Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25157
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณิต ณ นคร
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล
dc.contributor.authorชนิญญา ชัยสุวรรณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-22T03:46:27Z
dc.date.available2012-11-22T03:46:27Z
dc.date.issued2526
dc.identifier.isbn9745625256
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25157
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractหลักการดำเนินคดีอาญามีอยู่ 2 หลัก คือ หลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย (Legality หรือ Compulsory Prosecution) และหลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ (Opportunity Prosecution) หลักการดำเนินคดีอาญาประการแรกมีความว่า เมื่ออัยการมีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดกฎหมายอัยการต้องยื่นฟ้องต่อศาลเสมอ และเมื่อฟ้องคดีแล้วจะถอนฟ้องไม่ได้ ส่วนหลักประการที่สองมีความหมายว่า เมื่ออัยการมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด อัยการมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ก็ได้ โดยให้พิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นเรื่อง ๆ ไป ว่าการฟ้องคดีสังคมจะได้รับผลดีจากการฟ้องคดีดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และตัวผู้ต้องหาจะแก้ไขปรับปรุงตัวให้เป็นคนดีของสังคมมากน้อยเพียงใดอันเป็นหลักผ่อนคลายความเข้มงวดในการใช้กฎหมาย โดยที่ปัจจุบันจุดประสงค์ของการลงโทษได้เปลี่ยนจากการแก้แค้นมาสู่การป้องกันทั่วไป หลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจจึงได้รับความสนใจมากขึ้น จนกระทั่งประเทศที่ใช้หลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย เช่น เยอรมัน ก็ยังมีการบัญญัติข้อยกเว้นไว้ในกฎหมายโดยมีลักษณะเป็นการผ่อนปรนให้อัยการได้ใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีอาญาได้ในหลายกรณี ซึ่งข้อยกเว้นเช่นนี้มีจำนวนมากจนกระทั่งมีผู้กล่าวกันว่า หลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายในเยอรมันได้ลดความสำคัญลงจนเป็นรองข้อยกเว้นที่ยอมให้ใช้ดุลพินิจเสียแล้ว สำหรับประเทศไทย เมื่อได้พิจารณาจากตัวบท มาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการบัญญัติถ้อยคำไว้ในลักษณะกว้าง ๆ เปิดโอกาสให้อัยการได้ใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีอาญาได้ แต่ในทางปฏิบัติหาได้เป็นเช่นนั้นไม่เพราะอัยการได้สั่งคดีโดยยึดตามตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งตามหลักฐานที่ค้นได้มีคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้องโดยใช้หลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจเพียง 4 คดี เท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะมีความเข้าใจกันว่าหากเปิดแนวทางให้มีการใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้อัยการใช้ดุลพินิจสั่งคดีไปในทางที่ไม่ถูกต้องได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะขัดกับเจตนารมณ์แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการมองดุลพินิจของอัยการในแง่ลบจนเกินไป เป็นเหตุให้อัยการต้องกระทำหน้าที่ฟ้องร้องเหมือนเครื่องจักรจนเกินไป อัยการไม่มีโอกาสได้ใช้ดุลพินิจเพื่ออำนวยความยุติธรรมในสังคมอย่างเต็มที่ เอกสารวิจัยนี้ต้องการที่จะเสนอแนะแนวความคิดและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้อัยการได้ใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาบางเรื่องเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยมากกว่านี้ และในขณะเดียวกันก็ได้เสนอแนะแนวทางในการควบคุมดุลพินิจเพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบของอัยการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากกว่าที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้
dc.description.abstractalternativeThere are two principles of criminal prosecution, namely the principle of Legality or compulsory prosecution and the principle of opportunity prosecution. The first principle of prosecution is that when the public prosecutor has a probable cause to believe the accused has violated the law, a prosecution must be undertaken, and once the case is on trial, it shall not be withdrawn. The second principle is that even though the public prosecutor has a probable cause to believe the accused has violated the law, the public prosecutor has prosecutorial discretion to decide case by case whether it is merit prosecution. To exercise such discretion, the public prosecutor has to consider whether the prosecution serves public interest and helps the accused to correct himself. In go doing, this latter principle relaxs the rigidness of law. At present, as the purpose of criminal punishment has been changed from retribution to general prevention, the principle of opportunity prosecution has gained more and more interest. Even a country of legality or compulsory prosecution such as German as gradually adopted the principle of opportunity prosecution by enacting it as an exceptional principle in order to empower the public prosecutor with prosecutorial discretion in many cases. The appearances of such exceptional principle in German law are so many that, as having remarked by some, its original principle of legality or compulsory becomes subordinate to the exceptional principle of opportunity prosecution. In case of Thailand, after having consideration on section 143 of Thai Criminal Procedure Code. It appears that the language of such law allows a public prosecutor to exercise prosecutorial discretion. However, in practice, the public prosecutor has rarely used this discretion, but strictly applied the principle of legality or compulsory prosecution. From the searched evidence, there have been only four cases which public prosecutor has ever considered prosecution inappropriate. Such a few practices result from having a misunderstanding that to give the broad exercise of discretion to a public prosecutor is to give him an opportunity to abuse his discretionary power. This negative attitude is likely to be considerably contrary to the purpose of section 143 of the Criminal Procedure Code. Since it over-negatively assesses discretion of the public prosecutor. As such, it causes the public prosecutor to work like a machine, having none of his own views to bring about social justice. So as to promote more justice in the Thai society, this research is aimed at proposing some concepts and rules which empower the public prosecutor with prosecutorial discretion, and also introduces many supporting regulations including techniques in control of discretion to prevent public prosecutor from corrupt practice.
dc.format.extent580826 bytes
dc.format.extent1322561 bytes
dc.format.extent928785 bytes
dc.format.extent3711644 bytes
dc.format.extent2285101 bytes
dc.format.extent384451 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีอาญาของอัยการen
dc.title.alternativeThe public prosecutor's discretion for institution of prosecutionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.