหายต่อผู้ประกอบการด้วยกันเอง และต่อประชาชนผู้โดยสาร รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของกิจการรถโดยสารประจำทาง และเห็นควรจัดระเบียบการขนส่งของประเทศให้เป็นระเบียบจึงได้ตรากฎหมาย “พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497” ออกใช้บังคับ ควบคุมบริการรถโดยสารประจำทางในส่วนกลางเสียใหม่ให้เป็นระเบียบมีกำหนดเวลาการเดินรถที่แน่นอน ตลอดจนกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม โดยมอบ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บริการรถโดยสารประจำทางก็มีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ จากจำนวนประชากรของกรุงเทพฯ ไม่ถึงล้านคน จนปัจจุบันประมาณ 4 ล้านคน และจากจำนวนรถโดยสารไม่ถึงพันคันเมื่อ 20 ปีก่อน จนถึง 3,500 คันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมีเสียงร้องเรียนจากผู้โดยสารอยู่เสมอว่าบริการยังไม่ดี ทั้งนี้ก็ด้วยสาเหตุหลายประการ ก. มีผู้ประกอบการมากเกินไป (ปัจจุบันมี่ 24 ราย) และมีผู้ประกอบการรายเล็กๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งด้อยทั้งด้านเงินทุนและความรู้ในวิทยาการต่างๆ เพื่อการปรับปรุงกิจการ ข. อัตราค่าโดยสารถูกกำหนดให้เก็บในราคาที่ต่ำ ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในด้านนี้ไม่สูง ไม่เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนเพื่อปรับปรุงใดๆ ค. ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เรื้อรังมานานก็ยังไม่อาจแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ เป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ต่อการบริการรถโดยสารอย่างยิ่ง ง.ปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้น ประกอบกับวิกฤติกาลน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นปัญหาของโลก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินรถโดยสารสูงขึ้นอย่างมาก แต่ผู้ประกอบการไม่อาจปรับปรุงอัตราค่าโดยสารให้ยุติธรรมได้ จ. รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนเกี่ยวกับการประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร (ส่วนกลาง) ระหว่างผู้ประกอบการที่เป็นของรัฐและที่เป็นเอกชน และนโยบายในการลดจำนวนผู้ประกอบการขนส่ง ทำให้ผู้ประกอบการเอกชนไม่กล้าลงทุนเพื่อปรับปรุงใดๆ เมื่อผู้ประกอบการประสบปัญหาเช่นนี้ ความหวังที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการดีขึ้น เช่น มีรถโดยสารเพิ่มขึ้น ปรับปรุงสภาพรถ และความสะอาด ตลอดจนมารยาทพนักงานประจำรถ นับว่าเลือนรางเต็มที เพราะผู้ประกอบการอยู่ในภาวะทรงและทรุด ไม่มีแรงจูงใจใดๆ ที่จะให้เขาลงทุนเพื่อปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น ผู้โดยสารได้ประสบกับความไม่สะดวกสบายมานานแล้ว การปล่อยปละละเลยในการปรับปรุงใดๆ มีแต่จะนำความเสียหายมาสู่สังคมและเศรษฐกิจส่วนรวม สมควรที่รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทให้มากและให้ได้ผลจริงจังขึ้น เพราะเป็นกิจการที่บริการให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้รวบรวมปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ถึงปัจจุบัน อันเป็นเหตุให้มีการขอปรับปรุงค่าโดยสารอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งได้รับความเป็นธรรมบ้าง แต่การที่รัฐบาลจะพิจารณาปรับปรุงค่าโดยสารทันทีนั้น น่าจะเป็นวิธีสุดท้าย เพราะการขึ้นค่าโดยสารแต่ละครั้ง ย่อมเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯอยู่ไม่น้อย โดยที่ได้ทราบกันดีแล้วว่าประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำโดยเฉลี่ยแล้ว แต่รัฐบาลก็อาจช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านอื่น เช่น ลดภาษีน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ภาษีรถยนต์ หรือภาษีอะไหล่ เป็นต้น หาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยให้เงินหมุนเวียนในกิจการดีขึ้น ได้เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการจราจร ปรับปรุงกฎหมายการขนส่งให้รัดกุมยิ่งขึ้น สุดท้ายได้เสนอแนะวิธีแก้ปัญหารถประจำทางไว้ 3 ประการ คือ ไม่เพิ่มค่าโดยสาร แต่รัฐให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ หรือ อนุญาตให้ปรับปรุงค่าโดยสารได้ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการปรับปรุงบริการให้ดีขึ้นโดยทันที วิธีสุดท้าย คือ จัดให้มีบริการพิเศษขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคือ รัฐบาล ผู้ประกอบการขนส่ง และประชาชน จำต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันจึงจะได้ผลดี | |
dc.description.abstractalternative | The government has a policy of giving support to any sector of the community wishing to contribute towards the social and economic welfare of the country whether in agriculture, commerce or in industry. In so far as concerns the operation of bus services in the Bangkok Metropolis area, the government has in the past given little protection and support even though such operation involves a comprehensive network of service over a wide area covering Bangkok Nondhaburi Pathumdhani and Samutprakarn, and serves more than a million people who commute daily between their homes and places of work. Bus services may therefore be considered as one among many public utilities upon which the livlihoods of community depend. Bus service operations began during the reign of King Rama VI when Praya Phakdinorasethr, owner of the well-known Nai Lert Company Limited, put the first fleet of buses on the road. Thereafter, a number of other private enterprises were set up and began operation, each establishing its own routes and rates of fares. Such practice led to stiff competition on some of the routes over which a number of operators operated affecting the rates of fares and quality of services provided, and became detrimental to the operators as well as to the general public ie., the users of the services. The situation prompted the government to realise the importance of public bus service operations and the necessity to establish some regulations governing mass transportation within the country. In the year B.E. 2497, the government passed the “Transport Act B.E. 2497” empowering the land Transport Department to establish control over the operations of bus services in the central metropolis area, regulate the routes, fix the timetable for operations and determine equitable rate of fares. During the past twenty years improvement have been continually made to the bus services, with the population in Bangkok increasing from less than one million to the present four million, and an increase in the number of buses from less than 1,000 to 3,500 today. However, despite the improvements, users have also complained of bad services, the main reasons for which arise from:- a) There exists too many operators (at present numbering 24), and also too many smaller ones who lack the financial capital and technical knowledge essential to the improvement of their services. b) The limit set upon the rate of fares which could be charged yields too low a return to provide incentive for operatiors to improve their services. c) The eternal traffic congestions in the Bangkok Metropolis, an old unsolved problem, remain a formidable obstacle for the operation of bus services. d) The general rise in the cost of living, accelerated by the world fuel crisis, has sent operating costs rocketing sky-high, while operators of bus services are unable to fairly adjust their rate of fares. e) The government has as yet no definite policy on the control over bus service operations in the central Bangkok Metropolis are as between state-owned and private enterprises so that the latter find themselves in a state of uncertainty as to whether their number might be reduced and are therefore reluctant to make further investment to improve their services. With such problems facing the operators, the users’ hope for improves services eg., increase in the number of buses, improved conditions of buses, cleanliness and manners displayed operators themselves have no incentive to provide better services for the public who for a long time now have had to suffer considerable hardship and inconvenience. Failure to improve conditions prevailing over bus service operations could but only bring about a gradual destruction of the social and economic well-being of the community. It is therefore appropriate that the government should. In this matter, step in and play a more active role in order that both the users and the operators might hope for a better and fairer deal. The writer has, in the thesis, collected together the various problems relating to bus service operations in the Bangkok Metropolis since the year B.E. 25II until the present time which have caused frequent demands on the part of the operators to make adjustments to the rates of fares. However, the government’s consideration for immediate adjustments would not be appropriate under current situation for the simple reason that each increase in fares would cause considerable hardship for the majority of people in Bangkok who, as is generally known, are in the low income group. The government could on the other hand give assistance to the operators through other means, for example, by reducing the taxes on fuel and lubricants, and on motor cars or spare parts, by providing low interest rate loans or by arranging for operators to have their bill discounted at “special” discount rates in order to improve their cash flow and liquidity positions. The writer also put forward three suggestions as to how the problems relating to bus service operations should be solved. These are :- a) Fares should not be increased, but the government should offer some form of assistance to operators. b) Adjustments of fares could be allowed on condition that the operators take immediate action to improve their services. c) Arrangements should be made to operate “special” buses. In order to achieve satisfactory results, it is essential that all parties concerned, which include the government the operators and the public, should cooperate in trying to find solutions to the problems. | |
dc.format.extent | 553145 bytes | |
dc.format.extent | 515687 bytes | |
dc.format.extent | 814334 bytes | |
dc.format.extent | 745767 bytes | |
dc.format.extent | 592850 bytes | |
dc.format.extent | 2118149 bytes | |
dc.format.extent | 1256880 bytes | |
dc.format.extent | 2214180 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ปัญหาเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าโดยสารรถประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Problems in adjusting bus fares in the Bangkok Metropolitan area | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonserm_In_front.pdf | 540.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_ch1.pdf | 503.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_ch2.pdf | 795.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_ch3.pdf | 728.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_ch4.pdf | 578.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_ch5.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_ch6.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_In_back.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.